Wednesday, March 25, 2009

Announcement of the Foundation - Important

1. การบรรยายพันดาราของ อ. โสรัจจ​์ ที่กำหนดไว้ในวันเสาร์สุดท้ายของเดือนนี้ (28) ของด เพราะเดือนนี้มีกิจกรรมมากแล้ว

2. มูลนิธิพันดาราขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมงาน "พระไภษัชยคุรุ พระพุทธเจ้าหมอยา" ณ บ้านมูลนิธิพันดารา ซอยลาดพร้าว 11 วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2552 เวลา 8.30-15.30 น.

(The Thousand Stars Foundation would like to invite everyone to join the Teaching and Empowerment of Bhaisajyaguru, the Medicine Buddha at the Foundation House, 695 Ladprao 11, Bangkok, on Sunday, March 29, 2009 from 8:30 to 15:30 hours.)

งานประกอบด้วยเสวนาพันดาราประจำเดือนมีนาคมเรื่อง "การปฎิบัติบูชาพระไภษัชยคุรุ" การซักถามเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาวัชรยาน และจบด้วยพิธีมนตราภิเษกพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า โดยพระอาจารย์กุงกา ซังโป ริมโปเช

(The event will consist of the Pandara talk for March on the topic of "Practicing the Medicine Buddha", including discussions about Vajrayana Buddhism and concluding with an Empowerment of Bhaisajyaguru Buddha by Ven. Kunga Sangbo Rinpoche.)

*ไม่เก็บค่าลงทะเบียน*

(No registration fees)

ตามที่มูลนิธิพันดาราได้จัดเสวนาและนิิทรรศการเกี่ยวกับการแพทย์ทิเบตพร้อมทั้งเปิดบ้านมูลนิธิให้คนไข้ได้เข้ารับการรักษาจากแพทย์ชาวทิเบตมาอย่างต่อเนื่อง ในโอกาสที่ท่าน กุงกา ซังโป ริมโปเชเดินทางมาประเทศไทย มูลนิธิถือเป็นนิมิตดีที่จะให้ท่านได้แสดงธรรมเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุ ผู้เผยแผ่คำสอนเกี่ยวกับการแพทย์ทิเบต และประกอบพิธีมนตราภิเษกเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านมูลนิธิ และแก่ผู้เข้าร่วมงานทุกท่านโดยเฉพาะผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบำบัดรักษา

(The Thousand Stars Foundation has arranged a number of talks and exhibits on Tibetan medicine as well as opened its house for practice by qualified doctors from Tibet. On the occasion of the visit to Thailand by Ven. Kunga Sangbo Rinpoche, this is an auspicious opportunity for him to talk about the dharma of Bhaisajyaguru Buddha, as well as performing an Empowerment to bless the Foundation House as well as all those participating, especially those who are suffering from various kinds of illnesses.)

กำหนดการ
8.30 น. ลงทะเบียน
9.00 น. เสวนาพันดาราเรื่อง "การปฏิบัติบูชาพระไภษัชยคุรุ"
10.15 น. พักรับประทานน้ำชาและอาหารว่าง
10.30 น. ซักถามเกี่ยวกับพระไภษัชยคุรุ การปฏิบัติธรรมตามแนวพุทธทิเบต
11.45 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกันและสนทนาธรรมตามอัธยาศัย (ในระหว่างนี้พระอาจารย์จะสวดมนตร์ "วังดรุบ" เพื่อขอพรก่อนทำพิธี)
13.30 น. พิธีมนตราภิเษกพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า
15.30 น. เสร็จพิธี

Program
8:30 Registration
9:00 Pandara Talk: "Practicing the Medicine Buddha"
10:15 Tea break
11:45 Q&A session: Bhaisajyaguru Buddha and Tibetan Buddhism in general

13:30 Empowerment of Medicine Buddha
15:30 Empowerment ends

หมายเหตุ
*ผู้ประสงค์จะเข้าร่วมพิธีมนตราภิเษกทุกท่านจะต้องเข้าร่วมเสวนาพันดาราด้วย เป็นความประสงค์ของพระอาจารย์ที่จะให้ทุกท่านได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติบูชาพระไภษัชยคุรุและการปฏิบัติธรรมตามแนวพุทธทิเบต

(Remarks
*Rinpoche requests that those who would like to participate in the Empowerment MUST attend the talk in the morning. This will help everyone to gain correct understanding on how to practice Medicine Buddha as well as on how to practice Tibetan Buddhism in general.)

