Tuesday, November 29, 2011

ธารน้ำใจสู่โรงเรียนธนพร

ธารน้ำใจจากนี้ตามที่ได้เคยแจ้งพวกเราว่ามูลนิธิได้รับการติดต่อจากโรงเรียนธนพร เซนต์แมรี่แอนน์ ขอความช่วยเหลือในการฟื้นฟูโรงเรียนหลังน้ำท่วม เมื่อวานดิฉันได้ไปคุยกับอาจารย์ภคพล ผู้จัดการโรงเรียน และผอ.กมลสรวง ดีประเสริฐวิทย์ ผอ.โรงเรียน อาจารย์ทั้งสองเล่าว่าโรงเรียนน่าจะเสียหายมากที่สุดแห่งหนึ่งในนนทบุรีเนื่องจากอยู่ลึกสุดของหมู่บ้านชลดา บางบัวทอง ที่แม้แต่ขณะนี้น้ำก็ยังท่วมอยู่ (ระดับน้ำเมื่อวานประมาณ 1.5 เมตร) โรงเรียนไม่สามารถฟื้นฟูได้ทันเปิดเรียนวันที่ 13 ธันวาคมซึ่งเป็นกำหนดเปิดเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ ผอ.กมลสรวงจึงได้ใช้บ้านของตัวเองที่หมู่บ้านซื่อตรง นนทบุรี เป็นโรงเรียนชั่วคราวด้วยการก่ออิฐโบกปูนกั้นห้องเรียน 3 ห้องสำหรับเด็กอนุบาลและประถมให้ใช้ด้วยกัน กั้นห้องน้ำ ห้องพักสำหรับครูซึ่งถูกน้ำท่วมเหมือนกันและได้ย้ายไปพักกับญาติ และห้องทำงานซึ่งจะใช้ห้องรับแขกของที่บ้าน

เกี่ยวกับโรงเรียน
โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กเปิดสอนเตรียมอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 เปิดมาแล้ว 17 ปี เคยรับรางวัลมาหลายครั้ง เคยเปิดสอน English program แต่มีปัญหาเรื่องบุคลากรชาวต่างชาติ และในปัจจุบันเน้นการสอนเด็กพิเศษ (Autism child program) ควบคู่กับเด็กปกติ มีนักเรียน 65 คน เนื่องจากเป็นโรงเรียนเอกชนจึงไม่สามารถขอรับการสนับสนุนจากรัฐได้ รายละเอียดเกี่ยวกับโรงเรียนดูได้ใน http://www.tanapornschool.ac.th
/












 









  

Monday, November 28, 2011

สรุปรายการทำบุญสำหรับธารน้ำใจ สิงห์บุรี

รายนามผู้ทำบุญกับโรงเรียนสังฆราชาวาส ดังนี้

โครงการธารน้ำใจพันดารา มูลนิธิพันดารา

1. กองทุนธารน้ำใจพันดารา บริจาคสิ่งของและทุนในการจัดซื้อของ ได้แก่
    -หนังสือใหม่เพื่อส่งเสริมการอ่านชั้นอนุบาล-มัธยม จำนวน 56 เล่ม เป็นเงิน 5415 บาท 
    -ถุงความหวังใส่วัสดุการศึกษา นม ขนม สำหรับเด็กอนุบาลและเด็กประถมศึกษา จำนวน 205 ถุง และจัดซื้ออุปกรณ์กีฬา เป็นเงิน 18,993 บาท
    -ทุนในการซื้อวัสดุอุปกรณ์การสอนเป็นเงิน 10,000 บาท เพื่อสมทบทุนในการซื้อไม้และตู้ เป็นเงิน 5,950 บาท โต๊ะวางคอมพิวเตอร์ 1 ตัว และแผ่นฟิวเจอบอร์ด 50 แผ่น เป็นเงิน 4,050 บาท 
    รวมเป็นเงิน 34,408 บาท
2. คุณ Christopher & May Duse และคุณ Leo Duse เป็นเจ้าภาพถุงความหวังสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมต้นจำนวน 82 คน โดยในถุงความหวังจะมีวัสดุการศึกษาและกระเป๋าสะพาย และบริจาคของขวัญ
    แด่คณะครู 25 ท่าน 
3. บริษัทคุณพิลาวัณย์ บริจาคซูกัส 5 ถุงใหญ่สำหรับถุงความหวัง
4.. คุณภิญโญ ศรีวีระชัย, เจ้าหน้าที่รพ อ่างทอง, คุณนงลักษณ์ พรวิศณุกูล, คุณสินธุ์ อัมรี, คุณพิลาวัณย์ มหพันธ์  เป็นเจ้าภาพไอสครีม 2 ถัง เป็นเงิน 3000 บาท และบริจาคนมกล่องในถุงความหวัง เป็น
    เงิน 6,133 บาท
6. คุณอุไรวรรณ พุ่มมาลี คุณธมน ถิรจิรโชติ คุณศรุดา เรืองวงศ์ บริจาคสมุดปกแข็งสำหรับถุงความหวัง 102 เล่ม กระเป๋าใส่ปากกาดินสอ 13 ใบ หนังสือสุขภาพ 1 ชุด และนิตยสารประมาณ 13 เล่ม
7. คุณปนันดา เลอเลิศยุติธรรม บริจาคสมุดปกอ่อน 120 เล่มและปากกา 100 แท่งสำหรับถุงความหวัง
8. น้องอ๋อง บริจาคขนมกรอบ 300 ถุงสำหรับถุงความหวัง
9. คุณสมบูรณ์ บริจาคหนังสือสำหรับห้องสมุดประมาณ 15 กล่อง
10. คุณเรืองรัตนา บริจาคหนังสือสำหรับห้องสมุด
11. น้องนาน่าและน้องนาเดียบริจาคตุ๊กตา 1 ถุง
12. คุณป้าใจ จะทำอาหารกล่องมาเลี้ยงผู้เดินทางประมาณ 30 กล่อง

ผู้ทำบุญท่านอื่น 
1. คุณไพโรจน์-คุณฉวีวรรณ วโรภาษและคณะเพื่อน บริจาคไม้อัด 6 มล. 30 แผ่น ไม้คีรีบอร์ด 4 มล. 30 แผ่น ไม้อัดชานอ้อย 20 แผ่น ตู้กระจกบานเลื่อน 4 ฟุต 5 หลัง เป็นเงิน 40,000 บาท
2. บริษัทโรงงานฟอกหนังชาญกิจบริจาคเครื่องปรินท์เตอร์พร้อมติดแทงค์หมึก จำนวน 5 เครื่อง เป็นเงิน 17,500 บาท
3. คุณกรณ์ ดิษฐ์ ฝ่ายบัญชีสำนักกฎหมายเนติวิริยะบัณฑิต บริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง เป็นเงิน 15,000 บาท
4. คุณดลภัทร ศิริวรรณ บริจาคหม้อหุงข้าวลูกใหญ่ 2 ลูก
5. ร้านสหกรณ์กรุงเทพ ให้ความอนุเคราะห์วัสดุ อุปกรณ์การสอน 
6. คุณเวช กี่หมันและครอบครัว บริจาคต้นไม้ 1 รถกะบะ

รายชื่อผู้ทำบุญในโครงการธารน้ำใจพันดารา ที่ระบุว่าสำหรับธารน้ำใจ สิงห์บุรี
1. ดร. คารีน่า โชติรวี 2000 บาท
2. อาจารย์รองรัตน์ ดุษฏีสุรพจน์ 2000 บาท
3. คุณรัตติยา สงครามวงศ์สกุล 1200 บาท
4. คุณพิลาวัณย​์ มหพันธ์ 4000 บาท
5. คุณณัฐธิดา พึ่งธรรมะสกุล 5000 บาท
6. คุณปรัชวัน เกตวัลห์และคุณพ่อคุณแม่ 3000 บาท
7. คุณอธิพงศ์ ธาดานุพงศ์ 1000 บาท
8. คุณนงนารถ กฤชทอง 1000 บาท
9. คุณโสมสุดา วสุธาร 1000 บาท
10. ครอบครัวคุณวลีพร ธนาธิคม 1000 บาท
11. คุณรัชฎา อสิสนธิสกุล 500 บาท
12. คุณเรืองแสง ศรีเปารยะและคณะ 3000 บาท
รวมเป็นเงิน 24,700 บาทซึ่งได้นำมาจัดซื้อของในข้อ 1 และทางกองทุนธารน้ำใจฯได้สมทบเพิ่มอีก 9,708 บาท รวมเป็นความช่วยเหลือในนามกองทุนธารน้ำใจพันดารา 34,408 บาท

