การประชุมวิชาการ
“ความสุขในสังคมสมัยใหม่:
จิตวิญญาณ สังคมและวิทยาศาสตร์”
"Happiness and Contemporary Society: Spirituality, Society and Science"
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 18-19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เวลา 9.00 – 18.00 น.
จัดโดยกลุ่มสนทนาพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ มูลนิธิพันดารา
ร่วมกับศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Supported by a grant from the Local Societies Initiative, Metanexus Institute
หลักการและเหตุผล
ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่หลายคนกลับไม่รู้ว่าความสุขที่แท้จริงคืออะไร สังคมสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยบริโภคนิยม มักให้ความหมายว่า ความสุขคือสิ่งที่ซื้อได้ด้วยเงิน และเป็นสิ่งเดียวกันกับความพึงพอใจทางเนื้อหนัง หรือการได้บำรุงบำเรอประสาทสัมผัสต่างๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า ยิ่งเราใช้จ่ายบริโภคไปเท่าใด ก็ดูเหมือนว่าเรายิ่งห่างไกลจากความสุขไปเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เมื่อใช้จ่ายซื้อสิ่งที่ต้องการมา ก็กลับไม่พอใจกับสิ่งนั้น ก็เลยต้องแสวงหาต่อไปอีก และก็วนเวียนอยู่เช่นนี้ไม่จบสิ้น ความสุขในสังคมสมัยใหม่จึงเป็นอะไรที่ผู้คนพยายามไขว่คว้า แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับ ดูเหมือนว่าการพูด การคิด การกระทำทั้งหลายในสังคมสมัยใหม่จะมีแต่เพื่อให้เกิดความสุข แต่กลับไม่พบความสุขที่แท้จริง ผู้คนก็ยังเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ด้วยประการต่างๆ
กล่าวโดยรวมก็คือ ความสุขเป็นยอดปรารถนาของทุกคน แต่ในท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและการบริโภคเช่นที่เป็นอยู่นี้ ความสุขกลับกลายเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกล เราอาจเปรียบได้กับม้าที่วิ่งอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เพราะอยากกินแครอทที่แขวนอยู่ข้างหน้ากับหลักที่ติดอยู่กับอานม้า ไม่ว่าม้าจะวิ่งไปมากเท่าใดหรือเร็วเท่าใด ก็ไม่ได้กินแครอทเสียที ภาพนี้สามารถอธิบายสภาพของสังคมสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี การพูดเกี่ยวกับความสุขมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่ดูเหมือนว่าไม่มีใครมีความสุขเลย
นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสุขก็ยังเรียกได้ว่าเป็น “สิ่งต้องห้าม” สำหรับนักวิชาการ เนื่องจากความสุขเป็นยอดปรารถนาแต่ดูเหมือนว่าไม่มีใครได้ครอบครอง นักวิชาการจึงมักจะพยายามหลบเลี่ยงไม่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสุขโดยตรง เหตุผลหนึ่งก็คือมักจะมีการอ้างว่า การนิยามว่าความสุขคืออะไรเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ก็น่าประหลาดใจที่เป็นเช่นนี้ เพราะทุกคนพูดถึงความสุข อยากมีความสุข ดังนั้นการบอกว่าไม่มีใครรู้แน่ว่าความสุขคืออะไรจึงเป็นเรื่องแปลก เพราะหากไม่รู้ว่าความสุขคืออะไร หรือจะนิยามความสุขว่าอย่างไร จะปรารถนาความสุขได้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับนักวิชาการทั่วๆไปก็คือว่า นอกจากจะนิยามคำว่า “ความสุข” ได้ค่อนข้างลำบากแล้ว ก็ยังประสบปัญหาว่าจะวัดปริมาณของความสุขได้อย่างไร ประเทศภูฐานเป็นประเทศแรกที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ล้อเลียนแนวคิดเกี่ยวกับ “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” ในเศรษฐศาสตร์