*มูลนิธิมีอาหารมังสวิรัติ น้ำชา กาแฟ ขนม ผลไม้ บริการผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน หากท่านใดมีความประสงค์จะร่วมทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระอาจารย์และร่วมเป็นเจ้าภาพอาหารและเครื่องดื่ม มูลนิธิจะมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้

(*There will be vegetarian food, including tea, coffee, sweets, fruits for the participants throughout the event. Those who would like to donate food or desserts to the Rinpoche and join us in hosting the food and drinks will be greatly appreciated. Thanks a lot in advance.)

บุญกุศลอันยิ่งใหญ่คือการที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการเยียวยาจิตผู้ป่วย
Great merit is when we contribute to healing the sick.


For more information, please go to http://homepage.mac.com/soraj/MedBudEvent.html

Sunday, March 22, 2009

Tara Empowerment at Sathira-Dhammastan

มูลนิธิพันดาราและเสถียรธรรมสถาน

ขอเรียนเชิญผู้สนใจร่วมปฏิบัติบูชาพระโพธิสัตว์ตาราและเข้าร่วมในพิธีมนตราภิเษก

ณ เสถียรธรรมสถาน

วันพุธที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.


นำโดย พระอาจารย์กุงกา ซังโป ริมโปเช (Kunga Sangbo Rinpoche) จากวัดเจคุนโดและวัดต้าซี่กงในทิเบต แปลจากภาษาทิเบตเป็นภาษาไทยโดยรศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์

*ผู้สนใจสามารถเดินทางไปที่เสถียรธรรมสถานได้เลยโดยไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า ไม่เก็บค่าลงทะเบียน*

การปฏิบัติบูชาพระโพธิสัตว์ตารา (พระแม่ตารา)

ก่อนที่เราจะปฏิบัติบูชาพระแม่ตาราอย่างจริงจัง ถามตัวเองก่อนว่าทำไมเราถึงอยากปฏิบัติบูชาพระองค์ เพราะเราอยากหนีความทุกข์ เพราะเราอยากได้ที่พึ่ง เพราะเราสนใจพุทธทิเบต จึงสนใจการปฏิบัตินี้ด้วย หรือเพราะเราอยากบ่มเพาะความรักความกรุณา

ทัศนคติในการปฏิบัติธรรมสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนตร์ มนตราภาวนา กราบพระ นั่งสมาธิ อ่านพระคัมภีร์ หัวใจหลักเราต้องมีโพธิจิต จิตที่ปราถนาจะบรรลุธรรมเพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย การปฏิบัติบูชาพระแม่ตาราก็เช่นกันต้องมีโพธิจิตเป็นรากฐาน หากปราศจากโพธิจิต การปฏิบัติธรรมก็ไม่ได้ต่างจากการกระทำจำนวนมากในชีวิตของเราที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของเราเท่านั้น แล้วถามว่าทำไมการคิดถึงความสุขของเราไม่ดี ไม่ผิดที่เราจะคิดถึงตัวเรา แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าผู้อื่นก็มีความทุกข์เช่นกัน พวกเขาก็ล้วนต้องการความสุขเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราและเขาไม่ต่างกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไมเราถึงจะคิดหรือทำเพียงเพื่อตัวเราเท่านั้น

