Monday, October 29, 2007

วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์

เนื่องจากมีเสียงเรียกร้องเกี่ยวกับการบรรยายใน "ชุดการบรรยายพันดารา" ซึ่งครั้งแรกจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน นี้ ที่บ้านมูลนิธิ (695 ซอย 11 ถนนลาดพร้าว) ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป ว่าขอให้แนะนำหนังสือของท่านศานติเทวะ ที่จะใช้ในการบรรยาย ก็เลยก็นำเอาบทบรรยายหนังสือที่อยู่ตรงปกหลังของหนังสือมาเล่าสู่กันฟังดังนี้

วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ เป็นบทประพันธ์อันมีชื่อเสียงของท่านศานติเทวะ ผู้เป็นพระอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทา เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่แปด เนื้อหาประกอบด้วยข้อเสนอแนะในการปฏิบัติธรรมของพระโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งตั้งปณิธานจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์ในพ้นทุกข์ได้อย่างเต็มที่ ในพระพุทธศาสนาแบบทิเบตทั้งหมดนั้น ไม่มีงานชิ้นใดเลยที่จะมีอิทธิพลหรือได้รับการยกย่องมากเท่ากับชิ้นนี้ และก็เป็นหนังสือหลักในการศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของทิเบตทุกแห่ง

ท่านศานติเทวะได้เสนอแนยทางการปฏิบัติเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ไว้อย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากการกล่าวถึงอานิสงส์ของโพธิจิต อันเป็นจิตที่มุ่งมั่นต่อการตรัสรู้เพื่อบรรลุเป็นพระพุุทธเจ้า แล้วก็เสนอการปฏิบัติบารมีหกประการอันเป็นวิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ ได้แก่ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา

ในการบรรรยายครั้งแรกนี้ จะพูดถึงห้าบทแรกของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับโพธิจิต และอานิสงส์ประการต่างๆของโพธิจิต รวมทั้งการฝึกสำรวมระวังอินทรีย์ และระวังรักษาจิตมิให้ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ท่านที่สนใจจะเข้าใจและฝึกปฏิบัติพระพุทธศาสนามหายานไม่ควรพลาด

Saturday, October 27, 2007

บทพระโพธิจิตและบทฝึกจิตแปดโศลก

บทโพธิจิต

ด้วยความปรารถนาจะปลดปล่อยสัตว์โลก
ข้าพเจ้าจะยึดเป็นที่พึ่งอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ตราบจนถึงกาลที่ข้าพเจ้าตรัสรู้

ข้าพเจ้าปลาบปลื้มปิติยินดีในพระปัญญาธิคุณและพระกรุณาธิคุณ
ของสมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้า อันข้าพเจ้าได้มาอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ในเวลานี้
ข้าพเจ้าปลุกพระโพธิจิตขึ้นมา
เพื่อยังประโยชน์ให้แก่สัตว์โลกทั้งมวล

ตราบเท่าที่อากาศธาตุยังคงอยู่
ตราบเท่าที่สรรพสัตว์ยังคงอยู่
ตราบเท่านั้นก็ขอให้ข้าพเจ้ายังคงอยู่
และขับไล่ความทุกข์ทั้งหมดให้พ้นไปจากโลกนี้!

****

บทฝึกจิตแปดโศลก

ด้วยความมุ่งมั่นจะบรรลุถึงจุดหมายสูงสุด
เพื่อประโยชน์แห่งสรรพสัตว์ทั้งมวล
อันเป็นยิ่งไปกว่าแม้แก้วสารพัดนึก
ขอให้ข้าพเจ้าบูชาสรรพสัตว์เหล่านี้ไว้ตลอดเวลา

เมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้าติดต่อกับใคร
ขอให้ข้าพเจ้ามองตนเองว่าเป็นผู้ที่ต่ำต้อยที่สุด
และจากก้นบึ้งของหัวใจ
ก็ขอให้ยกย่องผู้อื่นว่าเหนือกว่าข้าพเจ้า

ในการกระทำทุกๆอย่างของข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าตรวจสอบจิตของตนเอง
และทันใดที่กิเลสเกิดขึ้นมา
อันจะทำอันตรายแก่ตัวข้าพเจ้าและผู้อื่น
ก็ขอให้ข้าพเจ้าเผชิญหน้ากับกิเลสนั้นกับกำจัดให้พ้นไป

เมื่อข้าพเจ้าเห็นสัตว์โลกที่ไม่น่าดู
ผู้ซึ่งถูกปิดบังด้วยความเห็นผิดและความทุกข์
ขอให้ข้าพเจ้ายกย่องสัตว์โลกนั้น เนื่องจากหาได้ยากเหลือเกิน
ราวกับว่าข้าพเจ้าได้พบกับแก้วมณีอันล้ำค่ายิ่ง!