ความแตกต่างกันก็คือว่า ผลผลิตมวลรวมประชาชาติเป็นจำนวนการผลิตสินค้าและบริการทั้งหมดของผู้คนในประเทศ ซึ่งถือกันว่าเป็นมาตรวัดระดับการพัฒนาของประเทศนั้นๆ ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา มีการกระพือกระแสแนวคิดที่ว่า ผลผลิตมวลรวมประชาชาติเป็นยอดปรารถนาของประเทศต่างๆ ซึ่งจะทำให้ประชาชนในประเทศนั้นมี “ความสุข” หรือมี “คุณภาพชีวิต” ที่ดียิ่งขึ้น แต่ปัญหานานับประการที่เกิดขึ้นจากแนวคิดนี้ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายประการ ที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงจากการพัฒนาผลผลิตมวลรวมเช่นนี้ ตัวอย่างเช่น อัตราการหย่าร้างเพิ่มมากขึ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การขยายตัวของธุรกิจข้ามชาติซึ่งคุกคามวิถีชีวิตดั้งเดิม และอีกหลายประการ แม้จะโหมโฆษณาว่า การเพิ่มผลผลิตมวลรวม หรือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะเป็นยอดปรารถนาของสังคม ซึ่งก็มีนัยยะว่าการเพิ่มผลผลิตดังกล่าวเป็นหนทางสู่ความสุข แต่ผลที่เกิดขึ้นก็คือว่า ความสุขนั้นแท้จริงแล้วดูจะไม่มีส่วนสัมพันธ์กับอัตราการเพิ่มผลผลิตมวลรวม หรืออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังที่เคยคิดกัน
ดังนั้น ประเทศภูฐานจึงประกาศว่า จะให้ความสุขมวลรวมประชาชาติเป็นดัชนีในการพัฒนา แทนที่จะเป็นผลผลิตมวลรวม ซึ่งแนวคิดนี้ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน นอกจากนี้ในปัจจุบัน แม้แต่วิทยาศาสตร์เองก็เริ่มให้ความสนใจกับความสุขมากยิ่งขึ้น โดยมีงานวิจัยใหม่ๆเกี่ยวกับสถานะของสมองเมื่อมีความสุข หรือบทบาทของการฝึกจิตแบบพระพุทธศาสนาต่อการทำงานทางสรีรวิทยาของสมอง เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นการแสดงการเชื่อมโยงกันโดยตรงของสรีรวิทยา และมิติที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรมเช่นเรื่องความสุขนี้
เมื่อสถานการณ์ของโลกสมัยใหม่กับความสุขเป็นเช่นนี้ จึงควรที่เราจะมาศึกษาวิจัย และทำความเข้าใจกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับบทบาทของความสุขในสังคมสมัยใหม่ ว่าทำอย่างไรจึงจะเกิดความสุขขึ้นมาได้ โดยที่ไม่ใช่ความสุขที่โฆษณาทางสื่อมวลชน ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งในสังคมไทยสมัยใหม่ก็คือว่า ผู้คนเริ่มโหยหาคำตอบทางจิตวิญญาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการบริโภคไม่สามารถให้ความสุขได้ ผู้คนเริ่มหันมามองหาทางเลือกอื่นๆ และมิติทางจิตวิญญาณหรือศาสนานี้เองที่จะเป็นคำตอบได้อย่างดี
อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องไม่ติดอยู่ในกับดักของบริโภคนิยม โดยต้องไม่หลงไปกับ “บริโภคนิยมทางจิตวิญญาณ” (spiritual consumerism) ซึ่งเกิดจากการทำมิติทางจิตวิญญาณให้กลายเป็นสินค้าที่มาบริโภคกัน ไม่ต่างจากสินค้าและบริการประเภทอื่น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย ดังนั้นเป้าหมายประการหนึ่งของการประชุมนี้ก็คือ การพยายามหาคำตอบว่า ความสุขนั้นจะหามาได้อย่างไร ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขท่ามกลางกระแสของสังคมสมัยใหม่ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยที่มุ่งศึกษาวิจัยความสุขในมิติต่างๆเป็นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้จะเป็นปัญหาที่การประชุมนี้มุ่งจะให้คำตอบ
วัตถุประสงค์
(1)เสนอทางออกให้แก่ผู้คนในสังคมสมัยใหม่ว่าความสุขที่แท้จริงและยั่งยืนนั้น จะได้มาได้อย่างไร
(2)เสนอแง่มุมใหม่ของการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความสุขจากมุมมองของวิชาการสาขาต่างๆ เช่นจิตวิทยา ประสาทวิทยา เศรษฐศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา พยาบาลศาสตร์ แพทยศาสตร์ และอื่นๆ
(3)กระตุ้นความสนใจที่จะค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับความสุขในแง่มุมต่างๆในสังคมไทย
การลงทะเบียน