ขอขอบคุณและอนุโมทนากับทุกท่านค่ะ

สรุปกิจกรรมธารน้ำใจ ปากเกร็ด

วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่ธารน้ำใจพันดาราไหลไปสู่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ฝั่งตะวันตกของปากเกร็ดเป็นที่แรกๆในนนทบุรีที่น้ำท่วมแต่เรามักนึกไม่ถึงเพราะอีกด้านของปากเกร็ดน้ำไม่ท่วม สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดคือน้ำดื่ม กิจกรรมครั้งนี้เราจึงเน้นน้ำดื่มเป็นหลัก แต่ก็พกถุงยังชีพแบบพื้นฐานที่เน้นข้าวสารปลากระป๋อง และถุงยังชีพประยุกต์ที่มีเส้นก๋วยเตี๋ยวผัดไทย กาแฟ/นมซอง แจกคู่กับถุงผลไม้ ได้แก่ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า สับปะรด มะละกอ และมะเฟือง ถุงความหวังสำหรับเด็กๆที่ยังไม่ได้ไปโรงเรียนที่มีนม ขนม สมุด ปากกา ดินสอ รวมทั้งจุลินทรีย์น้ำบริจาคในจุดที่น้ำนิ่งและเน่า ขอขอบคุณกัลยาณมิตรทุกท่านที่ร่วม เดินทางในวันนี้ ได้แก่ ดาว ต่อ คุณแสง คุณพฤหัส น้องทุ่ง ลุงชู และอาจารย์ Yonten และขอบคุณลุงชูที่ช่วยขับรถ และพี่ๆน้องๆในชุมชนที่มาช่วยพายเรือค่ะ
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.251009764953931.73871.100001347273588&type=1

ยอดบริจาคถุงยังชีพและอื่นๆ ประมาณ 200 ชุด
เนื่องจากมีผู้บริจาคของต่างๆ อาทิ ผลไม้ น้ำดื่ม อาหาร เสื้อผ้า ขนม นม สำหรับธารน้ำใจปากเกร็ด ทำให้เราเสียค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารแห้งและน้ำดื่มเพิ่มเติมเพียง 7641 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
            -ทำถุงยังชีพ 1,775 (ซื้อของวันที่ 25/11/11 บิ๊กซี รัตนาธิเบศร์)
            -น้ำดื่ม 20 แพค 4,216 บาท (ซื้อของวันที่ 25/11/11 บิ๊กซี ลาดพร้าว)
            -กล้วยหอม 150 บาท (หัวหิน)
            -ค่าน้ำมันและค่าจ้างรถกะบะสำหรับปากเกร็ดและสำหรับนำของแจกสิงห์บุรีจากบ้านมูลนิธิมานนทบุรี 1500 บาท

Monday, November 21, 2011

ธารน้ำใจนนทบุรี ๒

เรียน กัลยาณมิตรทุกท่าน

ธารน้ำใจ นนทบุรี ในวันเสาร์ที่ผ่านมาสิ้นสุดลงแล้วอย่างงดงาม ขอขอบคุณ คณะทำงานของมูลนิธิ จิตอาสา และผู้มีจิตเมตตา ทุกท่าน รูปจากกิจกรรมสามารถดูได้ใน facebook หน้ามูลนิธิ พร้อมนี้ได้ส่ง update (ภาษาอังกฤษ) เกี่ยวกับกิจกรรมทั้งที่ปทุมธานีและนนทบุรีพร้อมรูปมาด้วยค่ะ
เราได้ประสบการณ์มากมายจากการเดินทางไปลงพื้นที่คราวนี้ ทำให้คิดว่าควรจะได้ทำงานธารน้ำใจพันดาราต่อไปเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อไป เนื่องจากในหลายพื้นที่ในนนทบุรีที่เราไปเป็นเขตยากลำบากและยังไม่ค่อยมีหน่วยงานอื่นเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ทำให้เสียดายว่าเรามีของบริจาคน้อยเมื่อเทียบกับการที่เราได้เข้าไปพื้นที่จริงๆ แต่เนื่องจากทุนในกองทุนธารน้ำใจฯไม่เพียงพอ จึงขอเชิญชวนพวกเราช่วยกันประชาสัมพันธ์โครงการธารน้ำใจนี้ให้ผู้มีจิตเมตตาท่านอื่นได้รับทราบเพื่อเราจะได้ทำโครงการนี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการบรรเทาทุกข์ของเพื่อนในสังคมและเพื่อให้พันดาราเป็นสื่อกลางให้แก่ผู้มีความประสงค์จะให้ความช่วยเหลือหรือเป็นจิตอาสาสำหรับผู้ประสบภัย
สรุปรายการที่ได้บริจาคสำหรับอ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี:

1. ถุงยังชีพ 310 ถุง
2. น้ำดื่ม
3. ผลไม้สดจากศูนย์ขทิรวันและของบริจาคจากชาวบ้านหมู่บ้านมะค่าสี่ซอง ต.หนองพลับ หัวหิน
4. ชุดชั้นในสตรีและชุดชั้นในเด็ก 100 ชุด
5. ขนมเค้ก S&P 210 ชิ้น
6. สบู่ 1 ถุง
7. อาหารสุนัขและแมว 4 ถุงใหญ่ แบ่งเป็นแพ็คเล็กเพื่อสะดวกในการแจกและให้ทั่วถึง

สรุปรายจ่ายในการทำถุงยังชีพสำหรับธารน้ำใจ นนทบุรี : 
ยาแก้ไข้ ยาธาตุน้ำขาว แซมบัค ยาแก้ท้องเสีย 3174 บาท (ซื้อวันที่ 15 พย.54)
ของใช้และอาหารสำหรับถุงยังชีพ 28,163 บาท (ซื้อวันที่ 15 พย. 54)
ของใช้และอาหารสำหรับถุงยังชีพ ยาและถุงพลาสติกเพิ่มเติม 40,856 บาท (ซื้อวันที่ 16-17 พย. 54)
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 72,193 บาท (เฉลี่ยราคาถุงยังชีพในครั้งนี้ ถุงละ 233 บาท สำหรับของบริจาค 13 รายการ ทำได้ 310 ถุง)

ขอบคุณและอนุโมทนา (เพิ่มเติม):
Leo Duse, Christopher Duse และคุณเมย์ สมทบทุนในการทำถุงยังขีพเพิ่มเติมเป็นเงิน 10,000 บาท
คุณยาใจ ศรีวิโรจน์ สำหรับอาหารกลางวัน 80 ห่อพร้อมแจกแก่ผู้ประสบภัยและเลี้ยงคณะจิตอาสา และอาหารมังสวิรัติสำหรับอาจารย์กฤษดาวรรณ
คุณพิลาวัณย์ สำหรับสบู่ 1 ถุงใหญ่
คุณลุงจ่า ที่กรุณานำรถ pick-up มาบริการ

ธารน้ำใจ สิงห์บุรี วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2554
สำหรับการให้ความช่วยเหลือในโครงการธารน้ำใจพันดาราเพื่อโรงเรียนสังฆราชาวาส จ.สิงห์บุรี ซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัยเป็นอย่างมากทำให้ต้องจัดหาอุปกรณ์การเรียน การสอน การกีฬา และทำภูมิทัศน์ของโรงเรียนใหม่นั้น หากท่านใดมีจิตเมตตาจะให้ความช่วยเหลือก็จะขอบพระคุณยิ่ง ทั้งนี้ได้แนบจดหมายจากเลขานุการของมูลนิธิ (คุณพฤหัส มีเสน) มาเพื่อให้ทราบว่ารายการใดได้รับการสนับสนุนแล้วและรายการใดยังไม่ได้รับการสนับสนุนค่ะ และขอเชิญชวนพวกเราเดินทางไปให้กำลังใจโรงเรียนในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 ด้วยค่ะ

ขอขอบคุณและอนุโมทนา:
ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ทำบุญ 3,000 บาท 
คุณพิลาวัณย์ มหพันธ์ ทำบุญ 4000 บาท สำหรับซื้อขนมเลี้ยงเด็กนักเรียน
บริษัทคุณพิลาวัณย์ บริจาคซูกัส 5 ถุงใหญ่
คุณอาภา หาญเศรษฐการ นม 2 ลัง

รายรับ-รายจ่ายโครงการธารน้ำใจพันดารา
กองทุนธารน้ำใจพันดารา ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2554 
ยอดรวมทั้งหมด 169,700 บาท 

รายจ่ายปทุมธานี    54,361 บาท (ไม่นับรวมราคาของอาหารปรุงสุก อาหารแห้ง น้ำดื่ม ผลไม้ และยารักษาโรคที่มีผู้ทำบุญ)
รายจ่ายนนทบุรี      72,193 บาท (ไม่นับรวมราคาของอาหารปรุงสุก ผลไม้ น้ำดื่ม และขนมที่มีผู้ทำบุญ)
คงเหลือ                 43,146 บาท

ขออนุโมทนากับทุกกุศลจิตที่ทำให้กระแสธารพันดาราได้ออกไปสู่สังคม

ด้วยจิตเมตตา

รศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์

Thursday, November 17, 2011

ธารน้ำใจสู่นนทบุรี

Update #1 ธารน้ำใจ นนทบุรี วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2554 

นัดพบที่สำนักกฎหมายเนติวิริยะบัณฑิต (office คุณพฤหัส) ซอยรัตนาธิเบศร์ 24 เวลา 9.00 น. 