เมื่อผู้อื่น ด้วยความอิจฉาริษยา
ได้ทำร้ายและดูหมิ่นเหยียดหยามข้าพเจ้าอย่างผิดๆ
ขอให้ข้าพเจ้ารับเอาไว้ซึ่งความพ่ายแพ้
และมอบชัยชนะให้แก่เขา

เมื่อบางคนที่ข้าพเจ้าเคยให้ความช่วยเหลือ
หรือที่ข้าพเจ้าเคยตั้งความหวังไว้อย่างสูงส่ง
แต่กลับมาทำร้ายข้าพเจ้าด้วยวิถีทางอันเลวร้ายต่างๆ
ขอให้ข้าพเจ้ายังคงมองเขาว่าเป็นครูผู้ประเสริฐ

กล่าวโดยสรุป ขอให้ข้าพเจ้ามอบประโยชน์สุข
ให้แก่มารดาทั้งหลายทั้งทางตรงและทางอ้อม
ขอให้ข้าพเจ้ารับเอาไว้ซึ่ง
ความเจ็บปวดและความทุกข์ของมารดาทั้งหลายนี้

ขอให้ทั้งหมดนี้ไม่แปดเปื้อนไปด้วยโลกธรรมทั้งแปด
และขอให้ข้าพเจ้าได้มองเห็นทั้งหมดนี้ว่าเป็นเพียงภาพลวงตา
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากการติดยึด และหลุดออกจากพันธนาการด้วยเทอญ!


(แปลจาก The Dalai Lama, Transforming the Mind: Teachings on Generating Compassion)

Sunday, October 14, 2007

กิจสามสิบเจ็ดประการของพระโพธิสัตว์

The Thirty-Seven Bodhisattva Practices

by Ngulchu Thogme Zangpo


Homage to Lokeshvaraya!

At all times I prostrate with respectful three doors of body, speech and mind to the

supreme guru and the protector Chenrezig, who through realizing that all phenomena

neither come nor go, make single-minded effort for the sake of all sentient beings.

The perfect Buddhas, source of benefit and happiness, arise from accomplishing the

sublime Dharma. And as that [accomplishment] depends on knowing the Dharma

practices, I will explain the bodhisattvas’ practices.


กิจปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ 37 ประการ
โดย งุลจู ท็อกเม ซังโป

ขอนอบน้อมแด่พระโพธิสัตว์โลเกศวร!

ข้าพเจ้ากราบด้วยกายวาจาและใจ โดยความเคารพแด่ท่านอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ และพระอวโกลิเตศวรผู้ปกป้อง ผู้ซึ่งได้สำนึกว่าทุกปรากฎการณ์มิได้มาหรือได้ไป และได้ตั้งใจเป็นหนึ่งเดียวสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงตลอดเวลา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงเป็น จุดกำเนิดของประโยชน์และความสุข ทรงเกิดขึ้นจากการสำเร็จพระธรรมอันประเสริฐ และเนื่องจากการสำเร็จนี้ขึ้นอยู่กับการรู้ถึงการปฎิบัติธรรม ข้าพเจ้าจะอธิบายกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


1. At this time when the difficult-to-gain ship of leisure and fortune has been

obtained, ceaselessly hearing, pondering and meditating day and night in order to

liberate oneself and others from the ocean of cyclic existence is the bodhisattvas’

practice.

1 ในขณะนี้ ซึ่งได้อยู่ในกายอันประเสริฐอันได้มาโดยยาก การตั้งใจฟัง ตั้งใจคิดไตร่ตรอง และตั้งสมาธิทั้งคืนทั้งวัน เพื่อปลดปล่อยตนเองและผู้อื่นให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


2. The mind of attachment to loved ones wavers like water. The mind of hatred of

enemies burns like fire. The mind of ignorance which forgets what to adopt and

what to discard is greatly obscured. Abandoning one’s fatherland is the

bodhisattvas’ practice.

2. จิตของผู้ที่ที่ยึดติดกับคนรักระส่ำระสายดุจสายน้ำ จิตของผู้ที่เกลียดชังศัตรูเผาใหม้ดั่งเช่นไฟ จิตของผู้ที่โง่เขลา หลงลืมไปว่าจะรับอะไรไว้ และจะทิ้งอะไร เต็มไปด้วยความบดบัง การไม่ยึดติดกับสิ่งต่างๆคือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์



3. When harmful places are abandoned, disturbing emotions gradually diminish.

Without distraction, virtuous endeavors naturally increase. Being clear-minded,

definite understanding of the Dharma arises. Resorting to secluded places is the

bodhisattvas’ practice.