ไม่เก็บค่าลงทะเบียน โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้า ที่คุณอารีรัตน์ ศิริคูณ Email: areeratana@cpbequity.co.th โทร. 081-648-1195 คุณธนิตา ประภาตะนันทน์ Email: thanita_ps@hotmail.com โทร. 089-208-7611 หรือคุณอรุณี มุศิริ a_musiri@yahoo.com โทร. 089-481-7754
กำหนดการ
เสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2550
8.30-9.00 ลงทะเบียน/รับเอกสาร
9.00-9.30 เปิดการประชุม
สุลักษณ์ ศิวรักษ์
9.30-10.15 ความสุข ภาวะสูงวัย และจิตวิญญาณ
ประสาน ต่างใจ
10.15-10.45 พักรับประทานน้ำชา
10.45-11.30 ความสุข วิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนา
วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
11.30-12.15 ความสุขในปรัชญาจีน
ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์
12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-13.45 ความสุขในฐานะคุณค่าของสังคม
วีระ สมบูรณ์
13.45-14.30 ความสุขของผู้ทำงานเพื่อสังคม
พิมใจ อินทะมูล
14.30-15.15 ความสุข จิตวิญญาณ และผู้ป่วยระยะสุดท้าย
สิวลี ศิริไล
15.15-15.30 พักรับประทานน้ำชา
15.30-16.15 “ความสุขของกะทิ”
งามพรรณ เวชชาชีวะ
16.15-17.00 ทำการสอบให้เป็นคำตอบของความสุข
สรยุทธ รัตนพจนารถ
17.00-17.45 เหตุใดสิ่งดีๆจึงมักจะเกิดกับคนดีๆ
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
อาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม
9.00-9.30 ลงทะเบียน/รับเอกสาร
9.30-10.15 สุขภาพ ความมั่งคั่ง ความสุข
วิจิตร บุณยะโหตระ
10.15-10.45 พักรับประทานน้ำชา
10.45-11.30 นักทำใจให้เป็นสุข
กำพล ทองบุญนุ่ม
11.30-12.15 ความสุขในปรัชญาอินเดีย
ประพจน์ อัศววิรุฬหการ
12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.15 ความสุขในพระพุทธศาสนา
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี)
14.15-15.00 ดัชนีวัดความสุขกับโลกาภิวัตน์
เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ
15.00-15.15 พักรับประทานน้ำชา
15.15-15.45 ภาพยนตร์เรื่อง "เรื่องจริงบนแดนหลังคาโลก"
15.45-17.45 เสวนาพิเศษเรื่อง "ความสุขหลังเลนส์ ความสุขบริสุทธิ์ และความสุขแบบทิเบต"
อกนิษฐ์ มาโนษยวงศ์
ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์
ปรัชวัณ เกตวัลย์
กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
Monday, July 16, 2007
Tibetan Medicine and the Human Side of Cancer
Conference on "Tibetan Medicine and the Human Side of Cancer"
Sunday, July 22, 2007, 8:30 to 16:30 hours
Room 105, Maha Chulalongkorn Bldg., Chulalongkorn University
Tibet has had a long and continuous for more than two millennia. Apart from its role as the only culture that preserves the latest form of Buddhism that is lost elsewhere, Tibet also boasts a highly developed medical culture that is beginning to be appreciated by the world. In contrast to modern medicine, Tibetan medicine emphasizes different constitutions of the body and the need to prescribe therapies and medicines accordingly. It promotes an integration between the physical body, the mind and the environment, believing that they all are essentially interconnected, and the practice of medicine needs to pay attention to the integration. Moreover, it strongly emphasizes the spiritual aspect of the integration. The goal of medicine is not only to cure the body or the mind through mechanical or chemical means, but also through the integration informed by spirituality. It is believed that the body or the mind cannot be fully healed if the spirituality dimension is ignored. By doing good things, one has a good body and mind too.
