Monday, February 28, 2011

กายกับใจ : วิถีธรรมชาติและจิตวิญญาณ

การประชุมและเสวนาเรื่อง “กายกับใจ : วิถีธรรมชาติและจิตวิญญาณ”

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 9.00-17.00 น.

ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จัดโดย มูลนิธิพันดารา และ ศูนย์จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน เริ่มมีความสนใจมากขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเพณีทางศาสนากับการแพทย์สมัยใหม่ ความสัมพันธ์นี้ปรากฏตัวออกมาในหลายรูปแบบ เช่น การค้นคว้าเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างคาสอนของประเพณีศาสนากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ หรือแนวทางที่ได้จากภูมิปัญญาหรือวิถีทางธรรมชาติและจิตวิญญาณในการบาบัดรักษา

ตัวอย่างของความสัมพันธ์นี้ เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับผลของการปฏิบัติสมาธิต่อสุขภาพ หรือต่อกระบวนการต่างๆของร่างกาย หรืองานวิจัยเกี่ยวกับผลของการถือศีลให้ทาน ต่อสุขภาพที่ดีมากขึ้นของผู้ปฏิบัติ แนวโน้มเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า จิตใจกับร่างกายไม่ใช่สิ่งที่แยกออกจากกัน แต่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งความคิดนี้ก็เป็นแก่นรากของคาสอนของศาสนาต่างๆ แต่ได้สูญหายไปจากจิตสานึกของผู้คนในโลกยุคใหม่ ที่ถูกหล่อหลอมให้เชื่อว่า จิตกับร่างกายแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด

การประชุมและเสวนาเรื่อง “กายกับใจ” นี้จัดขึ้นเพื่อแก้ไขจิตสานึกดังกล่าว คาถามที่สาคัญๆ ได้แก่ เราจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากประเพณีในพระพุทธศาสนาและของวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อนามาปฏิบัติในการดูแลสุขภาพตัวเอง และในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยในกรณีที่เราเป็นบุคลากรสาธารณสุข มีหลักการพื้นฐานอะไรที่จะทาให้เราเข้าใจได้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น ถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างจิตใจกับร่างกาย คาสอนของประเพณีทางศาสนาต่างๆ จะช่วยให้เราเข้าใจถึงความเชื่อมโยงกันนี้อย่างไร และช่วยในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างไร

การประชุมครั้งนี้จัดโดยมูลนิธิพันดารา อันเป็นองค์กรการกุศลที่มุ่งสร้างความเข้าใจระหว่างกันของพระพุทธศาสนาจากวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ไทยกับทิเบต และความเข้าใจกันของศาสนาต่างๆ รวมทั้งการบูรณาการการศึกษาวิจัยระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์ ภูมิปัญญาโบราณกับโลกสมัยใหม่
จานวนผู้เข้าร่วมประชุม
วิทยากร นักวิชาการ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป จานวนประมาณ 120 คน

รูปแบบการประชุม
บรรยายและเสวนา 45 – 60 นาที

อาหาร
ทางการประชุมจะมีอาหารว่างและเครื่องดื่มร้อน /เย็นบริการ ส่วนอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมประชุม
สามารถรับประทานได้ที่โรงอาหาร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ติดกับห้องประชุม

การลงทะเบียน
การประชุมนี้ไม่เก็บค่าลงทะเบียน แต่ขอให้ผู้สนใจ
ลงทะเบียนล่วงหน้าที่ Email: 1000tara@gmail.com
โทร. 087 829 9387, 084 535 5433 โทรสาร 02 52 8308
ภายในวันที่ 12 มีนาคม 2554

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกายกับใจในมิติต่างๆ

2. เพื่อเสนอแนวทางในการบาบัดรักษาและในการดารงชีวิตโดยเน้นการประสานระหว่างกายกับใจ

3. เพื่อสร้างกระแสสานึกเกี่ยวกับความสาคัญของภูมิปัญญาโบราณในโลกสมัยใหม่

4. เพื่อส่งเสริมให้มีการค้นคว้าวิจัยในหัวข้อนี้มากขึ้น

5. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการในหลากหลายสาขา นักคิด ผู้ปฏิบัติธรรม และบุคคลทั่วไป
กำหนดการ