3. เมื่อละเว้นจากสถานที่อันเป็นอันตราย กิเลสต่างๆจะค่อยๆลดน้อยลงไป เมื่อปราศจากสิ่งมารบกวนจิตใจ ก็จะทำให้ความอุตสาหะในทางที่ดีเพิ่มพูนขึ้น เมื่อมีจิตใจที่แจ่มใสบริสุทธิ์ การเข้าใจหลักธรรมอันแจ่มชัดแน่นอนก็จะเกิดขึ้น การหลบลี้ไปยังสถานที่อันสันโดษคือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


4. Long-associated companions will part from each other. Wealth and possessions

obtained with effort will be left behind. Consciousness, the guest, will cast aside

the guest-house of the body. Letting go of this life is the bodhisattvas’ practice.

4. เพื่อนที่มีความสัมพันธ์คบหาสมาคมกันมานานก็จะจากกันไป ทรัพย์สมบัติและสิ่งที่ครอบครองมาด้วยความพยายามก็จะต้องละทิ้งไป วิญญาณซึ่งเป็นแขกพักอาศัยอยู่ในกายก็จะออกจากกายไป การไม่ยึดติดกับชีวิตนี้คือกิจปฎิบัติของประโพธิสัตว์


5. When evil companions are associated with, the three poisons increase, the

activities of listening, pondering and meditation decline, and love and compassion

are extinguished. Abandoning evil companions is the bodhisattvas’ practice.

5. เมื่อไปพัวพันกับคนพาล (อกุศล) พิษสามประการเพิ่มขึ้น กิจในการฟัง ในการไตร่ตรอง ในการทำสมาธิก็จะลดถอยลง ความเมตตา และความกรุณาก็จะหมดสิ้นไป การละทิ้งการคบหากับคนพาลคือกิจกฎิบัติของพระโพธิสัตว์


6. When sublime spiritual friends are relied upon, one’s faults are exhausted and

one’s qualities increase like the waxing moon. Holding sublime spiritual friends

even more dear than one’s own body is the bodhisattvas’ practice.

6. เมื่อไว้วางใจในกัลยาณมิตรผู้เจริญธรรมกับปัญญา ความบกพร่องก็จะหมดไป คุณสมบัติดีๆก็จะเจริญงอกงามคล้ายดวงจันทร์ที่กำลังจะเต็มดวง การคบหาและยึดมั่นในกัลยาณมิตรผู้เจริญธรรมและปัญญา มากกว่ายึดมั่นในกายของตนเองคือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


7. What worldly god, himself also bound in the prison of cyclic existence, is able to

protect others? Therefore, when refuge is sought, taking refuge in the

undeceiving triple gem is the bodhisattvas’ practice.

7. แม้แต่เทพเทวดาก็ยังถูกจองจำอยู่ในคุกของเวียนว่ายตายเกิด แล้วพวกเขาจะมาปกป้องผู้อื่นได้อย่างไร ดังนั้นเมื่อหาที่พึ่ง จงพึ่งพระรัตนตรัยที่ไม่มีความหลอกลวง นี่คือกิจปฎิบัติของประโพธิสัตว์


8. The subduer said that all the unbearable suffering of the three lower realms is the

fruition of wrongdoing. Therefore, never committing negative deeds, even at

peril to one’s life, is the bodhisattvas’ practice.

8. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวไว้ว่า ความทุกข์อันไม่อาจทนทานได้ในอบายภูมิทั้งสามเป็นผลของการการทำชั่ว เพราะฉะนั้น การละเว้นการทำชั่วแม้จะเป็นภัยแก่ชีวิตของตนเอง คือกิจปฎิบัติของประโพธิสัตว์


9. The pleasure of the triple world, like a dewdrop on the tip of a blade of grass, is

imperiled in a single moment. Striving for the supreme state of never-changing

liberation is the bodhisattvas’ practice.

9. ความเพลิดเพลินสนุกสนานในกามาวจรภูมิทั้งสาม เปรียบดั่งน้ำค้างบนปลายใบไม้ จะหายไปในช่วงพริบตา การปฎิบัติให้บรรลุถึงสถานะที่มั่นคงถึงการหลุดพ้นอันไม่เปลี่ยนแปลง คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


10. When mothers who have been kind to one since beginningless time are suffering,

what’s the use of one’s own happiness? Therefore, generating the mind of

enlightenment in order to liberate limitless sentient beings is the bodhisattvas’

practice.