เมื่อมีทัศนคติที่ถูกต้องและมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะปฏิบัติบูชาพระแม่ตาราเป็นยีตัม (พระพุทธเจ้า/พระโพธิสัตว์ที่ยึดเป็นหลักในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติธรรม) แล้ว เราหาครูที่จะช่วยชี้นำหนทางในการปฏิบัติธรรม เราขอมนตรา ภิเษกจากครูเพื่อให้เราปฏิบัติบูชาพระแม่ตาราได้ดี เมื่อได้มนตราภิเษก ก็เท่ากับว่าเราได้รับอนุญาตให้สวดบูชาพระองค์ ให้นั่งสมาธิถึงพระองค์ โดยมีครูเป็นผู้นำทาง ไม่ใช่การปฏิบัติบูชาแบบสะเปะสะปะ ไม่ใช่การเดินหลงอยู่ในป่า หรือการปิดตาเดินโดยไม่รู้ว่าทำอย่างไรจะไปให้ถึงที่หมายอย่างรวดเร็วและปลอดภัย บางคนปฏิบัติเอง ลองผิดลองถูก ซึ่งเป็นการเสียเวลามากๆ พยายามเก็บเวลาอันมีค่าของเราเพื่อการปฏิบัติที่มีพื้นฐานที่ถูกต้องอันนำไปสู่การตรัสรู้ธรรม

จาก http://krisadawan.wordpress.com/2009/03/10/tara-practice/

Thursday, March 19, 2009

บทสวดยึดพระอาจารย์และพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง

Palden lama dampa namla jabsu chio

Dzogpe sangje jomdende namla jabsu chio

dampe chonamla jabsu chio

phakpe gendun namla jabsu chio

I take refuge in the precious masters.

I take refuge in the perfect Buddhas.

I take refuge in the precious Dharma.

I take refuge in the noble Sangha.

ปัลเดน ลามา ตัมปา นัมลา จับสุ ชีโอ

ซกเป ซังเจ จมเด็นเด นัมลา จับสุ ชีโอ

ตัมเป เชอ นัมลา จับสุ ชีโอ

พักเป เก็นดุน นัมลา จับสุ ชีโอ

ข้าพเจ้าขอยึดพระอาจารย์ผู้ประเสริฐเป็นสรณะ

ข้าพเจ้าขอยึดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสรณะ

ข้าพเจ้าขอยึดพระธรรมอันประเสริฐเป็นสรณะ

ข้าพเจ้าขอยึดพระอริยสงฆ์เป็นสรณะ

Thursday, March 5, 2009

Practicing to Eliminate Anger and Fear

"ฝึกปฏิบัติเพื่อขจัดความโกรธและความกลัว"

พันดารา รีทรีท กับ กุงกา ซังโป ริมโปเช วันที่ ๑๔-๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ศูนย์ขทิรวัน หัวหิน

มูลนิธิพันดาราขอเชิญสมาชิกและพุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์กุงกา ซังโป ริมโปเช เพื่อขจัดความโกรธและความกลัว อารมณ์บ่อนทำลายที่ก่อให้เกิดทุกข์ในการดำรงชีวิต โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

วันเสาร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๒
๑๗.๐๐ น. เดินทางถึงศูนย์ขทิรวัน (สำหรับท่านที่ไม่ได้มาเข้าร่วมพิธีมนตราภิเษก)
๑๗.๓๐ น. มนตราภาวนา
๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็น พักผ่อน
๒๐.๐๐ น. ชมภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับวัดทิเบตในฝรั่งเศส
๒๐.๓๐ น. สนทนาธรรมกับพระอาจารย์และฝึกปฏิบัติเพื่อขจัดความโกรธและความกลัว
๒๒.๐๐ น. เข้านอนด้วยจิตเปี่ยมสุข

วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒

๖.๐๐ น. ตื่นนอน
๖.๓๐ น. นั่งสมาธิ
๗.๐๐ น. อภิวาทโยคะ
๗.๓๐ น. รับประทานอาหารเช้า
๘.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติเพื่อขจัดความโกรธและความกลัว (๒)
๑๐.๐๐ น. รับประทานน้ำชาและอาหารว่าง
๑๐.๓๐ น. สวดมนตร์ภาวนา อุทิศบุญกุศล
๑๑.๓๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ น. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

ค่าอบรม
๒,๐๐๐ บาท (สำหรับผู้เดินทางโดยรถตู้ที่มูลนิธิจัดให้ เพิ่มอีก ๔๐๐ บาท) เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี เสียแต่เพียงค่ารถ ค่าอบรมรวมอาหารและที่พัก (เตนท์และถุงนอน) หากท่านใดประสงค์จะเอาเตนท์หรือถุงนอนมาเองโปรดกรุณาแจ้งล่วงหน้า

รายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายจะถวายพระอาจารย์กุงกา ซังโป ริมโปเชเพื่อสนับสนุนการงานทางธรรมของท่าน

การลงทะเบียนล่วงหน้า

เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างเรียบร้อย ผู้สนใจเข้าอบรมทุกท่านต้องลงทะเบียนล่วงหน้า โดยท่านสามารถโอนค่าลงทะเบียนมาที่ธนาคารไทยพาณิชย์ (สาขาสยามสแควร์) ชื่อบัญชี มูลนิธิพันดารา เลขที่ ๐๓๘-๔-๓๑๖๖๗-๘ (038-4-31667-8)
*วันสุดท้ายของการลงทะเบียน วันอังคารที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒ โปรดสแกนหลักฐานการโอนเงินแล้วส่งอีเมล์หรือแฟกซ์มาให้มูลนิธิ

หมายเหตุ
เนื่องจากศูนย์ขทิรวันมีข้อจำกัดในด้านสถานที่และการดำเนินงาน จึงสามารถรองรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพียง ๓๐ ท่านเท่านั้น จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ รายละเอียดเพิ่มเติม Email: 1000tara@gmail.com; โทรสาร ๐๒ ๕๒๘ ๕๓๐๘ มือถือ ๐๘๖ ๙๗๗ ๕๘๖๗

Opening Ceremony - Vasutara Pavilion

มูลนิธิพันดารา

ขอเชิญร่วมพิธีเปิดศาลาปฏิบัติธรรม "วสุตารา"
และพิธีมนตราภิเษกพระโพธิสัตว์ตารา (Tara Empowerment)
ศูนย์ขทิรวัน หัวหิน
วันเสาร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๐.๓๐-๑๕.๓๐ น.


เกี่ยวกับศาลาวสุตารา

"วสุตารา" หมายถึง "พระแม่ตาราแห่งแผ่นดิน" ผู้ประทานความเป็นปึกแผ่นในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติธรรม และผู้ประทานพรในการบำบัดรักษาโรคและความทุกข์ทั้งมวล ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ มูลนิธิพันดาราได้จัดสวดมนตร์และนั่งสมาธิกรรมฐานที่ศูนย์ขทิรวัน โดยจัดขึ้นภายใน "สถูปมนตร์ประภัสสร" ซึ่งเป็นสถูปผ้าประกอบด้วยธงมนตร์ภาษาทิเบตหลายพันผืนแต่เนื่องจากสถูปมนตร์ไม่มีความคงทน ธงมนตร์เปื่อยสลายไปตาม กาลเวลาและไม่สามารถกันฝนได้ มูลนิธิจึงมีความจำเป็นต้องสร้างศาลาปฏิบัติธรรมซึ่งจะมีโครงสร้าง แข็งแรง รูปทรงกลม ทรงสถูปมนตร์ ทนทานใช้งานได้ในทุกฤดูกาล โดยมีขนาด ๑๑ x ๑๑ เมตร รองรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ประมาณ ๖๐ คนศาลานี้ประกอบด้วยที่บูชาพระ ที่นั่งสมาธิภาวนา/อบรมสัมมนา บริเวณเก็บสัมภาระ ด้านหลังมีห้องสุขาและห้องอาบน้ำแยกชาย-หญิง

เกี่ยวกับพระแม่ตารา


พระมหาโพธิสัตว์อารยาตารา (ภาษาทิเบต: เจซูน เตรอมา) เป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตากรุณา ทรงกำเนิดจากน้ำพระเนตรของพระอวโลกิเตศวร เมื่อครั้งที่ทรงพระกรรแสงเนื่องจากทรงไม่สามารถช่วยเหลือสัตว์ทั้งโลกทั้งหลายให้พ้นจากความทุกข์ได้ พระโพธิสัตว์ตาราทรงเป็นที่รักและกราบบูชาของชาวพุทธในทิเบต หิมาลัยและมองโกเลีย พวกเขามักสวดคาถาหัวใจ "โอม ตาเร ตุตาเร ตุเร โซฮา" และสวดบทสรรเสริญตารา ๒๑ องค์