9.00 น. พิธีเปิด

9.05 น. รายงานกิจกรรมของมูลนิธิพันดารา

9.10 น. กายกับใจในมุมมองของพระพุทธศาสนาเซ็นแบบจีน

อ. เศรษฐพงษ์ จงสงวน (นักวิชาการอิสระด้านพุทธศาสนามหายาน)

10.10 น. การดูแลเด็กป่วยระยะสุดท้าย รศ. นพ. อิศรางค์ นุชประยูร
(คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิสายธารแห่งความหวัง)

11.00 น. พัก

11.15 น. เยียวยากายกับใจจากมุมมองของทิเบต

รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ (มูลนิธิพันดารา)

12.00 น. พักอาหารกลางวัน

13.00 น. วิถีธรรมชาติในการบาบัดรักษาและดูแลตนเอง อ. นิดดา หงษ์วิวัฒน์ (สานักพิมพ์แสงแดด)

14.00 น. เรื่องของกายกับใจโดยผ่านกระบวนการไดอะล็อค

ผศ. ดร. ปาริชาด สุวรรณบุบผา (รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล)

15.00 น. พักดื่มชากาแฟ

15.30 น. ประสบการณ์จริง การดูแลกายกับใจ อ. ทวีศักดิ์ คุรุจิตธรรม

(อดีตอาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

16.15 น. โยคะกับการทาความเข้าใจชีวิต อ. ธนวัชร์ เกตน์วิมุต (ชีวิตสิกขา : เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต) 17.00 น. จบการประชุม

Tuesday, February 1, 2011

มาฆบุชาภาวนา

มาฆบูชาภาวนา
ภาวนาเพื่อบ่มเพาะความกรุณา

ฝึกโยคะเพื่อสุขภาพและสมาธิ
17-20 กุมภาพันธ์ 2554 (3 คืน 4 วัน)
ณ ศูนย์ขทิรวัน หัวหิน

…ขอเชิญกัลยาณมิตรบำเพ็ญบุญกุศลเนื่องในวันมาฆบูชา ด้วยการปฏิบัติบูชาพระแม่ตารา พระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา สวดมนตราประจำพระองค์ร่วมกัน 100,000 จบ ละอกุศลกรรมทางกาย วาจา ใจ 10 ประการ (ด้วยการถือศีลทิเบต 10) ปฏิบัติโยคะภาวนาเพื่อสุขภาพและสมาธิ และร่วมเวียนเทียนถวายดวงประทีป 505 ดวง ณ บริเวณก่อสร้างพระศานติตารามหาสถูป เจดีย์แบบทิเบตซึ่งสร้างขึ้นโดยเน้น “โพธิจิต” จิตอธิษฐานเพื่อให้สัตว์โลกเข้าถึงการตรัสรู้

ความเป็นมา
วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดง “โอวาทปาติโมกข์” อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา และเป็นวันมหัศจรรย์เนื่องจากพระอรหันต์ 1,250 รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
มูลนิธิพันดาราได้จัดงานมาฆบูชาภาวนาเป็นประจำทุกปีโดยเน้นการปฏิบัติเพื่อบ่มเพาะคุณธรรมเรื่องความเมตตากรุณาถวายเป็นพุทธบูชา ณ ศูนย์ขทิรวัน ซึ่งเป็นธรรมาศรมในพระพุทธศาสนาอุทิศแด่พระโพธิสัตว์ตารา ผู้เป็นบุคลาธิษฐานแทนพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า ในปีนี้ทางมูลนิธินอกจากจะจัดให้มีการปฏิบัติบูชาพระแม่ตาราและการเวียนเทียนใหญ่ที่บริเวณพระมหาสถูปแล้ว ยังจัดให้มีการสอนโยคะเพื่อการภาวนาอีกด้วย