10. เมื่อแม่ทั้งหลายที่ได้เคยดูแลเราเป็นอย่างดี นับตั้งแต่ห้วงเวลาที่ไม่มีจุดกำเนิดกำลังทนทุกข์ทรมาน ความสุขของเราเองจะมีประโยชน์อันใดเล่า? เพราะฉะนั้น การมุ่งหมายเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง เพื่อช่วยให้ทุกชีวิตอันไม่มีประมาณได้หลุดพ้นคือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


11. All suffering without exception comes from wishing for one’s own happiness.

The perfect buddhas arise from the altruistic mind. Therefore, completely

exchanging one’s own happiness for the suffering of others is the bodhisattvas’

practice.

11. ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงไม่มีข้อยกเว้น เกิดขึ้นจากความต้องการความสุขเพื่อตัวเราเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเกิดขึ้นจากจิตที่เห็นแก่ความสุขของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง การแลกเปลี่ยนความสุขของเรากับความทุกข์ของผู้อื่น คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


12. Even if others, influenced by great desire, steal all one’s wealth or have it stolen,

dedicating to them one’s body, possessions and virtues accumulated in the three

times is the bodhisattvas’ practice.

12. แม้ว่าผู้อื่น ซึ่งถูกชักจูงด้วยความโลภจักได้ลักทรัพย์ทั้งหมดของเราไป หรือทำให้ทรัพย์ของเราถูกขโมยไป การอุทิศร่างกาย ทรัพย์สิน และบุญบารมีที่ได้สะสมตลอดกาลทั้งสามให้แก่คนเหล่านั้นคือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


13. Even if others are going to cut off one’s head when one is utterly blameless,

taking upon oneself all their negative deeds by the power of compassion is the

bodhisattvas’ practice.

13. แม้ว่าผู้อื่นจะมาตัดศรีษะของเรา ในขณะที่เราปราศจากความผิดแม้แต่น้อยนิด การน้อมรับการกระทำอันชั่วร้ายของเขาทั้งปวงมาไว้ที่ตัวเราด้วยพลังแห่งความกรุณา คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


14. Even if someone broadcasts throughout the billion worlds all sorts of offensive

remarks about one, speaking in turn of that person’s qualities with a loving mind

is the bodhisattvas’ practice.

14. แม้บางคนจะด่าว่าร้ายเราต่างๆนานาด้วยการป่าวประกาศไปทั่วทั้งหนึ่งพันล้านโลก การพูดถึงคุณงามความดีของผู้นั้นด้วยจิตที่เปี่ยมไปความรักความโอบอ้อมอารี คือกิจปฎิบัติของประโพธืสัตว์


15. Even if, in the midst of a public gathering, someone exposes faults and speaks ill

of one, humbly paying homage to that person, perceiving him as a spiritual friend,

is the bodhisattvas’ practice.

15. แม้จะมีผู้เปิดโปงความผิดทั้งหลายของเรา หรือพูดถึงเราในทางลบต่อหน้าสาธารณชน การแสดงความเคารพต่อคนผู้นั้น และมองเขาผู้นั้นเป็นกัลยาณมิตรผู้เป็นผู้ร่วมเดินทางสู่การหลุดพ้น คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


16. Even if someone for whom one has cared as lovingly as his own child regards one

as an enemy, to cherish that person as dearly as a mother does an ailing child is

the bodhisattvas’ practice.

16. แม้บางคนที่เราเคยดูแลเหมือนเป็นลูกของเราเองมามองว่าเราเป็นศัตรู การดูแลรักษาเขาด้วยความรักใคร่เปรียบเสมือนแม่ที่ดูแลลูกด้วยความรักเมื่อลูกป่วย คือกิจปฎิบัติของประโพธิสัตว์


17. Even if, influenced by pride, an equal or inferior person treats one with contempt,

respectfully placing him like a guru at the crown of one’s head is the

bodhisattvas’ practice.

17. แม้ว่ามีคนที่เท่ากันหรือด้อยกว่ามาดูถูกเราด้วยความหยิ่งยโส การยกเขาผู้นั้นไว้เหนือกระหม่อมด้วยความเคารพอย่างสูงดุจดังเคารพอาจารย์ของเรา คือกิจปฎิบัติของพระโพธิ์สัตย์


18. Though one may have an impoverished life, always be disparaged by others,

afflicted by dangerous illness and evil spirits, to be without discouragement and to

take upon oneself all the misdeeds and suffering of beings is the bodhisattvas’

practice.

