Wednesday, January 30, 2008

Detail of Activities

The Thousand Stars Foundation

2008

3 February 2008
Talk on “Pilgrimage to Mt. Kailash” by Dr. Andy Lowe,
Foundation House, Ladprao

11-12 January 2008
Guru Rinpoche Retreat and Guru Rinpoche Empowerment by
His Eminence Lhasray Rinpoche, Tara Khadiravana
Retreat Center, Hua-Hin

10 January 2008
Stone Foundation Laying Ceremony of the Tara Great
Stupa for Peace and Harmony, Tara Khadiravana Retreat
Center, Hua-Hin

2007

13 December 2007
Twenty One Taras Empowerment by HH Phakchok Rinpoche,
Mahachulalongkorn Building, Chulalongkorn University

12-13 December 2007
Teaching on “Mind Training and How to Develop
Compassion in Everyday Living” by HH Phakchok
Rinpoche, Mahachulalongkorn Building, Chulalongkorn
University

29 November 2007
Talk on “Retreat and Mind Training: How Lay People
Could Integrate Them into Daily Living, by Ven.
Phakchok Rinpoche, Foundation House, Ladprao

28 November 2007
White Tara Empowerment by Ven. Ringu Tulku Rinpoche,
Tara Khadiravana Retreat Center, Hua-Hin

27 November 2007
Dharma Talk on “Meditation as an antidote for
depression,” by Ven. Ringu Tulku Rinpoche,
Boromrajakumari Building, Faculty of Arts,
Chulalongkorn University

25 November 2007
Talk on “Introduction to Tibetan Buddhism” by Dr.
Krisadawan Hongladarom, Foundation House, Ladprao

11 November 2007
Talk on “Shantideva’s Guide to the Bodhisattva’s Way
of Life” by Dr. Soraj Hongladarom, Foundation House,
Ladprao

3 November 2007
White Tara Retreat by Dr. Krisadawan Hongladarom, Tara
Khadiravana Retreat Center, Hua-Hin

13 October 2007
Seminar on “Weaving Art through Peace: Tibetan and
Himalayan Arts and Culture,” Mahachulalongkorn
Building, Chulalongkorn University

12 September 2007
Talk on “Three Hundred Years of Buddhism in Russia” A
Special Lecture in Commenmoration of One Hundred and
Ten Years of Thai-Russian Relations, by Professor
Andrey Terentyev, Boromrajakumari Building,
Chulalongkorn University.

19-20 August 2007
Conference on “Happiness in Modern Society: Dialogs
between Science and Spirituality,” Mahachulalongkorn
Building, Chulalongkorn University

11 August 2007
Talk on “Prostration Experience in Tibet of a Thai
Yogini,” by Dr. Krisadawan Hongladarom, Contemplative
Education Center, Mahidol University

22 July 2007
Seminar on "Tibetan Medicine and the Human Side of
Cancer,” by Dr. Tsedor Nyarongsha and Dr. Noppadol
Sopharatanaphaisarn, Mahachulalongkorn Building,
Chulalongkorn University

2 March 2007
Seminar on "Tibetan Medicine and Good Health" by Dr.
Lobsang Rabgay (UCLA), Dr. Dickey Nyarongsha
(Nyarongsha Institute for Medicine and Culture),
Mahachulalongkorn Building, Chulalongkorn University

28 January 2007
White Tara Empowerment by Ven. Kandroma Palden
Chotsho, Mahachulalongkorn Mahachulalongkorn Building,
Chulalongkorn University

27-28 January 2007
Conference and Training on Amitabha Buddha and Tibetan
Mindfulness of Death, Mahachulalongkorn Building,
Chulalongkorn University


2006

17 December 2006
Amitayus Empowerment by His Eminence Mongyal Lhasray
Rinpoche, Rai Rak Dharma-chart, Hua-Hin

10 December 2006
Chenrezig Empowerment by Ven. Kunga Sangbo Rinpoche,
Rai Rak Dharma-chart, Hua-Hin

7-9 December 2006
International Conference on "Body and Mind:
Perspectives from Science and Religion,”
Mahachulalongkorn Building, Chulalongkorn University