The Thousand Stars Foundation is fortunate that Dr. Tsedor Nyerongsha, Director of the Nyerongsha Medical Institute, Lhasa, Tibetan Autonomous Region, China, will come to visit Bangkok as the guest of the Foundation, and to present a lecture on the basic principles of Tibetan medicine and his experiences as a doctor in the conference, which will be held on Sunday, July 22, 2007 at Room 105, Maha Chulalongkorn Building, Chulalongkorn University. Dr. Nyerongsha is part of a long line of perhaps the foremost medical family in Tibet. His ancestors were the personal doctors of many Dalai Lamas in the past, and he belongs to the seventh generation of this illustrious family. He learned medicine from his mother and maternal grandfather, and is now practicing tirelessly to help his patients in Lhasa. He used to come to Thailand before in January this year, with his sister, who is also a medical doctor living and practicing now in the United States and her husband, who is also a Tibetan doctor and a modern neuroscientist. Dr. Nyerongsha was deeply impressed by Thailand and the Thai people and, after having seen a number of Thai patients both in Bangkok and in Lhasa, decided to come to Thailand once more so that Thai people could learn more about Tibetan medicine.
Apart from Dr. Nyerongsha’s lecture, the conference will also feature a talk by Dr. Noppadol Sopharatanapaisarn, an oncologist from one of the best hospitals in Thailand who has been working on how the treatment of cancer could be more ‘humanized.’ Instead of looking at cancer as an enemy, something that needs to be defeated or totally eliminated from the earth, the new approach takes a more holistic look at the situation. Perhaps one can find meaning in life through cancer, and put the disease on a grander scheme of things. Dr. Noppadol will talk about a new book, The Human Side of Cancer, in which the authors talk about the changing role of medical doctors in the treatment of the disease and the need to put more human aspect to the task.
The conference is free of charge, but please register by Friday, July 20 at Khun Areerat Sirikhoon, areeratana@cpbequity.co.th, mobile phone: 081-648-1195, or Khun Arunee Musiri, a_musiri@yahoo.com, mobile phone: 089-481-7754. The conference language is Thai.
The conference is organized by the Thousand Stars Foundation Buddhism and Science Group, in collaboration with the Center for Ethics of Science and Technology, Chulalongkorn University.
Program
8.30-9.00: Registration
9.00-10.30: Lecture on “Tibetan Medicine: Experiences of a Seventh Generation Member of a Medical Family” Speaker, Dr. Tsedor Nyerongsha (Nyerongsha Medical Institute, Lhasa)
10.30-10.45: Break (Tea/coffee/refreshments)
10.45-12.15: Screening of Documentary Film “The New Medicine”
12.15-13.00: Lunch
13.00-14.30: Panel Discussion “Modern Medicine and Alternative Medicine: Solutions for Thailand” Panelists: Dr. Noppadol Sopharatanapaisarn and Dr. Soraj Hongladarom
14.30-15.00: Break (Tea/coffee/refreshments)
15.00-15.30: Talk about the book The Human Side of Cancer, led by Dr. Noppadol Sopharatanapaisarn
15.30-16.30: Questions and Answers -- General Discussion.
Sunday, July 22, 2007, 8:30 to 16:30 hours
Room 105, Maha Chulalongkorn Bldg., Chulalongkorn University
Tibet has had a long and continuous for more than two millennia. Apart from its role as the only culture that preserves the latest form of Buddhism that is lost elsewhere, Tibet also boasts a highly developed medical culture that is beginning to be appreciated by the world. In contrast to modern medicine, Tibetan medicine emphasizes different constitutions of the body and the need to prescribe therapies and medicines accordingly. It promotes an integration between the physical body, the mind and the environment, believing that they all are essentially interconnected, and the practice of medicine needs to pay attention to the integration. Moreover, it strongly emphasizes the spiritual aspect of the integration. The goal of medicine is not only to cure the body or the mind through mechanical or chemical means, but also through the integration informed by spirituality. It is believed that the body or the mind cannot be fully healed if the spirituality dimension is ignored. By doing good things, one has a good body and mind too.