18. แม้ชีวิตของเราจะยากจน ถูกนินทาว่าร้ายจากผู้อื่นอยู่เสมอ เป็นทุกข์จากการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง ทั้งเจ็บป่วยทางกาย และถูกภูตผีปีศาจทำร้าย การไม่มีความรู้สึกท้อแท้และน้อมรับเอาความชั่วร้ายและความเจ็บปวดของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงไว้ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


19. Though one may be famous and revered by many people or gain wealth like that

of Vaishravana, having realized that worldly fortune is without essence, to be

unconceited is the bodhisattvas’ practice.

19. แม้เราอาจจะมีชื่อเสียงและมีผู้อื่นมากมายมาเคารพยกย่อง และร่ำรวยดุจดั่งเทพแห่งทรัพย์ การประจักษ์ว่าโชคลาภทั้งหลายในโลก ไม่มีแก่นสาร การปราศจากความหยิ่งทะนงคือกิจปฎิบัติของประโพธิสัตว์


20. If outer foes are destroyed while not subduing the enemy of one’s own hatred,

enemies will only increase. Therefore, subduing one’s own mind with the army

of love and compassion is the bodhisattvas’ practice.

20. ในยามที่ไม่สามารถปราบความโกรธและความเกลียดชังภายในตัวเรา แม้ว่าจะสามารถปราบศัตรูภายนอกได้ ก็จะมีแต่ศัตรูเพิ่มมากขึ้น การเอาชนะจิตใจของเราให้สงบได้ด้วยกองทัพแห่งความเมตตาและความกรุณา คือกิจปฎบัติของพระโพธิสัตว์


21. Indulging sense pleasures is like drinking salt water – however much one

indulges, thirst and craving only increase. Immediately abandoning whatever

things give rise to clinging and attachment is the bodhisattvas’ practice.

21. ความสุขจากความรู้สึกภายนอกต่างๆเปรียบเสมือนน้ำเค็ม ที่ยิ่งดื่มมากก็ยิ่งเกิดความกระหายมาก การปลดปล่อยสิ่งที่ทำให้เกิดการยึดติดคือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


22. Appearances are one’s own mind. From the beginning, mind’s nature is free from

the extremes of elaboration. Knowing this, not to engage the mind in subject object

duality is the bodhisattvas’ practice.

22. ทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นเป็นเพียงจิตของตนเอง ตั้งแต่เริ่มแรกจิตปราศจากการปรุงแต่งใดๆ การเข้าใจเรื่องนี้และไม่ยึดติดกับการแยกแยะระหว่างผู้รู้กับสิ่งที่รู้ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


23. When encountering pleasing sense objects, though they appear beautiful like a

rainbow in summertime, not to regard them as real and to abandon clinging

attachment is the bodhisattvas’ practice.

23. เมื่อพบกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน แม้ว่าจะสวยงามดังสายรุ้งในฤดูร้อน พึงอย่าเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ การไม่มองสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นของจริง และการละทิ้งอุปาทานทั้งปวง คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


24. Diverse sufferings are like the death of a child in a dream. By apprehending

illusory appearances as real, one becomes weary. Therefore, when encountering

disagreeable circumstances, viewing them as illusory is the bodhisattvas’ practice.

24. ความทุกข์ต่างๆเปรียบเสมือนการตายของเด็กในความฝัน การหลงคิดไปว่าสิ่งลวงต่างๆเป็นจริงทำให้เราอ่อนล้า ดังนั้น เมื่อพบกับเหตุการ์ณที่ไม่พึงประสงค์ ให้มองว่าเป็นสิ่งลวง นี่คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


25. If it is necessary to give away even one’s body while aspiring to enlightenment,

what need is there to mention external objects? Therefore, practicing generosity

without hope of reciprocation or positive karmic results is the bodhisattvas’

practice.

25.เมื่อจำต้องสละแม้ร่างกายของเราเมื่อเรามุ่งตรงสู่พระนิพพาน แล้วจะมีเหตุอันใดที่ต้องกล่าวถึงวัตถุภายนอกเล่า เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญทานและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โดยไม่หวังผลตอบแทนหรือไม่หวังผลบุญ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์



26. If, lacking ethical conduct, one fails to achieve one’s own purpose, the wish to

accomplish others’ purpose is laughable. Therefore, guarding ethics devoid of

aspirations for worldly existence is the bodhisattvas’ practice.

26. หากขาดเสียซึ่งศีลแล้ว ก็จะไม่สามารถแม้บรรลุจุดประสงค์ของตนเอง ดังนั้นความปรารถนาที่จะสนองความประสงค์ของผู้อื่นก็ยิ่งเป็นเรื่องตลก เพราะฉะนั้น การรักษาศีลโดยปราศจากความปรารถนาในทางโลก คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


27. To bodhisattvas who desire the pleasures of virtue, all those who do harm are like

a precious treasure. Therefore, cultivating patience devoid of hostility is the

bodhisattvas’ practice.

