Wednesday, December 5, 2007
New Website
Sunday, December 2, 2007
Podcast of Teachings
Wednesday, November 21, 2007
Activities in November and December
Lecture Series
in November and December 2007 the Foundation will organize a series of lectures on Buddhism. The event (except for Ringu Rinpoche's first lecture on Tuesday) will take place at the Foundation's House on Ladprao Road. Details are as follows:
Sunday, November 11, 1007
Lecture on Shantideva's Guide to the Bodhisattva's Way of Life, Chapters 1 - 5, 1 to 3:30 pm, by Dr. Soraj Hongladarom (in Thai)
Sunday, November 25, 2007
Lecture on "Introduction to Tibetan Buddhism, " 1 - 3:30 pm, by Dr. Krisadawan Hongladarom (in Thai)
Tuesday, November 27, 2007
A special lecture by Ven. Ringu Tulku RInpoche on "Meditation as an Antidote for Depression," 7 - 9 pm at Room 302 Boromratchakumari Bldg., Faculty of Arts, Chulalongkorn University. (More about Ringu Tulku Rinpoche can be found at his website - www.bodhicharya.org)
Thursday, November 29, 2007
Another special lecture by Ven. Ringu Tulku Rinpoche on "Retreat and Mind Training: How Laypeople could Integrate them in their Daily Living", this time at the Foundation House on Ladprao Road, 7 - 9 pm.
Sunday, December 9, 2007
Lecture on Shantideva's Guide to the Bodhisattva's Way of Life, Chapters 7 and 8, 1-3:30 pm, by Dr. Soraj Hongladarom at the Foundation House, Lad Prao Road.
Wednesday and Thursday, December 12-13, 2007
Public teaching on "Mindfulness and Compassion: How to Integrate Them in Everyday Living," 9am-5pm, by His Holiness Phakchok Rinpoche, at Room 105, Maha Chulalongkorn Bldg., Chulalongkorn University. Please click here for more information.
White Tara Empowerment
Ringu Tulku Rinpoche will perform a White Tara Empowerment at Tara Khadiravana, Nong-Phlub Subdistrict, Hua Hin, Prachuab Khiri Khan on Wednesday, November 28, 2007 from 17.00 to 19.00 hours. The public is welcome.
For more detail please go to http://1000starsweb.googlepages.com/
Friday, November 16, 2007
เว็บมูลนิิธิปรับปรุงใหม่
Thursday, November 1, 2007
Podcast พันดารา
http://www.taragreatstupa.org/1000StarsPodcast/
ต่อไปนี้ไฟล์เสียงจากกิจกรรมต่างๆของมูลนิธิจะนำมาไว้ที่นี่ครับ
Monday, October 29, 2007
วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์
วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ เป็นบทประพันธ์อันมีชื่อเสียงของท่านศานติเทวะ ผู้เป็นพระอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทา เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่แปด เนื้อหาประกอบด้วยข้อเสนอแนะในการปฏิบัติธรรมของพระโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งตั้งปณิธานจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์ในพ้นทุกข์ได้อย่างเต็มที่ ในพระพุทธศาสนาแบบทิเบตทั้งหมดนั้น ไม่มีงานชิ้นใดเลยที่จะมีอิทธิพลหรือได้รับการยกย่องมากเท่ากับชิ้นนี้ และก็เป็นหนังสือหลักในการศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของทิเบตทุกแห่งในการบรรรยายครั้งแรกนี้ จะพูดถึงห้าบทแรกของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับโพธิจิต และอานิสงส์ประการต่างๆของโพธิจิต รวมทั้งการฝึกสำรวมระวังอินทรีย์ และระวังรักษาจิตมิให้ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ท่านที่สนใจจะเข้าใจและฝึกปฏิบัติพระพุทธศาสนามหายานไม่ควรพลาด
ท่านศานติเทวะได้เสนอแนยทางการปฏิบัติเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ไว้อย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากการกล่าวถึงอานิสงส์ของโพธิจิต อันเป็นจิตที่มุ่งมั่นต่อการตรัสรู้เพื่อบรรลุเป็นพระพุุทธเจ้า แล้วก็เสนอการปฏิบัติบารมีหกประการอันเป็นวิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ ได้แก่ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา
Saturday, October 27, 2007
บทพระโพธิจิตและบทฝึกจิตแปดโศลก
ด้วยความปรารถนาจะปลดปล่อยสัตว์โลก
ข้าพเจ้าจะยึดเป็นที่พึ่งอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ตราบจนถึงกาลที่ข้าพเจ้าตรัสรู้
ข้าพเจ้าปลาบปลื้มปิติยินดีในพระปัญญาธิคุณและพระกรุณาธิคุณ
ของสมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้า อันข้าพเจ้าได้มาอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ในเวลานี้
ข้าพเจ้าปลุกพระโพธิจิตขึ้นมา
เพื่อยังประโยชน์ให้แก่สัตว์โลกทั้งมวล
ตราบเท่าที่อากาศธาตุยังคงอยู่
ตราบเท่าที่สรรพสัตว์ยังคงอยู่
ตราบเท่านั้นก็ขอให้ข้าพเจ้ายังคงอยู่
และขับไล่ความทุกข์ทั้งหมดให้พ้นไปจากโลกนี้!