เราจะลงสามพื้นที่คือ บางรักใหญ่ บางบัวทอง และพิมลราช โดยเลียบคลองไปแจกถุงยังชีพตามชุมชนที่จมน้ำ คราวนี้จะไม่ได้ไปศูนย์อพยพค่ะ ได้ขอให้คุณพฤหัสติดต่อผู้นำชุมชนมุสลิมเพื่อพันดาราจะได้ช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมในย่านบางบัวทองด้วยค่ะ
 ถ้าท่านใดว่างขอเชิญไปร่วมกิจกรรมค่ะ แต่คราวนี้เราคงจะไปเป็นกลุ่มเล็ก ประมาณ 15 คน เนื่องจากจะต้องเดินทางทางเรืออย่างเดียว

จากประสบการณ์ที่ปทุมธานี ทำให้เราพัฒนาถุงยังชีพให้เหมาะกับความต้องการของผู้ประสบภัยที่ได้รับความลำบากจากการใช้ชีวิตกับน้ำเกินหนึ่งเดือนโดยเน้นเป็นเครื่องดื่มที่ให้กำลัง เช่น นมแบบต่างๆ และเน้นให้มีขนมประเภทเวเฟอร์ คุ๊กกี้ แครกเกอร์ ลูกอม ยาถ่านแก้อาหารเป็นพิษ ยาแก้ท้องเสีย ยาหม่องแซมบัค รวมทั้งอาหารสำหรับสุนัขและแมว เพิ่มเติมจากของยังชีพพื้นฐาน

ขอขอบคุณ:
- คุณนงลักษณ์ พรวิศณุกูล (น้องสาวคุณพิลาวัณย์ มหพันธ์) ทำบุญ 2,000 บาท และคุณกาญจนา จารุรัชกุล (เพื่อนที่ทำงานของคุณพิลาวัณย์) ทำบุญ 1,000 บาท สำหรับซื้อนมกล่องสำหรับเด็กเล็กและเด็กโตเพื่อบรรจุในถุงยังชีพ 9 ลังหรือ 360 กล่อง
- คุณพิลาวัณย์ มหพันธ์ บริจาคน้ำดื่ม 60 pack x 12 bottles = 720 ขวด และบัทเตอร์ เค้กชิ้นๆใส่ซองของ S&P จำนวน 210 ชิ้น
- คุณนพวรรณ บริจาคชุดชั้นในสตรี เสื้อผ้าเด็กและชุดชั้นในเด็ก จำนวนประมาณ 100 ชุด 

และขอขอบคุณ กลุ่มจิตอาสาที่ได้มาช่วยทำถุงยังชีพในวันนี้ และคุณพฤหัสที่ได้เปิดบ้านให้ทำถุงและช่วยขับรถพาไปซื้อของ

Tuesday, November 15, 2011

โครงการธารน้ำใจพันดาราเพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม


The Thousand Stars Foundation invites those with compassionate minds to participate in the following "Tarn Namjai" Projects: On 19 November 2011, to help flood victims in Nonthaburi Province, and on 27 November 2011, to render assistance to schools in Singhaburi Province that have been severely affected by the flooding. For details, please call the Foundation at 0878299387 or0833008119, or email at 1000tara@gmail.com. Information about these relief projects is available in http://krisadawan.wordpress.com.

เก็บตกธารน้ำใจปทุมธานี
ก่อนอื่นขอขอบคุณจิตอาสาผู้เมตตาทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมธารน้ำใจที่ปทุมธานีวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แม้ว่าพวกเราจะตากแดดกันทั้งวัน แต่หลายคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่เหนื่อยและสุขใจที่ได้ทำ ทางมูลนิธิได้ upload รูปใน facebook (ทั้งหน้า มูลนิธิ พันดารา และ The Thousand Stars Foundation

สำหรับกิจกรรมที่ปทุมธานี ขอขอบคุณอีกคณะหนึ่ง ได้แก่
ครอบครัวคุณสุรีพันธุ์ เสนานุช (กุ้ง)
- คุณประไพ จำคำสอน (คุณแม่คุณกุ้ง)
- คุณจินตนา จำคำสอน (น้องสะใภ้คุณกุ้ง)
- คุณอิ๋ว (ข้างบ้านคุณกุ้ง)
ที่ได้ให้การสนับสนุนสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องปรุงในครัว อาหารสำหรับแรงงาน เพื่อปรุงข้าวเหนียว-ไก่คั่วเค็

กิจกรรมต่อไป
เพื่อให้โครงการธารน้ำใจของเราได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างดีที่สุด เราจึงจะจัดกิจกรรมขึ้นอีกสองครั้งคือ กิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่นนทบุรีในวันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2554 และกิจกรรมช่วยเหลือโรงเรียนที่ประสบภัยน้ำท่วมที่สิงห์บุรีในวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2554 กิจกรรมต้องจัดใกล้กันเพื่อตอบสนองความต้องการที่เร่งด่วน จากการติดตามสถานการณ์ในเมืองนนท์ ระดับน้ำในหลายจุด เช่น อำเภอบางบัวทอง ยังสูงอยู่มากและผู้คนยังมีความเดือดร้อนอยู่ เมื่อถึงเดือนหน้าหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นและผู้คนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

นัดหมายธารน้ำใจนนทบุรีและลักษณะกิจกรรม
ขอเชิญเพื่อนๆร่วมให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจแก่ชาวนนทบุรีในวันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2554 สำหรับกิจกรรมครั้งนี้เราจะเน้นการบริจาคถุงยังชีพซึ่งจะรวมอาหารแห้ง (ที่ไม่ใช่มาม่าปลากระป๋อง) ขนมสำหรับเด็ก ผลไม้ ยารักษาโรค ยากันยุง นม และน้ำดื่ม และจะได้จัดให้มีการทำถุงยังชีพสุนัขและถุงยังชีพแมวด้วยค่ะ

จิตอาสาแพคถุงยังชีพ

ทางมูลนิธิจะจัดให้มีการแพคถุงยังชีพในวันพุธที่ 16 พฤศจิกายนนี้ที่สำนักงานกฎหมายเนติวิริยะบัณฑิต (สำนักงานของคุณพฤหัส มีเสน) ที่ซอยรัตนาธิเบศร์ 24 (ติดกับรั้วแบงค์กรุงไทย) ถ้าท่านใดพอมีเวลา จะมาช่วยแพคถุงก็จะขอบคุณมาก สำหรับคราวนี้ได้ขอให้ครูอ๊อด (อ.วรรณวิภา มาลัยนวล) กับครูอ้วน (อ.ณัฐ มาลัยนวล) มาเป็นแกนนำทำถุง ขอขอบคุณครูทั้งสองที่อาสามาช่วยแม้ว่าบ้านจะกำลังน้ำท่วมอยู่

นัดหมายธารน้ำใจสิงห์บุรีและลักษณะกิจกรรม
หลังกิจกรรมนนทบุรี เราจะเดินทางไปโรงเรียนสังฆราชาวาส อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ในวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2554 เพื่อไปมอบอุปกรณ์การศึกษาและของบริจาคอื่นๆให้โรงเรียน พร้อมกับร่วมกันปลูกต้นไม้ให้โรงเรียนซึ่งถือเป็นกิจกรรมฟื้นฟูโรงเรียนหลังน้ำท่วม จากนั้นจะไปเยี่ยมโรงเรียนศักดิ์สุวรรณวิทยา (อ.บางระจัน) กราบพระนอนจักรศรี (อ.เมือง) ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ ขอเชิญเพื่อนๆร่วมธารน้ำใจในครั้งนี้และขอความกรุณาประชาสัมพันธ์กิจกรรมนี้และที่นนทบุรีด้วยค่ะ

มีข่าวดีว่าทางคุณพฤหัสได้ติตต่อบริษัทรถทัวร์ปรับอากาศให้ช่วยบริการรถให้เราหนึ่งคันสำหรับการเดินทางไปกลับกรุงเทพ-สิงห์บุรี ทางบริษัทได้ให้ความอนุเคราะห์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เรานัดหมายพบกันเวลา 8 โมงเช้าที่ด้านหน้าห้างเซ็นทรัลรัตนาธิเบศร์ ผู้ใดสนใจจะเดินทางไปร่วมแบ่งปันในครั้งนี้ กรุณาแจ้งความจำนงที่ดาว (0878299387) หรือต่อ (0833008119) รถคันนี้จุได้ 32 ที่นั่งค่ะ

Monday, October 17, 2011

เบิกบานทุกนาที: การดูแลผู้ป่วยและผู้ป่วยระยะสุดท้าย

"เบิกบานทุกนาที : การดูแลผู้ป่วยและผู้ป่วยระยะสุดท้าย"
 ชีวิตสิกขา เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิพันดารา
 ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ถนนวิภาวดีรังสิต
 วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๙.๐๐- ๑๖.๐๐ น.