27. สำหรับพระโพธิสัตว์ที่ปรารถนาความสุขจากพระธรรมนั้น ทุกๆคนที่ก่อให้เกิดภัยอันตรายเป็นดั่งทรัพย์สมบัติอันมีค่า เพราะฉะนั้นการฝึกฝนขันติโดยปราศจากความมุ่งร้ายใดๆ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


28. Even hearers and solitary realizers, who accomplish only their own welfare, strive

as if putting out a fire on their heads. Seeing this, taking up diligent effort – the

source of good qualities – for the sake of all beings is the bodhisattvas’ practice.

28. แม้พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ซึ่งบรรลุถึงการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนเอง ก็ยังเพียงพยายามราวกับกำลังจะดับไฟที่กำลังไหม้อยู่บนศีรษะ เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว การปฏิบัติวิริยะ การขยันหมั่นเพียร อันเป็นบ่อเกิดของคุณลักษณอันดีงาม เพื่อยังประโยชน์แก่สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


29. Having understood that disturbing emotions are destroyed by insight possessed

with tranquil abiding, to cultivate meditative concentration which perfectly

transcends the four formless absorptions is the bodhisattvas’ practice.

29. เมื่อเข้าใจแล้วว่ากิเลสต่างๆถูกทำลายได้ด้วยญาณอันเกิดจากสมถสมาธิ การฝึกฝนสมาธิอันพ้นไปจากอรูปฌานทั้งสี่อย่างสมบูรณ์ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


30. If one lacks wisdom, it is impossible to attain perfect enlightenment through the

other five perfections. Thus, cultivating skillful means with the wisdom that

doesn’t discriminate among the three spheres is the bodhisattvas’ practice.

30. หากขาดเสียซึ่งปัญญา การตรัสรู้ที่สมบูรณ์แบบโดยอาศัยบารมีทั้งห้าที่เหลือนั้นจะเป็นไปไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้ การฝึกฝนอุบายหรือเส้นทางด้วยปัญญาที่ไม่แบ่งแยกระหว่างโลกทั้งสาม คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


31. If, having merely the appearance of a practitioner, one does not investigate one’s

own mistakes, it is possible to act contrary to the Dharma. Therefore, constantly

examining one’s own errors and abandoning them is the bodhisattvas’ practice.

31. หากเรามีแต่เพียงรูปร่างท่าทางของผู้ปฏิบัติ แต่ไม่ตรวจสอบข้อบกพร่องของตนเอง จะเป็นไปได้ว่าเราอาจปฎิบัติในทางที่ตรงกันข้ามกับพระธรรม เพราะฉะนั้น การหมั่นตรวจสอบข้อบกร่องของตนเอง และการกำจัดข้อบกพร่องเหล่านั้น คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


32. If, influenced by disturbing emotions, one points out another bodhisattva’s faults,

oneself is diminished. Therefore, not speaking about the faults of those who have

entered the Great Vehicle is the bodhisattvas’ practice.

32. หากเราถูกกระทบจากกิเลสต่างๆ แล้วชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของพระโพธิสัตว์องค์อื่นๆ เราเองก็จะด้อยลงไป ดังนั้น การไม่พูดถึงข้อผิดพลาดของผู้ที่ได้เข้าสู่เส้นทางของมหายาน คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


33. Because the influence of gain and respect causes quarreling and the decline of the

activities of listening, pondering and meditation, to abandon attachment to the

households of friends, relations and benefactors is the bodhisattvas’ practice.

33. เนื่องจากลาภกับยศทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท และทำให้ความสามารถในการฟัง การไตร่ตรองกับการทำสมาธิลดถอยลง การไม่ยึดติดกับบ้านเรือนของเพื่อนๆ ญาติๆ หรือผู้ให้การอุปภัมภ์ทั้งหลาย คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


34. Because harsh words disturb others’ minds and cause the bodhisattvas’ conduct to

deteriorate, abandoning harsh speech which is unpleasant to others is the

bodhisattvas’ practice.

34. เนื่องด้วยการพูดหยาบคายและเพ้อเจ้อทำให้จิตผู้อื่นไม่สงบ และทำให้ความประพฤติของพระโพธิ์สัตว์เสื่อมถอยลง การไม่พูดพยาบคายและไม่พูดเพ้อเจ้อที่ทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


35. When disturbing emotions are habituated, it is difficult to overcome them with

antidotes. By arming oneself with the antidotal weapon of mindfulness, to

destroy disturbing emotions such as desire the moment they first arise is the

bodhisattvas’ practice.