อาหาร-ที่พัก
ทางมูลนิธิจะให้บริการอาหารมังสะวิรัติ ผลไม้ อาหารว่าง และเครื่องดื่มร้อน/เย็น ตลอดช่วงภาวนา และจะจัดที่พักเป็นเต้นท์เดี่ยว เต้นท์รวม และศาลาซึ่งมีมุ้งลวดกันยุง ที่ศูนย์มีห้องอาบน้ำ ห้องน้ำอย่างดี และศาลาพักผ่อนในตอนกลางวันไว้บริการ

การเดินทางไปศูนย์ขทิรวัน
- เดินทางทางรถตู้ที่มูลนิธิจัดให้ ค่ารถไปกลับ 500 บาท
- ไปโดยรถยนต์ส่วนตัว (สามารถขอรับแผนที่ได้ทางอีเมล์)
- เดินทางโดยรถตู้ที่อนุสาวรีย์ชัยไปลงที่หัวหิน จากสถานีรถตู้ นั่งรถสองแถวไปลงหน้าศูนย์ (แต่เนื่องจากกิจกรรมนี้เริ่มช่วงเย็น ตั้งแต่บ่ายสามโมง จะไม่มีรถสองแถวให้บริการ)

การลงทะเบียน
ผู้สนใจกรุณาลงทะเบียนที่ 1000tara@gmail.com โทร 0878299387

บริจาคร่วมกิจกรรม 500-2000 บาทเพื่อเป็นค่าจ้างแม่ครัวและผู้ช่วย ค่าวัสดุอาหาร ค่าแรงคนงาน และค่าสาธารณูปโภค

อาจารย์ผู้นำภาวนา
รศ.ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมทิเบต ผู้จาริกแสวงบุญด้วยการกราบอัษฎางคประดิษฐ์ในทิเบต อาจารย์สอนธรรมะโดยได้รับมอบคำสอนจากพระอาจารย์ในหลายนิกายในพุทธวัชรยาน

อาจารย์ผู้สอนโยคะ: ครูดล (ธนวัช เกตุวิมุติ) จากเครือข่ายชีวิตสิกขา

กำหนดการ
วันที่หนึ่ง : พฤหัสบดีที่ 17 กพ.
16.00 น. เดินทางถึงศูนย์ขทิรวัน รับคู่มือปฏิบัติ เตรียมภาวนา
17.00 น. รับประทานอาหารเย็น
19.00 น. กิจกรรมปรับทัศนคติ “เริ่มต้นที่จุดจบ”
20.00 น. โยคะภาวนา
21.00 น. นั่งสมาธิ
22.00 น. เข้านอน

วันที่สอง : ศุกร์ที่ 18 กพ. (วันมาฆบูชา)
4.00 น. ตื่นนอน ดื่มน้ำปานะ
4.30 น. นั่งสมาธิ
5.30 น. ทำวัตรเช้า กราบอัษฎางคประดิษฐ์
6.00 น. เดินทำสมาธิ
7.00 น. โยคะภาวนา
8.00 น. รับประทานอาหารเช้า
9.00 น. โยคะภาวนา
10.00 น. ฟังบรรยายเรื่อง “การบ่มเพาะความกรุณา”
11.00 น. พิธีรับศีล 10 ทิเบตและอ่านพระสูตรร่วมกัน
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. สวดมนตรา
15.00 น. โยคะภาวนา
15.30 น. ดื่มน้ำปานะ
16.00 น. นั่งสมาธิ
17.30 น. รับประทานอาหารเย็น
18.30 น. ทำวัตรเย็น เดินเวียนเทียน ถวายดวงประทีปที่บริเวณก่อสร้างพระมหาสถูป
20.00 น. โยคะภาวนา
21.00 น. นั่งสมาธิ
22.00 น. เข้านอน