The Thousand Stars Foundation is fortunate that Dr. Tsedor Nyerongsha, Director of the Nyerongsha Medical Institute, Lhasa, Tibetan Autonomous Region, China, will come to visit Bangkok as the guest of the Foundation, and to present a lecture on the basic principles of Tibetan medicine and his experiences as a doctor in the conference, which will be held on Sunday, July 22, 2007 at Room 105, Maha Chulalongkorn Building, Chulalongkorn University. Dr. Nyerongsha is part of a long line of perhaps the foremost medical family in Tibet. His ancestors were the personal doctors of many Dalai Lamas in the past, and he belongs to the seventh generation of this illustrious family. He learned medicine from his mother and maternal grandfather, and is now practicing tirelessly to help his patients in Lhasa. He used to come to Thailand before in January this year, with his sister, who is also a medical doctor living and practicing now in the United States and her husband, who is also a Tibetan doctor and a modern neuroscientist. Dr. Nyerongsha was deeply impressed by Thailand and the Thai people and, after having seen a number of Thai patients both in Bangkok and in Lhasa, decided to come to Thailand once more so that Thai people could learn more about Tibetan medicine.
Apart from Dr. Nyerongsha’s lecture, the conference will also feature a talk by Dr. Noppadol Sopharatanapaisarn, an oncologist from one of the best hospitals in Thailand who has been working on how the treatment of cancer could be more ‘humanized.’ Instead of looking at cancer as an enemy, something that needs to be defeated or totally eliminated from the earth, the new approach takes a more holistic look at the situation. Perhaps one can find meaning in life through cancer, and put the disease on a grander scheme of things. Dr. Noppadol will talk about a new book, The Human Side of Cancer, in which the authors talk about the changing role of medical doctors in the treatment of the disease and the need to put more human aspect to the task.
The conference is free of charge, but please register by Friday, July 20 at Khun Areerat Sirikhoon, areeratana@cpbequity.co.th, mobile phone: 081-648-1195, or Khun Arunee Musiri, a_musiri@yahoo.com, mobile phone: 089-481-7754. The conference language is Thai.
The conference is organized by the Thousand Stars Foundation Buddhism and Science Group, in collaboration with the Center for Ethics of Science and Technology, Chulalongkorn University.
Program
8.30-9.00: Registration
9.00-10.30: Lecture on “Tibetan Medicine: Experiences of a Seventh Generation Member of a Medical Family” Speaker, Dr. Tsedor Nyerongsha (Nyerongsha Medical Institute, Lhasa)
10.30-10.45: Break (Tea/coffee/refreshments)
10.45-12.15: Screening of Documentary Film “The New Medicine”
12.15-13.00: Lunch
13.00-14.30: Panel Discussion “Modern Medicine and Alternative Medicine: Solutions for Thailand” Panelists: Dr. Noppadol Sopharatanapaisarn and Dr. Soraj Hongladarom
14.30-15.00: Break (Tea/coffee/refreshments)
15.00-15.30: Talk about the book The Human Side of Cancer, led by Dr. Noppadol Sopharatanapaisarn
15.30-16.30: Questions and Answers -- General Discussion.
Wednesday, July 11, 2007
การแพทย์ทิเบตกับการบำบัดโรคมะเร็ง: ศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์
มูลนิธิพันดารา
ร่วมกับศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอเชิญผู้สนใจเข้าฟัง
การบรรยายและการอบรมเรื่อง
"การรักษาโรคแบบทิเบต การบำบัดโรคมะเร็ง และศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์"
(รายละเอียดโปรดคลิกที่นี่)
วิทยากร: Dr. Tsedor Nyerongsha นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล
วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2550 เวลา 9.00-16.30 น.
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำหนดการการประชุม
8.30-9.00 ลงทะเบียน/รับเอกสาร
9.00-10.30 การบรรยายเรื่อง "การรักษาโรคแบบทิเบต: ประสบการณ์ของหมอในตระกูลแพทย์ 7 รุ่นอายุ"
Dr. Tsedor Nyerongsha (Nyerongsha Medical Institute, Lhasa)
10.30-10.45 พักรับประทานน้ำชา/กาแฟ
10.45-12.15 ภาพยนตร์เรื่อง The New Medicine
12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 การอภิปรายเรื่อง "การแพทย์สมัยใหม่กับการแพทย์ทางเลือก: ทางออกสำหรับสังคมไทย"
นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ (ผู้ร่วมอภิปรายและดำเนินรายการ)
14.30-15.00 พักน้ำชา/กาแฟ
15.00-16.30 การบำบัดโรคมะเร็ง: มุมมองจากศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์ (Human science of cancer)
นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล
*ไม่เก็บค่าลงทะเบียน โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้า*
ติดต่อ: คุณอารีรัตน์ ศิริคูณ โทร. 081-648-1195 Email: areeratana@cpbequity.co.th หรือ
คุณอรุณี มุศิริ โทร. 089-481-7754 Email: a_musiri@yahoo.com
ร่วมกับศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอเชิญผู้สนใจเข้าฟัง
การบรรยายและการอบรมเรื่อง
"การรักษาโรคแบบทิเบต การบำบัดโรคมะเร็ง และศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์"
(รายละเอียดโปรดคลิกที่นี่)
วิทยากร: Dr. Tsedor Nyerongsha นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล
วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2550 เวลา 9.00-16.30 น.