7 December 2006
Talk on "Bon and Dzogchen: Towards Enlightened Mind"
by Latri Geshe Nyima Dakpa Rinpoche, Mahachulalongkorn
Building, Chulalongkorn University

13 November 2006
Special Talk on "Dharmodynamics" by Dr. Vutthipong
Priebjariyawat, Boromrajakumari Building,
Chulalongkorn University

27 May 2006
Training on “Manjushri and How to Cultivate Wisdom”
and Manjushri Empowerment by Ven. Kunga Sangbo
Rinpoche, Arts 4 Building, Chulalongkorn University

21 January 2006
Conference on “Bodhisattva in the Contemporary World,”
Boromrajakumari Building, Chulalongkorn University

2005

24-25 December 2005
Training on “Bardo: Tibetan Mindfulness of Death” by
Sonam Topgyal Rinpoche, Chulalongkorn University
(organized with the Riwoche Dharma Institute)

19 December 2005
Talk on “Emptiness and Interdependence by Geshe
Damdul Namgyal (Central Institute of Higher Tibetan
Studies, India) (Organized with the International
Engaged Buddhism)

7 December 2005
Talk on "A Brief History of Tibet" by Professor
Thubten Phuntshok, Sasanives House, Chulalongkorn
University

21-23 August 2005
21 Taras Empowerment by Ven. Kunga Sangbo Rinpoche,
Tara Shrine Room, 1000 Stars Foundation House,
Nonthaburi

6-13 April 2005
Pilgrimage to Lhasa and Central Tibet

March 2005
Medicine Buddha Empowerment by Ven. Sonam Topgyal, Wat
Songthamkalayani, Nakorn Prathom

January 2005
White Tara Empowerment by Ven. Kandroma Palden
Chotsho, Wat Songthamkalayani, Nakorn Prathom


2004

19-20 August 2004
Conference on “Dream and Spirituality: Perspectives
from Religion and Science, Mahachulalongkorn Building,
Chulalongkorn University. Organized with the Metanexus
Institute, USA and the ASEAN-EU Lemlife, Faculty of
Arts, CU.

November 2004
Exhibition “On the Roof of the World,” Boromrajakumari
Building, Chulalongkorn University


2003

17-18 November 2003
Conference on “Death and Dying: Perspectives from
Religion and Science,” Mahachulalongkorn Building,
Chulalongkorn University. Organized with the Metanexus
Institute, USA and the ASEAN-EU Lemlife, Faculty of
Arts, CU.

Andy Lowe to talk about Mount Kailash

The next Thousand Stars Lecture Series will feature Dr. Andy Lowe who will speak to us about his recent trip to the Kailash Mountain in western Tibet. Mount Kailash, known in Tibetan as "Kang Rinpoche," or the Precious Snow Mountain, is one of the most spiritually potent places in the world, and is the source of three of Asia's greatest rivers--the Indus, the Ganges and the Brahmaputra. Andy will also talk with us about how to prepare for a trip to the mountain and how to manage the effects of trekking in high altitude.

The talk will take place on Sunday, 3 February 2008 from 13:30 to 15:30 hours at the Thousand Stars House, 695, Soi 11, Ladprao Road, near Carrefour Ladprao.

For more information please read Andy's own account on the trip.

Thursday, January 24, 2008

คำถาม คำตอบเกี่ยวกับงานสร้างพระศานติตารามหาสถูป

1
ในขณะที่ชาวพุทธส่วนใหญ่ในเมืองไทยดำรงชีวิตนับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท
เหตุใดทางมูลนิธิจึงมีความคิดริเริ่มที่จะสร้างพระสถูปแบบมหายานหรือแบบทิเบตขึ้นมาในประเทศไทย

เพราะมูลนิธิพันดาราไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างนิกายเถรวาทกับนิกายมหายานหรือวัชรยานในพระพุทธศาสนา นิกายเหล่านี้ล้วนเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า การสร้างสถูปแบบทิเบตหรือเจดีย์แบบไทยจึงเป็นการธำรงธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ให้สิ้นสูญ เป็นการเสริมพรของพระพุทธเจ้าให้กับจักรวาลเพื่อการขจัดกิเลสทั้งหลายให้สิิ้นไปและเพื่อสันติสุขของสัตว์โลก และเนื่องจากมูลนิธิพันดาราประกอบด้วยบุคคลที่ผูกพันกับประเพณีพุทธศิลป์ของทิเบต และมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับพระอาจารย์หลายท่านของทิเบต การสร้างพระสถูปแบบทิเบตซึ่งมีความงดงาม และเป็นที่สร้างกันอยู่ทั่วโลกจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมยิ่งนักบนผืนแผ่นดินไทย อันเป็นดินแดนที่ได้รับพรจากพระพุทธเจ้ามาเป็นเวลาช้านาน

2
จุดประสงค์ของการมีพระสถูปแบบมหายานกับพระสถูปหรือเจดีย์แบบเถรวาทของไทย
มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

จุดประสงค์เหมือนกัน วิธีสร้างก็เหมือนกันคือใช้ธาตุทั้งห้า (ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศธาตุ) อันมีอยู่ในธรรมชาติในการสร้าง ทัศนคติในการสร้างของผู้สร้างก็เหมือนกันคือการสะสมบุญบารมีเพื่อประโยชน์ทั้งในชาติภพนี้และชาติภพหน้า ผลของการสร้างก็ยังเหมือนกันคือเพื่อประโยชน์ให้สัตว์ทั้งหลายได้เข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณกลายเป็นพระพุทธเจ้า สิ่งที่ต่างคือวิธีสร้างเนื่องจากวัฒนธรรมและประเพณีพุทธศิลป์ต่างกัน

3
เหตุใดจึงมีความจำเป็นที่เราควรช่วยกันมีส่วนร่วมสร้างศาติตารามหาสถูป ในขณะที่เราสามารถเลือกบริจาคเงินตามศรัทธาให้แก่วัดต่างๆในเมืองไทย

การหล่อพระ การพิมพ์คัมภีร์พระไตรปิฎก การสร้างเจดีย์ ตลอดจนการดูแลพระสงฆ์ในประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญ การให้ความช่วยเหลือฆราวาสในสังคมไม่ว่าพวกเขาจะเป็นชาวพุทธหรือไม่ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน แม้ว่าภัทรกัลป์ตาราขทิรวัณจะไม่ใช่วัดที่มีภิกษุหรือภิกษุณีจำพรรษาอยู่เป็นประจำ แต่ก็เป็นสถานปฏิบัติธรรมสำคัญที่ทำให้ผู้คนได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้า ได้ปฏิบัติจำศีลภาวนาเพื่อให้ได้เข้าถึงสันติสุขในใจ อันจะนำมาซึ่งสันติสุขในสังคม การบริจาคเงินเพื่อสร้างพระศานติตารามหาสถูปนอกจากจะเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการทำงานเพื่อสันติภาพและสันติสุขของสัตว์โลกอีกด้วย

4
เหตุใดทางมูลนิธิจึงเลือกที่จะใช้เงินจำนวนมากไปในการสร้างพระสถูปซึ่งเป็นนามธรรม
แทนการช่วยเหลือเด็กสามเณรีในทิเบตซึ่งดูเป็นรูปธรรมมากกว่า

มูลนิธิมีโครงการหลากหลาย แม้ว่าจะรับภาระหนักในการสร้างพระศานติตารามหาสถูป มูลนิธิก็ยังคงให้ความช่วยเหลือเด็กกับสามเณรีในทิเบตอยู่เช่นเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา มูลนิธิยังให้ความช่วยเหลือชาวทิเบตเพิ่มขึ้นโดยเพิ่มโครงการการให้ความช่วยเหลือพระภิกษุจำศึีล 3 ปี 3 เดือน 3 วันทั้งในทิเบตและอินเดีย นอกจากนี้ มูลนิธิยังคงจัดประชุมวิชาการและการอบรมในด้านต่างๆที่เกี่ยวโยงกับจิตวิญญาณและสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มูลนิธิเชื่อว่าการงานทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นการสร้างวัตถุมงคลและสถานศักดิ์สิทธิ์อันเป็นสิ่งแทนกาย วาจา ใจของพระพุทธเจ้า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเพื่อนมนุษย์ทั้งในไทยและทิเบต หรือการให้ความรู้เป็นวิทยาทานล้วน แต่เป็นการงานที่สำคัญที่จะทำให้มนุษย์ได้ใช้ศักยภาพของความเป็นมนุษย์อย่างคุ้มค่าเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น