 
   "เวลานี้ เมื่ออยู่ในบาร์โดแห่งการดำรงชีวิตอยู่
    เพราะจิตไม่ตระหนักรู้   จึงหมกมุ่นเพียงเรื่องราวในสั
งสารวัฎ
    ไม่คิดถึงความตาย ความเป็นอนิจจัง
     จึงถูกรัดกุมด้วยความทุกข์แห่
งการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
     ฉับพลันความเจ็บป่วยมาเยือนร่
างแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้
     ขอการยึดติดในตัวตนแปรเปลี่
ยนเป็นความเป็นธรรมดา
     ขอพระอาจารย์ผู้รู้ทุกสิ่
งโปรดเมตตา  ระงับการปรากฏแห่งบาร์โด
     ขอให้ศูนยตาและริกปามาบรรจบกั
นดุจดังมารดาได้พบบุตรด้วยเทอญ"
                                                ข้อความจากบทสวดมนตร์
                                                        "รัตนมาลัย"
                                                 รจนาโดยมหาโยคีซกเช็น
                                                           กูร์ชก เช็มโบ


       เมื่อภาวะเจ็บป่วยทางร่างกายเกิดขึ้น
ไม่เพียงการดูแลเยียวยาทางกายภาพที่ดี
หากยังต้องการองค์ประกอบร่วมทั้งทางด้านจิตใจ สังคมและปัญญา
ช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ได้อย่างมีสุขภาวะที่ดีและสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
เพราะถึงแม้ทางกายภาพอาจจะไม่สมบูรณ์ แต่ศักยภาพทางด้านจิตใจและปัญญา
ยังสามารถพัฒนาได้ไปจนถึงขั้นสูงสุด
ที่อาจจะสามารถแปรเปลี่ยนความเจ็บป่วยให้เป็นปากประตูแห่งหนทางของการหลุดพ้นได้ในที่สุด
 อีกทั้งในมิติของผู้ดูแลโอกาสแห่งการบำเพ็ญเมตตาและกรุณาได้เริ่มต้นขึ้นอย่างมีคุณค่า
ที่จะพัฒนาให้ได้พบกับจิตอันบริสุทธิ์ของตน

     ขอเชิญท่านที่มีจิตปรารถนาการเรียนรู้
ดุจดังภาชนะที่สะอาดและว่างเปล่า ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับมูลนิธิพันดารา
และ เครือข่ายชีวิตสิกขา เพื่อฝึกฝนการละกิเลส
ทำภาวนาร่วมไปกับกระบวนการเรียนรู้และเข้าใจความจริงของชีวิต
และรับธรรมะในการวางใจเพื่อรับมือกับความเจ็บป่วยที่กำลังมาเยือนตรงหน้า


                    "เบิกบานทุกนาที : การดูแลผู้ป่วยและผู้ป่วยระยะสุดท้าย"
            ชีวิตสิกขา เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิตร่วมกับ มูลนิธิพันดารา
                  ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ถนนวิภาวดีรังสิต
                      วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๙.๐๐- ๑๖.๐๐ น.
                                                  กำหนดการ
9.00 น.                 ลงทะเบียน เปิดการอบรมและปฐมนิเทศ
9.30-11.00 น.      ปาฐกถาธรรมเรื่อง
                         "เมตตาภาวนาและหลักธรรมเพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้ป่วยระยะสุดท้าย"
                          โดยพระอาจารย์ ลาตรี เคนโป เกเช ญีมา ทรักปา ริมโปเช
                           บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ แปลเป็นภาษาไทยโดย รศ. ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
                          - แนวคิดเรื่องความเจ็บป่วยในพระพุทธศาสนา
                          - การเตรียมจิตเมื่อมีผู้ป่วยในครอบครัวโดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย
                          - การฝึกเมตตาภาวนา
                          - การดูแลจิตใจของทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล
                          - ความเจ็บป่วย การปฏิบัติธรรมในพุทธทิเบตพระพุทธเจ้าการแพทย์
11.00-11.30 น.     ตอบข้อซักถาม
11.30-12.30 น.     พิจารณาอาหารกลางวัน
12.30-14.30 น.     เสวนาเรื่อง "เบิกบานทุกนาที : การดูแลผู้ป่วยและผู้ป่วยระยะสุดท้าย"
                            ผู้ร่วมเสวนา :     รศ. ดร. กฤษดาวรรณหงศ์ลดารมภ์ ประธานมูลนิธิพันดารา,
                                                   ธนวัชร์ เกตน์วิมุต (ครูดล) ประธานเครือข่ายชีวิตสิกขา
                           ดำเนินรายการ : วรรณวิภา มาลัยนวล (ครูอ๊อด)
14.30-16.00 น.     กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ เครือข่ายชีวิตสิกขา
ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมอบรม
สามารถร่วมบริจาคเข้ามูลนิธิพันดาราและเครือข่ายชีวิตสิกขาได้ตามกำลังศรัทธา
การเตรียมตัว   แต่งกายสวมใส่เสื้อผ้าสบายและสะดวก ไม่จำเป็นต้องใส่ชุดขาว
หมายเหตุ  ทางเจ้าภาพจัดเตรียมอาหารกลางวัน  เครื่องดื่ม และของว่างตลอดการอบรม
******************************************************************************
ส่งใบลงทะเบียนได้ที่ jivitasikkha@gmail.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ครูอ๊อด โทร. 084-643-9245 ,
                                                     คุณณัฐ โทร 086-783- 3324

Sunday, July 3, 2011

อาสาฬหบูชาภาวนา ปณิธานเข้าพรรษา (กำหนดการปรับปรุง)

กิจกรรมบำเพ็ญบุญกุศลในวันพระใหญ่

“อาสาฬหบูชาภาวนา ปณิธานเข้าพรรษา”

ถวายดวงประทีปเป็นพุทธบูชา บ่มเพาะความกรุณาในหัวใจ

สร้างความรักความผูกพันในครอบครัว

วันที่ 15-16 กรกฎาคม 2554

ศูนย์ขทิวัน หัวหิน



*ไม่เก็บค่าลงทะเบียน*



มูลนิธิพันดาราขอเชิญพุทธศาสนิกชน กัลยาณมิตรสายใยพันดารา พร้อมคุณพ่อคุณแม่และครอบครัว ร่วมบำเพ็ญบุญกุศลและถวายดวงประทีปเป็นพุทธบูชาในวันพระใหญ่ ร่วมกิจกรรม "อาสาฬหบูชาภาวนา ปณิธานเข้าพรรษา" 15-16 กรกฎาคม 2554 ณ

ศูนย์ขทิรวัน หัวหิน กิจกรรมประกอบด้วย กราบอัษฎางคประดิษฐ์ อุทิศกาย วาจา ใจเพื่อพระรัตนตรัย ภาวนาเพื่อสร้างสันติสุขในจิตใจ ฝึกสมาธิถึงพระโพธิสัตว์ตารา เสวนาธรรม ตั้งปณิธานเข้าพรรษา ถวายดวงประทีป ณ บริเวณก่อสร้างพระศานติตารามหาสถูป พุทธสถานแห่งความรักความกรุณาอุทิศแด่สันติภาพของโลก นำภาวนาโดย รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ อดีตอาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อุทิศตนเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา



ทางมูลนิธิมีความยินดีบริการที่พักในบรรยากาศธรรมชาติและอาหารมังสวิรัติ ผู้ร่วมภาวนาสามารถนำอาหารมังสวิรัติ ผลไม้ เครื่องดื่มมารับประทานร่วมกัน หรือร่วมเป็นเจ้าภาพถวายดวงประทีปตามจิตศรัทธา



ผู้สนใจกรุณาแจ้งความจำนงที่ 1000tara@mail.com โทร 087-829-9387 ภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2554



กำหนดการ (ปรับปรุงล่าสุด)

วันที่ 15 กรกฎาคม 2554 (วันอาสาฬหบูชา)

08.00 น. พบกันที่บ้านมูลนิธิพันดารา ลาดพร้าว ซอย 11

08.30 น. ออกเดินทางไปศูนย์ขทิรวัน

11.30 น. ถึงศูนย์ขทิรวัน รับประทานอาหารกลางวันแบบเรียบง่ายร่วมกัน

13.00 น. ทำความรู้จัก เล่าเรื่องราวเกร็ดต่างๆ ของพุทธวัชรยานและวัฒนธรรมทิเบต เรื่องราวพระโพธิสัตว์ พร้อมจิบชาโบราณจากที่ราบสูงทิเบต