พระโพธิสัตว์ตาราทรงมี ๒๑ ปาง แต่ปางที่รู้จักกันแพร่หลายคือ ตาราเขียว (ขทิรวนีตารา) และตาราขาว (จินดามณีจักรตารา) ตาราเขียวเป็นปางคุ้มครองนักเดินทางจากภัยอันตราย ทรงประทานพรให้พ้นจากความทุกข์ ความกลัว และดลบันดาลให้การงานสำเร็จโดยเร็ว ตาราขาวเป็นปางประทานอายุยืนยาวและการบำบัดรักษาโรค สายสัมพันธ์หนึ่งที่คนไทยมีต่อพระองค์คือทรงเป็นแรงบันดาลใจในการก่อตั้งมูลนิธิพันดารา

เกี่ยวกับพิธีมนตราภิเษก

พิธีมนตราภิเษก ตรงกับภาษาอังกฤษว่า empowerment หรือ initiation เป็นพิธีตามประเพณีศาสนาพุทธวัชรยานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมพิธีได้รับพรจากพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้าผ่านพระอาจารย์ผู้ทำพิธีผู้ได้รับการถ่ายทอดคำสอนตามสายการปฏิบัติธรรม การเข้าร่วมพิธีนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถสวดคาถาหัวใจของพระองค์และนั่งสมาธิถึงพระองค์ได้ อานิสงส์ของการได้รับมนตราภิเษก ทำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และได้บ่มเพาะความเมตตากรุณา

ก่อนการเข้าร่วมพิธี ผู้ปฏิบัติธรรมควรตั้งจิตว่าจะเข้าร่วมพิธีเพื่อประโยชน์ของตนเองและสัตว์ทั้งหลาย ให้การได้รับมนตราภิเษกเป็นดังการหว่านเมล็ดพันธ์ุแห่งการตรัสรู้ธรรม เมื่อได้รับมนตราภิเษกพระแม่ตาราแล้ว ผู้ปฏิบัติธรรมควรหมั่นสวดคาถาหัวใจและนั่งสมาธิถึงพระองค์เป็นนิจ หากได้ทำเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมก็จะพบแต่ความสุขในชีวิตและได้รับผลของการปฏิบัติบูชาพระโพธิสัตว์

กำหนดการ

๑๐.๓๐ พร้อมกันที่ศูนย์ขทิรวัน
๑๑.๐๙ พิธีเปิดศาลาวสุตารา
๑๑.๓๐ รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ พิธีมนตราภิเษกพระโพธิสัตว์ตารา (พระขทิรวนีตารา) ระหว่างพิธี ริมโปเชจะนำภาวนาสอนการนั่งสมาธิถึงพระแม่ตาราและให้พร
๑๕.๐๐ รับประทานอาหารว่าง สนทนาธรรมตามอัธยาศัย
๑๕.๓๐ เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ
ไม่เก็บค่าลงทะเบียน สำหรับท่านที่มีความประสงค์จะให้มูลนิธิจัดรถตู้รับ-ส่งให้ (ค่าใช้จ่ายท่านละ ๔๐๐ บาท)
ขอความกรุณาท่านแจ้งให้ทราบภายในวันจันทร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๒ ที่ 1000tara@gmail.com โทร ๐๒ ๕๑๑ ๔๑๑๒ มือถือ ๐๘๖ ๙๗๗ ๕๘๖๗