5
ในการสร้างพระสถูปนั้นชาวพุทธในเมืองไทย และผู้ที่มีส่วนร่วมในการบริจาคเงินสร้างพระศานติตารามหาสถูปจะได้ประโยชน์หรืออานิสงส์ในด้านใดบ้าง

ผู้มีึความเชื่อในกฎแห่งกรรม ผู้มีจิตศรัทธาในการทำบุญ ผู้มีส่วนร่วมในการทำงานพระสถูป ผู้มีความปีติยินดีในการทำงานนี้ทัั้งหลายล้วนได้ประโยชน์จาการสร้างพระสถูปทั้งทางโลกและทางธรรม ในทางโลก ชึวิตของพวกเขามีความสุขขึ้น มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยลง บริเวณที่พวกเขาอยู่ประสบภัยพิบัติน้อยลง ในทางธรรม พวกเขาได้อานิสงส์อันน้อมนำให้ได้เกิดใหม่ในภพภูมิสูงและให้ได้ตรัสรู้ธรรมโดยเร็ว นอกจากนี้ การสร้างพระสถูปยังเป็นการเสริมพลังทางบวกและโชคลาภต่อสังคม ประเทศ และต่อโลก ดังที่เราได้เห็นตัวอย่างอันงดงามของผู้สร้างพระสถูปโพธนาถที่ประเทศเนปาล แม้ว่าพวกเขาจะเป็นเพียงครอบครัวคนเลี้ยงไก่ แต่ด้วยความเพียร ศรัทธามั่นในพระพุทธศาสนา และความเชื่ออย่างไม่สั่นคลอนถึงอานิสงส์ของพระสถูป พวกเขาก็สามารถสร้างพระสถูปจนสำเร็จ พระสถูปนี้ได้กลายเป็นปูชนียสถานสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่ชาวพุทธเดินประทักษิณาวรรต เพื่อน้อมนำใจให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ด้วยผลบุญจากการสร้างพระสถูป บุตรชาย 3 คนในครอบครัวชาวนาเมื่อตายไปได้ไปเกิดใหม่เป็นพระคุรุ ริมโปเช กษัติรย์ตรีซง เตเซ็น และพระศานติรักษิตะ ผู้เผยแผ่คำสอนวัชรยานในทิเบต

6
เนื่องจากขทิรวัณเป็นสถานปฎิบัติธรรมของฆราวาสไม่มีพระสงฆ์หรือลามะเหล่านี้ จะทำให้ความศักดิ์สิทธิ์หรือความสำคัญของพระศานติตารามหาสถูปลดน้อยลงหรือไม่เมื่อเทียบกับสถานที่อื่นๆ
หากเป็นเช่นนั้นแล้วใครจะเป็นพระอาจารย์ผู้ดูแลพระสถูปหรือประกอบพิธีต่าๆ

ความสำคัญไม่ลดน้อยลง เพราะศูนย์ปฏิบัติธรรมนี้ไม่ใช่ของผู้มีทัศนคติทางโลก แต่เป็นของมูลนิธิที่มีปณิธานที่จะดำเนินงานตามวิถีแห่งพระโพธิสัตว์เพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในการทำพิธีต่างๆ ตลอดจนการบรรยายธรรม มูลนิธิพันดาราจะเชิญพระอาจารย์ในสายต่างๆมาเมืองไทย นอกจากนี้ อาจารย์กฤษดาวรรณ ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับประเพณีของทิเบต และการปฏิบัติวัชรยานและเป็นผู้ดูแลศูนย์ปฏิบัติธรรมขทิรวัณยังทำหน้าที่เป็นครูทางธรรมอีกคนหนึ่งด้วย