15.00 น. สักการะพระรัตนตรัยร่วมกัน กราบอัษฎางคประดิษฐ์ ภาวนาเพื่อสันติสุขในจิตใจ

16.30 น. ปณิธานเข้าพรรษา ปณิธานโพธิสัตว์

17.30 น. รับประทานอาหารเย็น

19.00 น. สวดมนตร์เพื่อสันติภาพของโลกและถวายดวงประทีปในคืนวันอาสาฬหะ

20.30 น. พัก ดื่มน้ำปานะ

20.45 น. พิธีอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับ

21.00 น. สนทนาธรรมกับอาจารย์กฤษดาวรรณและอาจารย์เยินเต็น

22.00 น. เข้านอน



วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (วันเข้าพรรษา)

05.00 น. ตื่นนอน

05.30 น. กราบอัษฎางคประดิษฐ์ ทำสมาธิ และทำวัตรเช้า

07.00 น. เดินภาวนา

08.00 น. รับประทานอาหารเช้า

09.00 น. ฝึกสมาธิถึงพระโพธิสัตว์ตาราและนำธรรมะของพระองค์มาใช้ในชีวิตประจำวัน

11.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 น. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ



ศูนย์ขทิรวัน : ธรรมาศรมในพระพุทธศาสนา เป็นแหล่งเรียนรู้พุทธศิลป์และปรัชญาทิเบตหิมาลัย และแหล่งพักพิงใจในบรรยากาศธรรมชาติที่เต็มไปด้วยขุนเขา สายน้ำ และต้นไม้นานาพรรณ



สถานที่พัก : ศูนย์ขทิรวันจะบริการที่พักเรียบง่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งแบบเต้นท์เดี่ยว และเต้นท์ครอบครัว (ในกรณีที่ฝนไม่ตก) ที่พักในศาลาปฏิบัติธรรมวสุตาราและเตวาวัฒนาซึ่งมีมุ้งลวดและกระจกปิดอย่างดี และห้องพักในเรือนทศบารมี



อาหาร : ทางศูนย์ขทิรวัน จะบริการอาหารทุกมื้อและเครื่องดื่มร้อนและเย็น



การแต่งกาย : เสื้อสีขาว กางเกงสีสุภาพ

Friday, June 24, 2011

กิจกรรมมูลนิธิ กรกฎาคม ๒๕๕๔

ขอเชิญกัลยาณมิตรร่วมกิจกรรมมูลนิธิพันดารา เดือนกรกฎาคม 2554

อาสาฬหบูชาภาวนา ปณิธานเข้าพรรษา

ณ ศูนย์ขทิรวัน หัวหิน

วันเสาร์ที่ 15 - 16 กรกฎาคม 2554 (สองวันหนึ่งคืน)วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม 2554

8.30 น. พบกัน ณ บ้านมูลนิธิพันดารา ลาดพร้าว11 (สำหรับท่านที่เดินทางโดยรถตู้)

14.00 น. พร้อมกัน ณ ศูนย์ ขทิรวัน หัวหิน (สำหรับท่านที่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว)

วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม 255410.00 น. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ*กิจกรรมนี้ไม่มีค่าลงทะเบียน

มีค่าใช้จ่าย 500 บาทสำหรับการเดินทางโดยรถตู้ที่ทางมูลนิธิเช่าให้

กิจกรรมอาสาเย็บธงมนตร์ณ บ้านมูลนิธิพันดารา ลาดพร้าว 11

เสาร์ที่ 23 อาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2554 เวลา 9.00-16.30 น.

เสาร์ที่ 30 กรกฎาคม 2554 เวลา 9.00-16.30 น.

และ อาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2554 เวลา13.00-16.00 น.

*ขอความกรุณาจิตอาสานำกรรไกร เข็ม ด้ายสีต่าง ๆ มาด้วยหากท่านใดมีจักรเย็บผ้าไฟฟ้า ใคร่ขอความกรุณานำมาด้วยเพื่อเย็บเชือกสำหรับผูกธง

*ขอเชิญนำอาหารกลางวันมารับประทานร่วมกัน

ภาวนาซกเช็นและเรียนรู้วัฒนธรรมพุทธแบบทิเบต

ณ บ้านมูลนิธิพันดารา ลาดพร้าว 11อาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2554 เวลา9.30-16.00 น.

การภาวนานี้เน้นการปฏิบัติพื้นฐาน ประกอบด้วย การสวดมนตร์ทำสมาธิ เพื่อให้จิตได้เข้าถึงความสงบ มนตราภาวนา และการพูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมและจิตวิญญาณแบบทิเบต

ลงทะเบียนล่วงหน้าติดต่อ: 1000tara@gmail.com โทร: 087 829 9387,083 300 8119

Saturday, June 11, 2011

พุทธวัชรยานกับธรรมะสามระดับ

การประชุม/เสวนาเรื่อง “พุทธวัชรยานกับธรรมะสามระดับ”

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2554 เวลา 9.00-16.00 .

ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


จัดโดยมูลนิธิพันดาราและศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


หลักการและเหตุผล

การประชุม “พุทธวัชรยานกับธรรมะสามระดับ” จัดขึ้นเพื่อเสวนาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาวัชรยาน อันเป็นนิกายในพระพุทธศาสนาที่พัฒนาขึ้นหลังสุด และยังมีข้อสงสัยเป็นอันมากในหมู่ชาวพุทธไทยว่านิกายนี้เป็นอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกับพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างไร นอกจากนี้การประชุมดังกล่าวก็ยังเป็นโอกาสที่สำนักพิมพ์มูลนิธิพันดารา จะทำการเปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ ได้แก่ การเห็นทางธรรมสามระดับ ซึ่งจัดจำหน่ายโดยศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การเห็นทางธรรมสามระดับ เแปลมาจากคำสอนของพระอาจารย์เตชุง ริมโปเช ซึ่งเป็นพระอาจารย์องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาทิเบตนิกายสาเกียปะ ซึ่งท่านได้สอนและให้อรรถาธิบายคำสอนในคัมภีร์ “การเห็นทั้งสาม” อันเป็นคำสอนหลักอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนาทิเบตที่เรียกว่า “ลัมเดร” หรือคำสอนว่าด้วยมรรคและผล เนื้อหาในคำสอนนี้ประกอบด้วยเส้นทางการปฏิบัติธรรมอย่างครบถ้วน เริ่มตั้งแต่การสร้างแรงจูงใจในการเริ่มปฏิบัติธรรม การพิจารณาว่าชีวิตมนุษย์นี้มีค่ายิ่งนัก การมองเห็นทุกข์ ภพภูมิต่างๆของสัตว์โลกในสังสารวัฏ การละวางจากสังสารวัฏ รวมไปถึงการตั้งปณิธานโพธิจิต หรือการตั้งจิตอธิษฐานเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อบำเพ็ญประโยชน์สูงสุดให้แก่สรรพสัตว์ โพธิจิตอธิษฐาน โพธิจิตปฏิบัติ บารมีหกประการของพระโพธิสัตว์ การแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆ การพิจารณาศูนยตาหรือความว่าง การปฏิบัติสมาธิแบบสมถะและแบบวิปัสสนา

การเห็นทั้งสาม” ในหนังสือเล่มนี้ได้แก่การรับรู้หรือการมองโลกเป็นสามระดับ ตามลำดับขั้นของการพัฒนาทางธรรมของผู้ปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การเห็นที่ไม่บริสุทธิ์ อันเป็นการเห็นโลกตามธรรมดาของปุถุชนทั่วไป ต่อมาก็เป็นการเห็นของผู้กำลังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติ และสุดท้ายได้แก่การเห็นอย่างบริบูรณ์ของผู้ที่เข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ หรือการรู้แจ้งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เนื้อหาทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนสำคัญของพระพุทธศาสนาทั้งเถรวาท มหายานและวัชรยาน จึงมีสำคัญอย่างยิ่งต่อการเข้าใจว่าพระพุทธศาสนาวัชรยานเป็นอย่างไรด้วย

การประชุมประกอบด้วยการเสวนาโดยนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งผู้แปลหนังสือเล่มนี้ รวมทั้งการบรรยายเกี่ยวกับความตายและการเกิดใหม่โดย รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ ซึ่งเรื่องความตายกับการเกิดใหม่นี้ก็เป็นหัวข้อในพระพุทธศาสนาวัชรยานของทิเบตที่คนไทยให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง

การประชุมนี้ไม่เก็บค่าลงทะเบียนแต่อย่างใด แต่กรุณาแจ้งความจำนงล่วงหน้าที่ 1000tara@gmail.com


กำหนดการ

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.. 2554

8.30 . ลงทะเบียน

9.00 . พิธีเปิด

9.15 . ทำความรู้จักพุทธวัชรยาน

รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ (ผู้เชี่ยวชาญด้านทิเบตและพุทธวัชรยาน)