เกี่ยวกับพระอาจารย์กุงกา ซังโป ริมโปเช

กุงกา ซังโป ริมโปเช เกิดในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ในครอบครัวชนเผ่าเร่ร่อนที่ตำบล ปาทัง เมืองเจคุนโด เขตปกครองตนเองยูชู แคว้นคามมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ทานมีโอกาสได้บวชเรียนเมื่ออายุ ๑๗ ปี โดยจำพรรษาที่วัดเจคุนโด วัดสาเกียปะที่ใหญ่ที่สุดในเขตปกครองตนเองยูชู พระปฐมคุรุของท่านคือ อาตรัก ริมโปเช อาจารย์นักปฏิบัติคนสำคัญซึ่งมรณภาพในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พระอาจารย์ของท่านอีกรูปหนึ่งคือ ลูดิง เคนริมโปเช ประมุขนิกายงอเชนของสาเกียปะและเจ้าอาวาสวัดซังโงรูในนครลาซา ปัจจุบันลูดิง เคนริมโปเชจำพรรษาที่เมืองเดราห์ดุน ประเทศอินเดีย

เมื่ออายุ ๒๐ ปี กุงกา ซังโป ริมโปเชได้ศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียน ภาษาทิเบตที่เมืองเดเก จากนั้น ท่านไปศึกษาต่อที่โรงเรียนอาริก เชอตรา เชนโม ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับพระสงฆ์ ที่เมืองซาชูคา มณฑลเสฉวน ที่โรงเรียนนี้ ท่านได้ศึกษาพระธรรมเป็นเวลา ๖ ปีกับเปมา เซวัง เคนริมโปเช พระอาจารย์ญิงมาปะที่มีชื่อเสียง

หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนที่ซาชูคา ท่านมีโอกาสไปเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยพุทธศาสนาสายทิเบตแห่งประเทศจีน กรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นสถานศึกษาสำคัญที่สุดที่หนึ่งสำหรับทุลกุ (นิรมาณกาย/พระกลับชาติมาเกิด) หลังจากนั้น ท่านสอนหนังสืออยู่ที่เจคุนโดเป็นเวลา ๙ ปี ในปี ๒๕๔๓ ท่านสอบเข้าเป็นนักศึกษาปริญญาโทสาขาประวัติศาสตร์และปรัชญาทิเบตที่มหาวิทยาลัยชนชาติกลุ่มน้อยส่วนกลาง กรุงปักกิ่ง ในระหว่างที่อยู่ปักกิ่งนี้เอง ท่านได้สอนธรรมะให้แก่ลูกศิษย์ชาวจีนเป็นจำนวนมาก

การงาน

ด้วยความเป็นผู้คงแก่เรียน มีสติปัญญาดีเป็นเลิศ และเป็นที่รักของทุกคน ท่านจึงได้เป็นเจ้าอาวาสวิทยาลัยสงฆ์ของวัดเจคุนโด ท่านมีผลงานมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและชุมชนชาวทิเบต อาทิ หนังสือรวมคำสอนของพระอาจารย์สาเกียปะ จำนวน ๒๑ เล่ม หนังสือพจนานุกรมภาษาทิเบต-จีน

ด้วยความเมตตาอย่างไม่มีที่สิ้่นสุด ริมโปเชยังสร้างและดูแลโรงเรียนประถมศึกษาปาทังที่บ้านเกิดของท่าน โรงเรียนนี้อยู่ในความอุปการะของมูลนิธิพันดาราด้วยและดำริสร้างวัดแสงจันทร์ ที่ภูเขาหวู่ไท่ซาน ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าเป็นที่ประทับของพระมัญชุศรี

แม้ว่าริมโปเชจะมีภารกิจมากในประเทศจีน ท่านเจียดเวลาเดินทางมาประเทศไทยหลายครั้งเพื่อบรรยายธรรมและประกอบพิธีมนตราภิเษกตามคำขอของมูลนิธิพันดารา ได้แก่ พิธีมนตราภิเษกตารา ๒๑ องค์ (๒๕๔๘) พิธีมนตราภิเษกพระมัญชุศรี (๒๕๔๙) และพิธีมนตราภิเษกพระอวโลกิเตศวร (๒๕๕๐)

Tuesday, March 3, 2009

Kris and the Thousand Stars Foundation

The Thousand Stars Foundation


“Whoever sees, hears, remembers, or touches the Stupa will receive all the joys of the Buddhas and all the blessing.” The Buddha



In the beginning



Buddhism has flourished and has been integrated into Asian culture for thousand of years. Temples are everywhere; monks and nuns are universally revered. Understanding the teachings of the Buddha has become more important as the world becomes more economically advanced and adopts the materialistic approach toward life. It is clear that fewer and fewer people truly experience lasting happiness.