35. เมื่อกิเลสได้ฝังลึกลงไปจนเป็นนิสัย การเอาชนะกิเลสก็ทำได้โดยยาก แต่ด้วยอาวุธอันได้แก่สติ การทำลายกิเลสต่างๆเช่นโลภะได้ในทันใดที่กิเลสนั้นเริ่มเกิดขึ้นมา คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


36. In brief, whatever conduct one engages in, one should ask, “What is the state of

my mind?” Accomplishing others’ purpose through constantly maintaining

mindfulness and awareness is the bodhisattvas’ practice.

36. โดยสรุปแล้ว ไม่ว่าเราจะทำอะไรอยู่ก็ตาม เราควรถามตัวเองว่า จิตของเรากำลังอยู่ในสภาวะใด การตอบสนองจุดมุ่งหมายของผู้อื่นด้วยการมีสติสัมปชัญญะพร้อมอยู่ตลอด คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


37. In order to clear away the suffering of limitless beings, through the wisdom

realizing the purity of the three spheres, to dedicate the virtue attained by making

such effort for enlightenment is the bodhisattvas’ practice.

37. เพื่อการขจัดปัดเป่าความทุกข์ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงที่ไม่มีจำนวนจำกัด ด้วยปัญญาที่เข้าใจความบริสุทธิ์ของโลกทั้งสาม การอุทิศผลบุญที่ได้มาจากการพยายามนี้ให้แก่การตรัสรู้ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์


Following the speech of the Sublime Ones on the meaning of the sutras, tantras

and their commentaries, I have written The Thirty-Seven Practices of Bodhisattvas

for those who wish to train on the bodhisattvas’ path.

Due to my inferior intellect and poor learning, this is not poetry that will please

scholars, yet as I have relied upon the sutras and the speech of the Sublime Ones,

I think the bodhisattva practices are not mistaken.

However, because it is difficult for one of inferior intellect like myself to fathom

the depth of the great deeds of bodhisattvas, I beseech the Sublime Ones to

forbear my errors such as contradictions and incoherent reasoning.

By the virtue arising from this may all migrators become, through excellent

conventional and ultimate bodhicitta, like the Protector Chenrezig who does not

abide in the extremes of existence or peace.

ข้าพเจ้าได้เขียน กิจปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ 37 ประการ ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเกี่ยวกับความหมายของพระสูตร พระตันตระและอรรถกถาต่างๆ ให้แก่ผู้ที่ต้องการฝึกฝนตนตามแนวทางของพระโพธิสัตว์

เนื่องจากสติปัญญาอันจำกัดและการศึกษาเล่าเรียนอันน้อยของข้าพเจ้า นี่ไม่ได้เป็นบทกลอนที่ไพเราะ ที่จะทำให้เหล่านักวิชาการพอใจ แต่ข้าพเจ้าก็ได้ยึดถือพระสูตรและพระพุทธพจน์ ข้าพเจ้าคิดว่ากิจปฏิบัติของพระโพธิสัตว์นี้ไม่มีข้อผิดพลาด

แต่เนื่องด้วยความด้อยสติปัญญาของข้าพเจ้าที่จะหยั่งลงถึงก้นบึ้งของการปฏิบัติอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอจึงวิงวอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายโปรดประทานอภัยแก่ข้อผิดพลาดต่างๆ เช่นการไม่เข้ากัน หรือข้อความที่ขัดแย้งกันในบทเหล่านี้

ด้วยอำนาจของผลบุญที่เกิดขึ้นจากการประพันธ์บทเหล่านี้ ขอให้สัตว์โลกทั้งหลายที่เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ จงกอปรไปด้วยโพธิจิตทั้งสองประการ อันได้แก่โพธิจิตสมมติและโพธิจิตปรมัตถ์ และเป็นดั่งพระอวโลกิเตศวรผู้ปกป้อง ผู้ทรงไม่ดำรงอยู่ในสุดโต่งทั้งสอง อันได้แก่สังสาระและนิพพาน

This was written for the benefit of himself and others by the monk Thogme, an

exponent of scripture and reasoning, in a cave in Ngülchu Rinchen.

At the request of Garchen Triptrül Rinpoche, this translation was completed in 1999 by the disciple Ari-ma. Additional revisions were made by her in the spring of 2002. English translation copyright Ari Kiev 2002. This text is for free reproduction and distribution. It’s copyright is solely for the purpose of authentication.