10.00 . พักรับประทานอาหารว่าง

10.30 . เสวนาเรื่อง “ธรรมะสามระดับ”

ผศ. ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ (คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนามหายาน)

. สมฤทธิ์ ลือชัย (พิธีกรรายการธรรมในใจและอาจารย์พิเศษด้านอุษาคเนย์)

รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ (อาจารย์ปรัชญา ผู้แปลหนังสือการเห็นทางธรรม

สามระดับ)

12.00 . พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 . ภาพยนตร์ “ชีวิตและการละสังขารของลามะทิเบต”

14.30 . พักรับประทานอาหารว่าง

15.00 . เสวนาเรื่อง “การละสังขาร การเกิดใหม่”

นำเสวนาโดย รศ.ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์

16.30 . ปิดประชุม

Friday, April 8, 2011

Activities in April

เรียนสมาชิกสายใยพันดาราและกัลยาณมิตรทุกท่าน

Dear Thousand Stars' members and everyone

กิจกรรมในเดือนเมษายน

April Activities

ภาวนาซกเช็นและเรียนรู้วัฒนธรรมพุทธแบบทิเบต วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน เวลา 9.30-12.00 น. บ้านมูลนิธิพันดารา ภาวนานี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดสมาธิภาวนา ทุกวันอาทิตย์ที่สองของเดือน

Dzogchen Practice and Learn about Tibetan Culture on Sunday April 24, 9.30 am-12 noon, at the Thousand Stars Foundation House. This practice will be held regularly on the second Sunday of every month.

เสวนา ทิเบต & ไกรลาศ วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน เวลา 13.30-16 น. ที่บ้านมูลนิธิพันดารา โดย รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์

Talk on “Tibet & Mt. Kailash” by Dr. Krisadawan Hongladarom on Sunday April 24, 1.30-4 pm, at the Thousand Star Foundation House

กิจกรรมในเดือนพฤษภาคม

May Activities

วิสาขบูชาภาวนา อบรมการเตรียมตัวตายแบบทิเบต วันที่ 12-18 พฤษภาคม 2554 ณ ศูนย์ขทิรวัน หัวหิน นำภาวนาโดย รศ.ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์

Visakabhuja Meditation and Preparing for Death Mindfully by Dr. Krisadawan Hongladarom on 12-18 May 2011 at Khadiravana Center, Hua Hin

แนะนำหนังสือใหม่

A New Book

หนังสือ "การเห็นทางธรรมสามระดับ" แปลจาThe Three Levels of Spiritual Perception แต่งโดย เตชุง ริมโปเช และคณะ แปลโดย รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ อ่านรายละเอียดและสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ได้ที่ http://www.chulabook.com/description.asp?barcode=9789744967893

A translation of "The Three Levels of Spiritual Perception" written by His Eminence Deshung Rinpoche and translated into Thai by Dr. Soraj Hongladarom, read more and order this book online at http://www.chulabook.com/description.asp?barcode=9789744967893


Thursday, April 7, 2011

การเห็นทางธรรมสามระดับ

หนังสือเล่มใหม่ของสำนักพิมพ์มูลนิธิพันดารา เพิ่งออกจำหน่ายเร็วๆนี้ คือ “การเห็นทางธรรมสามระดับ” ของเตชุงริมโปเช การเห็นทางธรรมสามระดับหมายถึงสามระดับของการรับรู้ทางธรรม ประกอบด้วยการเห็นอันไม่บริสุทธิ์ของผู้ที่ยังเป็นปุถุชน การเห็นของผู้ปฏิบัติธรรม และการเห็นอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า หนังสือเล่มนี้แปลจาก The Three Levels of Spiritual Perception พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Wisdom Publications สหรัฐอเมริกา


การเห็นสามระดับนี้หมายถึงลำดับขั้นของการพัฒนาทางจิตวิญญาณ เริ่มตั้งแต่ผู้ที่ยังไม่มีการพัฒนาอะไรเลย มาถึงผู้ที่กำลังพัฒนาฝึกฝนตัวเอง จนท้ายที่สุดจบที่ผลลัพธ์ของการฝึกฝน ซึ่งได้แก่การบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า การเห็นระดับแรกเป็นการเห็นของบุคคลธรรมดาๆทั่วๆไป ที่มักเห็นอะไรที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลสกับการปรุงแต่งต่างๆ คนธรรมดาๆที่ยังไม่ได้ฝึกฝนทางธรรมจะเห็นสิ่งรอบตัวในแบบที่เจือไปด้วยราคะ โทสะ โมหะ อยู่ตลอด ซึ่งทำให้คนธรรมดานี้ตกอยู่ใต้อำนาจของความทุกข์ และต้องว่ายเวียนอยู่ในสังสารวัฏอย่างไม่จบสิ้น ตัวอย่างของการเห็นในระดับนี้ก็เช่น เราเห็นรถใหม่ในงานแสดงรถแล้วเกิดความอยากได้ ความอยากได้นี้เรียกว่า “โลภะ” เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นตอของความทุกข์ หรือเราเห็นอะไรที่เราไม่ชอบ เกิดหงุดหงิดขึ้นมาจากการเห็นนั้น ก็เป็นเรื่องของการเห็นทีไม่บริสุทธิ์เช่นกัน สาเหตุหลักของความทุกข์ที่ทำให้ผู้คนเจ็บปวดมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายภพหลายชาติ ก็อยู่ที่การเห็นอันไม่บริสุทธิ์นี่เอง เป้าหมายของการฝึกฝนตามคำสอนของพระพุทธเจ้าก็คือว่า ให้เราฝึกตัวเองให้พ้นจากสถานะอันไม่น่าพึงพอใจนี้

ในหนังสือ “การเห็นทางธรรม” เรื่องของการเห็นระดับแรก อันเป็นการเห็นที่ไม่บริสุทธิ์ของปุถุชนนี้ ก็มุ่งที่จะสอนให้คนธรรมดาๆทั่วๆไปเริ่มมองเห็นประโยชน์ของการเดินทางบนเส้นทางธรรม การเริ่มเดินทางนี้ก็เริ่มต้นที่การมองเห็นและเข้าใจว่าความทุกข์คืออะไร รู้ว่าไม่น่าพอใจอย่างไร เมื่อเกิดการรับรู้เช่นนี้แล้ว ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในสังสารวัฏ คิดว่าจะต้องมีอะไรที่มีความหมายมากกว่านี้ ซึ่งก็เป็นเป้าหมายของการสั่งสอนพระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้เรื้องต่างๆในหัวข้อการเห็นระดับแรกนี้ ก็ยังมีเรื่องกฎแห่งกรรม ผลร้ายของการปฏิบัติกรรมอันเป็นอกุศล ผลดีของการปฏิบัติกรรมอันเป็นกุศล ภพภูมิต่างๆ ความไม่เที่ยงของสิ่งต่างๆ ความแน่นอนของความตาย ความยากลำบากของการเกิดเป็นมนุษย์ ความไร้สาระของโลกของปุถุชนหรือสังสารวัฏ จุดมุ่งหมายของการสอนเกี่ยวกับการเห็นอันไม่บริสุทธิ์ ก็คือให้ผู้เรียนมองเห็นความไร้สาระของโลกที่เป็นอยู่ ที่คนทั่วไปติดข้องอยู่ เกิดความเบื่อหน่ายในความไร้สาระนี้ และให้ตระหนักรู้ว่าทางเลือกที่ดีกว่ามีจริง และสามารถไปถึงได้ และการไปถึงนั้นต้องทำอย่างไร

การเห็นระดับที่สองเรียกว่า “การเห็นเชิงประสบการณ์” ซึ่งประสบการณ์ในที่นี้หมายถึงประสบการณ์ทางธรรมของผู้ที่กำลังฝึกฝนตนเองบนเส้นทางของธรรมะ เราอาจเรียกการเห็นระดับที่สองนี้ได้ว่า เป็นการเห็นในขั้นตอนเปลี่ยนผ่านจากการเป็นปุถุชนไปสู่ผู้บรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้า เนื่องจากคำสอนเกี่ยวกับการเห็นทางธรรมสามระดับนี้เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนามหายาน เป้าหมายของการปฏิบัติธรรมจึงไม่ใช่แค่แสวงหาการหลุดพ้นส่วนตัว แต่อยู่ที่พัฒนาโพธิจิต อันเป็นจิตที่มุ่งมั่นเข้าสู่การตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากกองทุกข์ ผู้ที่เดินตามเส้นทางแห่งโพธิจิตนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ ดังนั้นผู้ที่มีการเห็นในระดับที่สองนี้ จึงก้าวข้ามระดับของการเป็นปุถุชนไปแล้ว เนื่องจากเขาตระหนักรู้แก่ใจอย่างลึกซึ้งว่าสังสารวัฏเต็มไปด้วยความทุกข์ จึงต้องฝึกฝนตัวเองเพื่อให้ตัวเองพ้นจากความทุกข์นั้น รวมทั้งพัฒนาความสามารถที่จะช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นจากทุกข์นี้ด้วย เรื่องนี้ก็เหมือนกับคนที่ “ตาสว่าง” สามารถมองเห็นอะไรได้อย่างชัดเจน จะมีความสงสารเพื่อนร่วมโลกที่ยังมองไม่เห็นอย่างที่ตัวเองเห็น มีสายตามืดบอดว่ายสะเปะสะปะไม่รู้ทิศทาง จึงทำทุกวิถีทางที่จะช่วยให้เพื่อนๆมองเห็นได้แบบเดียวกับตนเอง ด้วยเหตุนี้หัวข้อต่างๆในระดับของการเห็นเชิงประสบการณ์นี้ จึงเป็นเรื่องโพธิจิตเป็นหลัก

โพธิจิตแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท หากแบ่งตามความตั้งใจของผู้ปฏิบัติ ก็แบ่งได้เป็น “โพธิจิตอธิษฐาน” กับ “โพธิสิตปฏิบัติ” อย่างแรกเป็นความตั้งใจจริงที่จะเลือกเดินทางบนเส้นทางของพระโพธิสัตว์ เนื่องจากรู้แล้วว่ามีแต่การบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในท้ายที่สุดเท่านั้น ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนอย่างหลังเป็นการลงมือเดินบนเส้นทางนี้จริงๆหลังจากที่มีโพธิจิตแบบแรกแล้ว แต่หากแบ่งโพธิจิตออกตามลักษณะของความเป็นจริง ก็แบ่งได้เป็น “โพธิจิตสมมติ” กับ “โพธิจิตปรมัตถ์” อย่างแรกเป็นโพธิจิตที่ตั้งอยู่บนความจริงแบบสมมติ ซึ่งได้แก่ความจริงที่เป็นไปตามการปรุงแต่งต่างๆ ส่วนอย่างหลังเป็นโพธิจิตที่ตั้งอยู่บนความจริงแบบปรมัตถ์ที่เป็นอยู่จริงๆ การปฏิบัติในขั้นของโพธิจิตสมมติ ประกอบด้วยการบ่มเพาะความเมตตากรุณา การพิจารณาว่าตัวเองเสมอเหมือนกับสัตว์โลกอื่นๆทุกอย่าง การแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลก ส่วนการปฏิบัติในขั้นตอนของโพธิจิตปรมัตถ์นั้นประกอบด้วยการฝึกสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนต่างๆของการปฏิบัติในระดับของการเห็นขั้นที่สอง เป้าหมายของการปฏิบัติตามการเห็นขั้นที่สอง ได้แก่การบรรลุถึงระดับของการเห็นขั้นที่สาม อันเป็นการเห็นอันบริสุทธิ์ของผู้บรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้า

กล่าวโดยสรุป หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมคำสอนทั้งหมดเกี่ยวกับการพัฒนาฝึกฝนตนเอง จากผู้ที่ไม่มีอะไร เป็นปุถุชนเต็มที่ จนถึงการบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เกี่ยวกับพระอาจารย์เตชุงริมโปเช


พระอาจารย์เตชุงริมโปเช (Deshung Rinpoche) เป็นพระอาจารย์ที่สำคัญมากที่สุดรูปหนึ่งในพระพุทธศาสนาทิเบต ท่านเป็นพระอาจารย์ในสายสาเกียปะ มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1906 ถึงปี 1987 ท่านเป็นพระภิกษุที่คงแก่เรียนมาก และเป็นที่รู้จักนับถือกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมากๆรูปหนึ่ง

รูปหน้าปก

รูปหน้าปกของหนังสือเล่มนี้ เป็นรูปของพระมหาสิทธิวิรูปะกำลังหยุดดวงอาทิตย์ วาดโดยคุณอธิพงศ์ ภาดานุพงศ์ พระมหาสิทธะวิรูปะเป็นพระอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนาลันทาในอินเดียในอดีต ท่านเป็นต้นรากของคำสอนที่พัฒนามาเป็น “การเห็นทางธรรมสามระดับ” นี้ ซึ่งเรียกในภาษาทิเบตว่า “ล้มเดร” เรื่องราวชีวิตของท่าน ตลอดจนเหตุว่าทำไมท่านจึงหยุดดวงอาทิตย์ได้ และหยุดไปเพราะเหตุใด มีอยู่ในหนังสือแล้ว

หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในชุด “คำสอนจากมหาวิทยาลัยนาลัทา” ของสำนักพิมพ์มูลนิธิพันดารา

Saturday, March 5, 2011

Activities of the Foundation - March-May 2011

วันที่ 4 มีนาคม 2554
March 4, 2011

เรียน สมาชิกพันดาราและกัลยาณมิตรทุกท่าน
Dear Thousand Stars' members and everyone

ในเดือนมีนาคมนี้ มูลนิธิจะจัดกิจกรรมเน้นเรื่องสุขภาพและสมาธิ ดังนี้
This March, The Thousand Stars Foundation will organize the following activities concerning health and meditation.

ภาวนาซกเช็นและเรียนรู้วัฒนธรรมพุทธแบบทิเบต วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม เวลา 9.30-12.00 น. บ้านมูลนิธิพันดารา ภาวนานี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดสมาธิภาวนา ทุกวันอาทิตย์ที่สองของเดือน
Dzogchen Practice and Learn about Tibetan Culture on Sunday March 13, 9.30 am-12 noon, at the Thousand Stars Foundation House. This practice will be held regularly on the second Sunday of every month.

การประชุม/เสวนาเรื่อง “กายกับใจ : วิถีธรรมชาติและจิตวิญญาณ” วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม เวลา 9.00-17.00 น. ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Conference on "Body and Mind : Nature and Spirituality" on Saturday March 19, 9.00 am-17.00 pm, at Room 105 Chulalongkorn Building, Chulalongkorn University.
โยคะภาวนาเพื่อสมาธิและสุขภาพ วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม เวลา 9:00-11:00 น. บ้านมูลนิธิพันดารา กิจกรรมนี้จัดทุกวันอาทิตย์ที่สามของเดือน ยกเว้นเดือนเมษายน (กรุณาดูรายละเอียดการลงทะเบียนในเอกสารที่แนบมาพร้อมอีเมล์นี้)
Yoga for Meditation and Health on Sunday March 20, 9:00-11:00 am at the Thousand Stars Foundation House. This activity will be held regularly on the third Sunday of every month except April (see more details about registration in the attached file).

เสวนา “เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการแพทย์ทิเบต” โดย รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และ นพ. เซดอร์ ญารงชา วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม เวลา 9.30-12.00 น. บ้านมูลนิธิพันดารา
Seminar on "Tibetan Medicine" by Dr. Krisadawan Hongladarom and and Dr. Tsedor Nyarongsha on Saturday March 26, 9.30-12 noon, at the Thousand Stars Foundation House.

ตรวจรักษาโรคโดยคุณหมอทิเบต วันที่ 26-30 มีนาคม บ้านมูลนิธิพันดารา ค่าตรวจ 400 บาท (ไม่รวมค่ายา) ผู้สนใจกรุณานำตัวอย่างปัสสาวะแรกของวันมาด้วย
Consultation with Tibetan doctor on 26-30 March at the Thousand Stars Foundation House. Registration fee: 400 baht (excluding medicine cost) please bring the first urine sample and refrain from taking medicine prior to the visit (Please see the attached poster for details).

ทุกกิจกรรมยกเว้นตรวจรักษาโรค ทางมูลนิธิไม่เก็บค่าลงทะเบียน ส่วนค่าตรวจและค่ายา ทางมูลนิธิมอบให้คุณหมอเพื่อเป็นค่าเดินทางไปกลับลาซา-กรุงเทพ และร่วมสนับสนุนกิจกรรมการแพทย์ของท่านในทิเบต
There is no registration fee for all activities mentioned above except consultation with the Tibetan doctor. The Foundation will give the collected consultation fees and medicine costs to the doctor as contribution toward his traveling expenses from Lasa to Bangkok and to support his medical activities in Tibet.
กิจกรรมภาวนาเดือนพฤษภาคม
May Activities

12-18 พค วิสาขบูชาภาวนา อบรมการเตรียมตัวตายอย่างมีสติแบบทิเบต ณ ศูนย์ขทิรวัน หัวหิน นำภาวนาโดย รศ.​ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
12-18 May: Visakabhuja Meditation and "Graceful Dying" workshop by Dr. Krisadawan Hongladarom at Khadiravana Center, Hua Hin.