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำหนดการการประชุม
8.30-9.00 ลงทะเบียน/รับเอกสาร
9.00-10.30 การบรรยายเรื่อง "การรักษาโรคแบบทิเบต: ประสบการณ์ของหมอในตระกูลแพทย์ 7 รุ่นอายุ"
Dr. Tsedor Nyerongsha (Nyerongsha Medical Institute, Lhasa)
10.30-10.45 พักรับประทานน้ำชา/กาแฟ
10.45-12.15 ภาพยนตร์เรื่อง The New Medicine
12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 การอภิปรายเรื่อง "การแพทย์สมัยใหม่กับการแพทย์ทางเลือก: ทางออกสำหรับสังคมไทย"
นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ (ผู้ร่วมอภิปรายและดำเนินรายการ)
14.30-15.00 พักน้ำชา/กาแฟ
15.00-16.30 การบำบัดโรคมะเร็ง: มุมมองจากศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์ (Human science of cancer)
นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล
*ไม่เก็บค่าลงทะเบียน โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้า*
ติดต่อ: คุณอารีรัตน์ ศิริคูณ โทร. 081-648-1195 Email: areeratana@cpbequity.co.th หรือ
คุณอรุณี มุศิริ โทร. 089-481-7754 Email: a_musiri@yahoo.com
Sunday, July 1, 2007
บทสวดเจ็ดแขนง
ข้าฯขอกราบพระพุทธเจ้าศากยมุนี
ด้วยศรัทธาอันเต็มเปี่ยม
กับเหล่าพระชินเจ้าทั้งหลายและบุตรธิดาของพระองค์
ผู้สถิตอยู่ทั่วทั้งสิบทิศและในสามกาล
ข้าฯถวายดอกไม้ ธูปเทียน
เครื่องหอม อาหาร ดนตรี กับอีกหลายสิ่ง
ทั้งที่เป็นของจริงและที่จินตนาการขึ้น
ข้าฯขอให้เหล่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายโปรดรับไว้ด้วย
ข้าฯขอสารภาพความผิดบาปทั้งปวงที่ข้าฯเคยทำมา
อันเนื่องมาจากกิเลสต่างๆ
จากกาลเวลาอันหาจุดกำเนิดมิได้จวบจนปัจจุบัน
รวมถึงอนันตริยกรรมห้าประการ
อกุศลกรรมบทสิบประการและอื่นๆอีกมาก
ข้าฯปลื้มปิติยินดีในบุญกุศลใดๆที่
เหล่าพระสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า
พระโพธิสัตว์ และบุคคลธรรมดา
ได้กระทำมาตลอดทั่วทั้งกาลทั้งสาม
ข้าฯสวดอ้อนวอนให้กงล้อแห่งธรรมได้หมุนไป
ขอให้คำสอนของมหายานและเถรวาท
ได้แพร่กระจายออกไปในวิถีที่เหมาะแก่จริต
และจุดมุ่งหมายอันแตกต่างกันของบุคคล
ข้าฯขอวิงวอนให้เหล่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
อย่าทรงเสด็จเข้าสู่พระนิพพาน
แต่ขอให้ทรงยับยั้งอยู่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
เพื่อดูแลสรรพสัตว์ทั้งปวง ผู้เวียนว่ายอยู่ในทะเลแห่งความทุกข์
จนกว่าสังสารวัฏจะหมดเกลี้ยงจากสรรพสัตว์เหล่านี้
ขอให้บุญกุศลใดๆที่ข้าฯได้เคยประกอบมา
จงเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งการตรัสรู้ของสรรพสัตว์
ขอให้ข้าฯได้เป็นผู้นำทางอันประเสริฐ
ให้แก่สัตว์ทั้งหลายโดยไม่ชักช้าด้วยเถิด!
Subscribe to:
Posts (Atom)