วันที่สาม : เสาร์ที่ 19 กพ.
4.00 น. ตื่นนอน ดื่มปานะ
4.30 น. นั่งสมาธิ
5.30 น. ทำวัตรเช้า กราบอัษฎางคประดิษฐ์
6.00 น. เดินทำสมาธิ
7.00 น. โยคะภาวนา
8.00 น. รับประทานอาหารเช้า
9.00 น. ปฏิบัติตามบทสาธนะและสวดมนตรา
10.30 น. โยคะภาวนา
11.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. สวดมนตรา
14.30 น. โยคะภาวนา
15.30 น. ดื่มน้ำปานะ
16.00 น. สวดมนตรา
17.30 น. รับประทานอาหารเย็น
19.00 น. ทำวัตรเย็น
19.30 น. โยคะภาวนา
20.30 น. พิธีอุทิศแก่ผู้ล่วงลับและสวดมนตราดับทุกข์โศกของสัตว์โลก
21.00 น. นั่งสมาธิ
22.00 น. เข้านอน

วันที่สี่ : อาทิตย์ที่ 20 กพ.
4.00 น. ตื่นนอน
4.30 น. นั่งสมาธิ
5.30 น. ทำวัตรเช้า กราบอัษฎางคประดิษฐ์
6.00 น. เดินทำสมาธิ
7.00 น. โยคะภาวนา
7.30 น. รับประทานอาหารเช้า
9.00 น. ปฏิบัติตามบทสาธนะ
9.30 น. สวดมนตรา
10.30 น. โยคะภาวนา
11.30 น. แบ่งปันประสบการณ์
12.30 น. พิธีลาศีล อุทิศบุญกุศลร่วมกัน
12.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน
14.00 น. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

การปฏิบัติเพื่อบ่มเพาะความกรุณา
หัวใจหลักของการปฏิบัติธรรมคือการบ่มเพาะปัญญาและกรุณาซึ่งเป็นคุณงามความดีในจิตใจของเรา ปราศจากคุณธรรมทั้งสอง เราไม่สามารถเข้าถึงความสุขที่ยั่งยืนตรัสรู้ธรรมและช่วยเหลือสัตว์โลกได้

ในพุทธวัชรยานมีหลายวิธีในการบ่มเพาะความกรุณา วิธีหนึ่งคือการปฏิบัติบูชาพระโพธิสัตว์ตารา พระองค์ทรงตั้งปณิธานที่จะดำรงอยู่ในสังสารวัฏจนกว่าสัตว์โลกชีวิตสุดท้ายจะเข้าถึงการหลุดพ้น

ในการบ่มเพาะความกรุณา เราจะฝึกจิตของเราให้เป็นจิตแบบเดียวกับพระองค์ ด้วยการนั่งสมาธิ สวดมนตร์ และบริกรรมมนตราแห่งความกรุณาซึ่งนอกจากจะทำให้จิตสงบ ผ่องใส มีสันติสุขแล้ว ยังให้อานิสงส์ทั้งทางโลกและทางธรรม

โยคะ กับการภาวนา
ศาสตร์เพื่อการฝึกฝนให้จิตเป็นสมาธิ เพื่อความสุขอันแท้จริง จิตสงบได้แม้กายยังคงเคลื่อนไหว ทั้งยังส่งผลดีต่อสุขภาวะของร่างกาย พัฒนาระบบย่อยอาหารและขับถ่าย เสริมสร้างกล้ามเนื้อชั้นในให้แข็งแรง กระตุ้นการไหลเวียนของกระแสโลหิต จัดปรับแนวกระดูกสันหลังให้สมดุล ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย สบายจากการฝึกโยคะที่ถูกวิธีตามตำราโบราณ
หัวข้อในการฝึกปฏิบัติ :
·เทคนิคการบริหารข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อการเตรียมความพร้อม
·อาสนะ เพื่อพัฒนาความสมดุลของร่างกาย (Homeostasis และ Muscle Tone)
·เทคนิคการผ่อนคลายอย่างลึก สำหรับผู้มีปัญหานอนหลับยาก หรือหลับไม่สนิท
·เทคนิคการหายใจเพื่อขจัด ความเครียดและเอื้อให้จิตเป็นสมาธิได้ง่ายและรวดเร็วขี้น
·โยคะกับการภาวนา ฝึกโยคะด้วยความพยายามที่น้อยที่สุด เพื่อรับผลแห่งการภาวนาได้มากที่สุด