โครงการก่อสร้าง “พระศานติตารามหาสถูป”
ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมสร้าง พระศานติตารามหาสถูป พุทธสถานเพื่อสันติภาพและความกรุณา พระมหาสถูปสร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจในวิถีพระโพธิสัตว์และอุทิศแด่สันติสุขของมวลมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลาย
The "Tara Great Stupa" Construction Project
We welcome donation for the construction of the Tara Great Stupa for Peace and Harmony. This stupa is built from Bodhicitta aspiration and for the happiness of all beings.

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้วสำหรับปี 2554
งาน​“ศิลปะ ธรรมชาติ ความรัก” (มค 54 ศูนย์ขทิรวัน)
งาน “ศิลปะแห่งความสุข” บรรยายธรรมของริงกุ ทุลกุ ริมโปเช (กพ 54 สวนโมกข์กรุงเทพ จัดร่วมกับหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ)
งาน “เยียวยาจิตใจบนวิถีพระโพธิสัตว์ตารา” และ “มนตราภิเษกพระศยามตารา” โดย ริงกุ ทุลกุ ริมโปเช (กพ 54 ศูนย์ขทิรวัน)
งาน “มาฆบูชาภาวนา บ่มเพาะความกรุณา ฝึกโยคะเพื่อสุขภาพและสมาธิ (กพ 54 ศูนย์ขทิรวัน)
ภาวนาซกเช็น เรียนรู้วัฒนธรรมพุทธแบบทิเบต (เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงปัจจุบัน เดือนละครั้ง ทุกวันอาทิตย์ที่ 2)
Past 2011 Activities
"Art Nature and Love" (January 2011 at Khadiravana Center)
"The Art of Happiness" Lecture by Ringu Tulku Rinpoche (February 2011 at the Buddhadasa
Indapanno Archives)
Green Tara Retreat by Ringu Tulku Rinpoche (February 2011 at Khadiravana Center)
Maghapuja Meditation and Yoga Retreat for Compassion and Health (February 2011 at Khadiravana Center)
Dzogchen Practice and Tibetan Culture Studies (on the second Sunday of every month from October 2010 to present)


ร่วมทำบุญหรือเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรม
กัลยาณมิตรที่มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมต่างๆและทำบุญในโครงการพระสถูปและอื่นๆ สามารถทำได้โดยติดต่อมูลนิธิโดยตรงตามอีเมล์1000tara@gmail.com และเบอร์โทรศัพท์ 087-8299-387, 084-535- 5433 หรือนัดหมายเพื่อพบปะกับอาจารย์กฤษดาวรรณ
Donation and Activity Sponsorship
Good friends on the path who would like to make donation, sponsor activities, and contribute to the Tara Great Stupa and other projects may contact the Foundation by e-mail at 1000tara@gmail.com or by phone at 087 8299 387 and 084 535 5433 or make an appointment with Dr. Krisadawan.
Update on the International Course on Jainism

Dear all,

This is to let you know that the deadline of application to the International Course on Jainism has been extended to April 8th and the registration fee of 1,000 baht has been waived. Please fill up the application form and send it to me at s.hongladarom@gmail.com or to Pramod Jain atjain_pm@hotmail.com. You can download all information about the course from this link: http://homepage.mac.com/soraj/Jainism_Course_Chula.pdf

Best wishes,
Soraj

Monday, February 28, 2011

กายกับใจ : วิถีธรรมชาติและจิตวิญญาณ

การประชุมและเสวนาเรื่อง “กายกับใจ : วิถีธรรมชาติและจิตวิญญาณ”

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 9.00-17.00 น.

ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จัดโดย มูลนิธิพันดารา และ ศูนย์จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน เริ่มมีความสนใจมากขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเพณีทางศาสนากับการแพทย์สมัยใหม่ ความสัมพันธ์นี้ปรากฏตัวออกมาในหลายรูปแบบ เช่น การค้นคว้าเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างคาสอนของประเพณีศาสนากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ หรือแนวทางที่ได้จากภูมิปัญญาหรือวิถีทางธรรมชาติและจิตวิญญาณในการบาบัดรักษา

ตัวอย่างของความสัมพันธ์นี้ เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับผลของการปฏิบัติสมาธิต่อสุขภาพ หรือต่อกระบวนการต่างๆของร่างกาย หรืองานวิจัยเกี่ยวกับผลของการถือศีลให้ทาน ต่อสุขภาพที่ดีมากขึ้นของผู้ปฏิบัติ แนวโน้มเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า จิตใจกับร่างกายไม่ใช่สิ่งที่แยกออกจากกัน แต่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งความคิดนี้ก็เป็นแก่นรากของคาสอนของศาสนาต่างๆ แต่ได้สูญหายไปจากจิตสานึกของผู้คนในโลกยุคใหม่ ที่ถูกหล่อหลอมให้เชื่อว่า จิตกับร่างกายแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด

การประชุมและเสวนาเรื่อง “กายกับใจ” นี้จัดขึ้นเพื่อแก้ไขจิตสานึกดังกล่าว คาถามที่สาคัญๆ ได้แก่ เราจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากประเพณีในพระพุทธศาสนาและของวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อนามาปฏิบัติในการดูแลสุขภาพตัวเอง และในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยในกรณีที่เราเป็นบุคลากรสาธารณสุข มีหลักการพื้นฐานอะไรที่จะทาให้เราเข้าใจได้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น ถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างจิตใจกับร่างกาย คาสอนของประเพณีทางศาสนาต่างๆ จะช่วยให้เราเข้าใจถึงความเชื่อมโยงกันนี้อย่างไร และช่วยในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างไร

การประชุมครั้งนี้จัดโดยมูลนิธิพันดารา อันเป็นองค์กรการกุศลที่มุ่งสร้างความเข้าใจระหว่างกันของพระพุทธศาสนาจากวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ไทยกับทิเบต และความเข้าใจกันของศาสนาต่างๆ รวมทั้งการบูรณาการการศึกษาวิจัยระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์ ภูมิปัญญาโบราณกับโลกสมัยใหม่
จานวนผู้เข้าร่วมประชุม
วิทยากร นักวิชาการ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป จานวนประมาณ 120 คน

รูปแบบการประชุม
บรรยายและเสวนา 45 – 60 นาที

อาหาร
ทางการประชุมจะมีอาหารว่างและเครื่องดื่มร้อน /เย็นบริการ ส่วนอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมประชุม
สามารถรับประทานได้ที่โรงอาหาร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ติดกับห้องประชุม

การลงทะเบียน
การประชุมนี้ไม่เก็บค่าลงทะเบียน แต่ขอให้ผู้สนใจ
ลงทะเบียนล่วงหน้าที่ Email: 1000tara@gmail.com
โทร. 087 829 9387, 084 535 5433 โทรสาร 02 52 8308
ภายในวันที่ 12 มีนาคม 2554

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกายกับใจในมิติต่างๆ

2. เพื่อเสนอแนวทางในการบาบัดรักษาและในการดารงชีวิตโดยเน้นการประสานระหว่างกายกับใจ

3. เพื่อสร้างกระแสสานึกเกี่ยวกับความสาคัญของภูมิปัญญาโบราณในโลกสมัยใหม่

4. เพื่อส่งเสริมให้มีการค้นคว้าวิจัยในหัวข้อนี้มากขึ้น

5. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการในหลากหลายสาขา นักคิด ผู้ปฏิบัติธรรม และบุคคลทั่วไป
กำหนดการ

9.00 น. พิธีเปิด

9.05 น. รายงานกิจกรรมของมูลนิธิพันดารา

9.10 น. กายกับใจในมุมมองของพระพุทธศาสนาเซ็นแบบจีน

อ. เศรษฐพงษ์ จงสงวน (นักวิชาการอิสระด้านพุทธศาสนามหายาน)

10.10 น. การดูแลเด็กป่วยระยะสุดท้าย รศ. นพ. อิศรางค์ นุชประยูร
(คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิสายธารแห่งความหวัง)

11.00 น. พัก

11.15 น. เยียวยากายกับใจจากมุมมองของทิเบต

รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ (มูลนิธิพันดารา)

12.00 น. พักอาหารกลางวัน

13.00 น. วิถีธรรมชาติในการบาบัดรักษาและดูแลตนเอง อ. นิดดา หงษ์วิวัฒน์ (สานักพิมพ์แสงแดด)

14.00 น. เรื่องของกายกับใจโดยผ่านกระบวนการไดอะล็อค

ผศ. ดร. ปาริชาด สุวรรณบุบผา (รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล)

15.00 น. พักดื่มชากาแฟ

15.30 น. ประสบการณ์จริง การดูแลกายกับใจ อ. ทวีศักดิ์ คุรุจิตธรรม

(อดีตอาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

16.15 น. โยคะกับการทาความเข้าใจชีวิต อ. ธนวัชร์ เกตน์วิมุต (ชีวิตสิกขา : เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต) 17.00 น. จบการประชุม