Searching for answers that would satisfy their spiritual needs, many people come to many different varieties of Buddhism, such as Theravada, Mahayana or Vajrayana paths. These approaches are like different doors to the same destination, leading equally to Enlightenment.

It is also significant that more and more lay people are becoming more interested in serious practice of Buddhism but are rather reluctant to lead a monk's or a nun's life. In fact, for many, embracing the Buddha's teaching and developing Bodhicitta and compassion in their daily lives are challenging and are more practical and tangible in that they need to continue to carry on their lay lives and responsibilities, yet all their bodily action, speeches and mental activities are fully in line with the Buddha's teaching

Sharing this sentiment as do many Thais, Dr. Krisadawan, who is fluent in Thai, English and Tibetan, believes that Buddha nature is already inside everyone's heart. This makes lay people to have equal right to learn and practice Buddhism, as well as to live as mothers, fathers, sons, or employers.

Having been inspired by many Tibetan Lamas, both male and female, during the last 10 years, as well as having directly experienced Tibetan culture and how Buddhism has engaged in their daily life, she feels that the teaching of Mahayana Buddhism offers an interesting aspect and an opportunity for lay people to understand Buddhism better, allowing them to know another ‘door’ to the goal.

In 2005, Krisadawan established the Thousand Stars foundation, a non-profit organization providing (a) an opportunity to lay people to discuss and practice Mahayana Dharma via conferences and individual practice, (b) improvement of standard of living of Tibetans in remote area, (c) support to Tibetan monasteries and nunneries in remote areas, especially in Kham province of eastern Tibet.

Currently, moreover, the Foundation is undertaking the Shanti Tara stupa project at Kadiravana Retreat Center in Hua Hin, Prachurb Khirikhan. This is the first Vajrayana stupa in Thailand. It has attracted both Thais and international followers consisting also of young and enthusiastic members who all share the same passion and love of Tibetan life, culture and Buddhism.


Continuous Flow of Inspiration


Krisadawan has always been interested in Buddhism. Growing up in a Theravada environment, her love of the religion was so powerful that she once contemplated becoming a nun. However, it was not until she became a Buddhist youth representative that she was exposed to other forms of Buddhism. She then realized that to become engaged in Buddhism did not mean giving up lay life and becoming a nun; instead there were many other ways one can practice the teaching.

With the love of Tibetan culture she experienced whilst visiting Nepal, she decided to continue to study for the doctoral degree in linguistics from Indiana University in the US. The linguistic skill she honed as a scholar led her to become an interpreter to many famous Tibetan lamas. For years the kindness of the lamas touched and inspired her to follow upon their footsteps.

Whilst spending her time doing ethnographic research in Tibetan and Kham area, Krisadawan became a student of Kunga Sangbo Rinpoche, the abbot of Jyekundo Monastery in Kham, eastern Tibet. For more than nine months she witnessed the dedication and compassion of Kunga Sangbo Rinpoche when he tirelessly worked for the benefits of the people by building a school in his hometown where most children are illiterate and renovating monasteries.

“Even though he has only little money, he would not think about himself. He would want to use that little money to improve other people’s lives. And that made me think I should use my knowledge to do good things for others,” said Krisadawan.

So instead of following her original dream to be ordained, she decided to follow Kunga Sangbo Rinpoche's advice to use her Buddhist knowledge and language skills to benefit others as a lay person. With the desire to attain Buddhahood while carrying on a lay person’s responsibilities and the determination to follow his action, she wondered how to integrate these wonderful ideas.


Thousand Stars Foundation


“One day, Avalokiteshvara, who refused to leave the samsara until the last sentient being attained Enlightenment, saw that there were so many lives he had to help, yet still there were countless more lives who were now suffering in samsara. Tears dropped from his eyes and out came White Tara on a lotus. She comforted him not to cry and vowed to help and followed him in every life to help all sentient being.”