บทประพันธ์นี้เขียนขึ้นมาโดย พระภิกษุท็อกเม ผู้อธิบายพระคัมภีร์และเหตุผลต่างในการปฏิบัติจำศีล ในถ้ำใน งุลจู รินเจ็น เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านเองและผู้อื่น

จากคำขอของพระอาจารย์การ์เช็น ตริปตรุล รินโปเช บทประพันธ์นี้ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษสำเร็จเสร็จสิ้นในปี พ.. 2542 โดยลูกศิษย์อริมา โดยเธอได้แก้ไขเพิ่มเติมในฤดูใบไม้ผลิปี พ.. 2545

บทแปลภาษาอังกฤษสงวนลิขสิทธิ์โดย อริมา บทประพันธ์นี้สามารถทำไปเผยแพร่แจกแจงได้ การสงวนลิขสิทธ์นั้นเพียงเพื่อการตรวจสอบความถ่องแท้

ราม นฤหล้า ผู้แปลเป็นภาษาไทย

References:

http://www.garchen.net/resources/37practices.pdf (Garchen Institute – Drikung Kagyu)

ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิ

คำประกาศนายทะเบียนมูลนิธิ จัดตั้งมูลนิธิพันดาราอย่างเป็นทางการ (๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘)

Thursday, October 4, 2007

ทางไปบ้านมูลนิธิที่ลาดพร้าว


บ้านอยู่ในซอย 11 ถนนลาดพร้าว อยู่ใกล้ๆห้างคาร์ฟูร์ลาดพร้าว ประมาณหนึ่งกิโลเมตรจากปากทางลาดพร้าว หากมาด้วยรถส่วนตัวสามารถจอดที่ห้างคาร์ฟูร์แล้วเดินเข้ามาได้ ใช้เวลาประมาณห้านาที โดยเดินออกจากหน้าห้างแล้วเลี้ยวมาทางซ้าย จะพบซอย 9 แล้วก็ซอย 11 หรือถ้ามาทางรถใต้ดิน ให้ขึ้นที่สถานีลาดพร้าว มาที่ทางออกซอยลาดพร้าว 17 แล้วเดินย้อนมายังซอย 11 ใช้เวลาประมาณสิบนาที
ซอย 11 เป็นซอยสั้นประมาณ 100 เมตร บ้านอยู่สุดซอยทางขวามือ รั้วสีเหลือง มีประตูคั่นกลางซอย บ้านเลขที่ 695 โทร.ที่บ้าน 02 511 4112

ชุดการบรรยายพันดารา

มูลนิธิพันดาราจะจัดการบรรยายเป็นระยะๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ศาสนาต่างๆ รวมทั้งศิลปะวัฒนธรรมทิเบตและหิมาลัย ทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.00 - 15.30 น. (แต่โปรดสังเกตว่าการบรรยายของริงกุริมโปเชในวันที่ 27 และ 29 พ.ย. เริ่มเวลา 19.00 น.) ที่บ้านมูลนิธิ บ้านเลขที่ 695 ซอย 11 ถนนลาดพร้าว มีชากาแฟบริการ ไม่เก็บค่าลงทะเบียน การบรรยายเป็นภาษาไทย

ครั้งที่ 1 วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
“วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์” ของท่านศานติเทวะ บทที่ 1-5
ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
*ผู้ที่สนใจโปรดเตรียมหนังสือ วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ แปลโดย ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์มาในการบรรยายด้วย หนังสือหาซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ และร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป*

ครั้งที่ 2 วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
การปฏิบัติธรรมแบบทิเบต
ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์

ครั้งที่ 3 การบรรยายพิเศษ วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
"การทำสมาธิกับการบำบัดความเครียดกับซึมเศร้า" (Meditation as an Antidote for Depression)
Ringu Tulku Rinpoche
ห้อง 302 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 19.00 - 21.00 น.
บรรยายภาษาอังกฤษ มีแปลเป็นไทย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Ringu Tulku Rinpoche จากเว็บ www.bodhicharya.org
และ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ี่

ครั้งที่ 4 การบรรยายพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
การจำศีลกับการฝึกจิต (Retreat and Mind Training)
Ringu Tulku Rinpoche
บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ มีแปลเป็นไทย เวลา 19.00 - 21.00 น. ที่บ้านของมูลนิธิ

โปรดจองที่นั่งล่วงหน้าที่คุณอารีรัตน์ ศิริคูณ โทร. 089-890-4015 Email areeratana@cpbequity.co.th หรือที่ อ. โสรัจจ์ โทร. 089-686-6331 Email s.hongladarom@gmail.com.