7
นอกจากการได้เข้าไปกราบไหว้พระพุทธรูปและพระแม่ตาราแล้ว ผู้มาสักการะสามารถทำกิจกรรมทางศาสนาด้านใดได้อีกบ้างภายในพระสถูป

ผู้มาสักการะบูชาสามารถนั่งสมาธิภายในวิหาร เดินรอบพระสถูป หมุนกงล้อมนตร์ที่ฐานพระสถูป ร่วมถวายเครื่องบูชาพระสถูปประจำปี และตั้งจิตอธิษฐานให้เกิดสันติภาพบนโลก ให้สัตว์ทั้งหลายได้ยินพระธรรม และเข้าถึงการตรัสรู้โดยเร็ว

8
ในการสร้างศานติตารามหาสถูปนั้นใครจะเป็นผู้ดูแล
และทางมูลนิธิมีการวางแผนทางการ
ขอเงินทุนสร้างพระสถูปอย่างไรบ้างทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

มูลนิธิพันดาราเป็นผู้ประสานงาน ผู้สร้างคือบุคคลและหน่ายงานต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ผู้สร้างเหล่านี้มีปณิธานที่จะจรรโลงสันติภาพของโลก เป็นผู้ทำงานเพื่อสันติสุขของสัตว์โลกทั้งหกภพภูมิ ผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่ มีปณิธานในการสร้างสถูปเพื่อความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม ผู้ได้ประโยชน์จากการสร้างพระสถูปคือสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าเขาจะได้เห็น ได้ยิน ได้ระลึกถึงพระสถูป หรือได้มาสักการะบูชาพระสถูปด้วยตัวเอง หัวใจหลักคือพระสถูปไม่ใช่ของลามะท่านใดท่านหนึ่ง ไม่ใช่ของมูลนิธิพันดารา ไม่ใช่ของผู้บริจาคเงินคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของสัตว์โลกทั้งหลาย การหาเงินมีทัั้งการจัดกิจกรรมต่างๆที่มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ การเรี่ยไรทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธา และการขอทุนจากมูลนิธิและองค์กรต่างๆ กิจกรรมที่จะจัดนอกจากจะเป็นการหาทุนแล้วยังเป็นโอกาสที่มูลนิธิจะได้ทำสิ่งดีๆให้สังคมอีกด้วย

9
ทำไมทางมูลนิธิจึงระบุให้พระสถูปมีฐานกว้าง 30 เมตรและความสูง 60 เมตร
ซึ่งหากทำขนาดที่เล็กว่าน่าจะใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า

ทางมูลนิธิไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์สำหรับแต่ละคนหรือประโยชน์แต่เพียงประเทศไทย แต่มูลนิธิคำนึงถึงสันติภาพและสันติสุขของสัตว์โลก และมีปณิธานที่จะสร้างพระสถูปที่จะธำรงอยู่จนกว่าสังสารวัฏจะสิ้นสูญ จึงต้องการสร้างพระมหาสถูปที่ใหญ่ที่สุด งดงามที่สุด ผู้ใดก็ํตามที่เห็นแล้วเกิดแรงบันดาลใจในการปฏิบัติธรรมและการดำรงชีวิตที่จะกระทำแต่ความดี เกิดความประทับใจในพุทธศิลป์แบบทิเบตอันเป็นมรดกของโลก พระมหาสถูปที่จะสร้างจึงเป็นเช่นพระปฐมเจดีย์ หรือพระสถูปโพธนาถหรือสวายัมภูนาถในเนปาลที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านพ้นไปนานเพียงไรก็ยังสถิตย์อยู่ในใจของสาธุชนเสมอ นอกจากนี้พระมหาสถูปเช่นนี้ยังเป็นแรงดึงดูดให้ผู้คนมาเยี่ยมชมอันจะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวอีกด้วย