Inspired by this story, Krisadwan always feels close to Tara, a female Bodhisattva who vows to help all sentient beings. As a result of this she founded the Thousand Stars Foundation. For the first time she felt that Tibetan language proved useful and it showed the way to cultivate compassion and give an opportunity to contribute to the benefits of others. On one occasion, while she was paying homage in front of the speaking Tara statue in Dzachuka, she vowed to follow Tara in order to help her in every lifetime.

Later on, faith brought her to meet Kandroma, a revered female lama who was the daughter of Lama Longtok, who passed away while leaving his body intact. Kandroma was struggling to build up her father‘s hermitage. Krisadawan was impressed by her determination to transform a small hermitage into a nunnery. Together they practiced Longchen Nyingtik, and in 2007 the building of Zangtok Pari became the first project which the Thousand Stars Foundations along with Global Women’s Fund and Bridge fund, USA, supported. The small ruined hermitage became a fully functioning nunnery which can currently accommodate 15 nuns.

Since 2005, the Foundation has been helping Tibetan children and nuns as well as organizing public conferences to promote Tibetan culture, peace, studies of Mahayana texts as well as Buddhist practices in daily living. So far many local and international guest speakers have contributed their time and knowledge to the Foundation’s many conferences. They are, for example, Nyima Dakpa Rinpoche, Ringu Tulku Rinpoche, Phakchok Rinpoche, including a famous doctor Dr. Tsedor Nyarongsha and a historian Professor Thubten Phuntsok.


A New Project...Pursuing a Dream


The lama, or guru, is believed to represent the condensed mind of the Buddha, and in Mahayana belief the teacher and the student are interconnected through faith and karma. When Krisadawan met Kundrol Lhasay Rinpoche, a highly revered Dzogchen master from the New Bön tradition who lived in Chengdu, China, their relationship developed to something far beyond the basic practice of mind training and meditation.

In 2006, she bought a piece of land in Hua Hin, Prachurb Khirikhan. The peaceful location was ideal for a retreat center and a Tara temple where people could visit and pray. It would provide a type of environment that was friendly to everyone, especially female lay practitioners. The land would also serve as the first Tibetan library and education center in Southeast Asia. At that time Lhasay Rinpoche asked Krisadawan to undertake a huge project of building the Shanti Tara Maha Stupa. Despite his humbleness and low profile outside of Tibet, Lhasay Rinpoche had a vision to build a great stupa in Thailand which he believes to be one of the most scared places on earth, a place where people already embrace Buddhism into their heart and their way of living.


“This (stupa) is your project. But it is in fact neither yours nor mine. I can’t take it back to Tibet nor you can take it when your body leave this world.”


The request by Lhasay Rinpoche shows his trust and confidence in Krisadawan to carry the huge project, which seems impossible in the beginning.

While Krisadawan was gathering information on building stupas, Lhasay Rinpoche sent a vast amount of prayer flags from his hometown to Krisadawan to build a mantra stupa for the first time in Thailand at the Khadiravana Center. The prayer flags consists of five colors -- blue, green, red, white and yellow. These colors represent sky, air, fire, water and earth, thus representing all elements of the cosmos. Every time the wind blows the flags, the mantras written on them are sent out to all corners of the universe, generating peace and happiness all around. Not only does each colour have a specific Buddhist meaning such as the five Buddha family or the five skandhas, but in today’s context the different colors signify diversity in each of us who came from different backgrounds yet all work together to create peace and harmony.


At Present...

The project started to take shape in 2007, after Krisadwan prostrated her way for eighteen days from Nyethang Tara temple near Lhasa to Samye Monastery, 80 kilometers away. She did this to accumulate merit, and the deed gave her a lot of strength and determination to carry on this daunting and ambitious project.

The Thousand Stars Foundation believes that the Shanti Tara Stupa project will benefit everyone, any sentient being who sees, touches and hears about the Stupa. It has the healing power and reminds us of goodness and positive determination to do good things for others.

This belief should transcend all boundaries in the world, and come across different beliefs and nationalities, just like Mother Tara who is willing to do everything to benefit the world.

Lastly, the project should inspire us as an individual, men or women to continue to carry on our dream to make the world a better place.