****
บทฝึกจิตแปดโศลก
ด้วยความมุ่งมั่นจะบรรลุถึงจุดหมายสูงสุด
เพื่อประโยชน์แห่งสรรพสัตว์ทั้งมวล
อันเป็นยิ่งไปกว่าแม้แก้วสารพัดนึก
ขอให้ข้าพเจ้าบูชาสรรพสัตว์เหล่านี้ไว้ตลอดเวลา
เมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้าติดต่อกับใคร
ขอให้ข้าพเจ้ามองตนเองว่าเป็นผู้ที่ต่ำต้อยที่สุด
และจากก้นบึ้งของหัวใจ
ก็ขอให้ยกย่องผู้อื่นว่าเหนือกว่าข้าพเจ้า
ในการกระทำทุกๆอย่างของข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าตรวจสอบจิตของตนเอง
และทันใดที่กิเลสเกิดขึ้นมา
อันจะทำอันตรายแก่ตัวข้าพเจ้าและผู้อื่น
ก็ขอให้ข้าพเจ้าเผชิญหน้ากับกิเลสนั้นกับกำจัดให้พ้นไป
เมื่อข้าพเจ้าเห็นสัตว์โลกที่ไม่น่าดู
ผู้ซึ่งถูกปิดบังด้วยความเห็นผิดและความทุกข์
ขอให้ข้าพเจ้ายกย่องสัตว์โลกนั้น เนื่องจากหาได้ยากเหลือเกิน
ราวกับว่าข้าพเจ้าได้พบกับแก้วมณีอันล้ำค่ายิ่ง!
เมื่อผู้อื่น ด้วยความอิจฉาริษยา
ได้ทำร้ายและดูหมิ่นเหยียดหยามข้าพเจ้าอย่างผิดๆ
ขอให้ข้าพเจ้ารับเอาไว้ซึ่งความพ่ายแพ้
และมอบชัยชนะให้แก่เขา
เมื่อบางคนที่ข้าพเจ้าเคยให้ความช่วยเหลือ
หรือที่ข้าพเจ้าเคยตั้งความหวังไว้อย่างสูงส่ง
แต่กลับมาทำร้ายข้าพเจ้าด้วยวิถีทางอันเลวร้ายต่างๆ
ขอให้ข้าพเจ้ายังคงมองเขาว่าเป็นครูผู้ประเสริฐ
กล่าวโดยสรุป ขอให้ข้าพเจ้ามอบประโยชน์สุข
ให้แก่มารดาทั้งหลายทั้งทางตรงและทางอ้อม
ขอให้ข้าพเจ้ารับเอาไว้ซึ่ง
ความเจ็บปวดและความทุกข์ของมารดาทั้งหลายนี้
ขอให้ทั้งหมดนี้ไม่แปดเปื้อนไปด้วยโลกธรรมทั้งแปด
และขอให้ข้าพเจ้าได้มองเห็นทั้งหมดนี้ว่าเป็นเพียงภาพลวงตา
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากการติดยึด และหลุดออกจากพันธนาการด้วยเทอญ!
(แปลจาก The Dalai Lama, Transforming the Mind: Teachings on Generating Compassion)
Sunday, October 14, 2007
กิจสามสิบเจ็ดประการของพระโพธิสัตว์
The Thirty-Seven Bodhisattva Practices
by Ngulchu Thogme Zangpo
Homage to Lokeshvaraya!
At all times I prostrate with respectful three doors of body, speech and mind to the
supreme guru and the protector Chenrezig, who through realizing that all phenomena
neither come nor go, make single-minded effort for the sake of all sentient beings.
The perfect Buddhas, source of benefit and happiness, arise from accomplishing the
sublime Dharma. And as that [accomplishment] depends on knowing the Dharma
practices, I will explain the bodhisattvas’ practices.
กิจปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ 37 ประการ
โดย งุลจู ท็อกเม ซังโป
ขอนอบน้อมแด่พระโพธิสัตว์โลเกศวร!
ข้าพเจ้ากราบด้วยกายวาจาและใจ โดยความเคารพแด่ท่านอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ และพระอวโกลิเตศวรผู้ปกป้อง ผู้ซึ่งได้สำนึกว่าทุกปรากฎการณ์มิได้มาหรือได้ไป และได้ตั้งใจเป็นหนึ่งเดียวสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงตลอดเวลา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงเป็น จุดกำเนิดของประโยชน์และความสุข ทรงเกิดขึ้นจากการสำเร็จพระธรรมอันประเสริฐ และเนื่องจากการสำเร็จนี้ขึ้นอยู่กับการรู้ถึงการปฎิบัติธรรม ข้าพเจ้าจะอธิบายกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
1. At this time when the difficult-to-gain ship of leisure and fortune has been
obtained, ceaselessly hearing, pondering and meditating day and night in order to
liberate oneself and others from the ocean of cyclic existence is the bodhisattvas’
practice.
1 ในขณะนี้ ซึ่งได้อยู่ในกายอันประเสริฐอันได้มาโดยยาก การตั้งใจฟัง ตั้งใจคิดไตร่ตรอง และตั้งสมาธิทั้งคืนทั้งวัน เพื่อปลดปล่อยตนเองและผู้อื่นให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
2. The mind of attachment to loved ones wavers like water. The mind of hatred of
enemies burns like fire. The mind of ignorance which forgets what to adopt and
what to discard is greatly obscured. Abandoning one’s fatherland is the
bodhisattvas’ practice.
2. จิตของผู้ที่ที่ยึดติดกับคนรักระส่ำระสายดุจสายน้ำ จิตของผู้ที่เกลียดชังศัตรูเผาใหม้ดั่งเช่นไฟ จิตของผู้ที่โง่เขลา หลงลืมไปว่าจะรับอะไรไว้ และจะทิ้งอะไร เต็มไปด้วยความบดบัง การไม่ยึดติดกับสิ่งต่างๆคือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
3. When harmful places are abandoned, disturbing emotions gradually diminish.
Without distraction, virtuous endeavors naturally increase. Being clear-minded,
definite understanding of the Dharma arises. Resorting to secluded places is the
bodhisattvas’ practice.
3. เมื่อละเว้นจากสถานที่อันเป็นอันตราย กิเลสต่างๆจะค่อยๆลดน้อยลงไป เมื่อปราศจากสิ่งมารบกวนจิตใจ ก็จะทำให้ความอุตสาหะในทางที่ดีเพิ่มพูนขึ้น เมื่อมีจิตใจที่แจ่มใสบริสุทธิ์ การเข้าใจหลักธรรมอันแจ่มชัดแน่นอนก็จะเกิดขึ้น การหลบลี้ไปยังสถานที่อันสันโดษคือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
4. Long-associated companions will part from each other. Wealth and possessions
obtained with effort will be left behind. Consciousness, the guest, will cast aside
the guest-house of the body. Letting go of this life is the bodhisattvas’ practice.
4. เพื่อนที่มีความสัมพันธ์คบหาสมาคมกันมานานก็จะจากกันไป ทรัพย์สมบัติและสิ่งที่ครอบครองมาด้วยความพยายามก็จะต้องละทิ้งไป วิญญาณซึ่งเป็นแขกพักอาศัยอยู่ในกายก็จะออกจากกายไป การไม่ยึดติดกับชีวิตนี้คือกิจปฎิบัติของประโพธิสัตว์
5. When evil companions are associated with, the three poisons increase, the
activities of listening, pondering and meditation decline, and love and compassion
are extinguished. Abandoning evil companions is the bodhisattvas’ practice.
5. เมื่อไปพัวพันกับคนพาล (อกุศล) พิษสามประการเพิ่มขึ้น กิจในการฟัง ในการไตร่ตรอง ในการทำสมาธิก็จะลดถอยลง ความเมตตา และความกรุณาก็จะหมดสิ้นไป การละทิ้งการคบหากับคนพาลคือกิจกฎิบัติของพระโพธิสัตว์
6. When sublime spiritual friends are relied upon, one’s faults are exhausted and
one’s qualities increase like the waxing moon. Holding sublime spiritual friends
even more dear than one’s own body is the bodhisattvas’ practice.
6. เมื่อไว้วางใจในกัลยาณมิตรผู้เจริญธรรมกับปัญญา ความบกพร่องก็จะหมดไป คุณสมบัติดีๆก็จะเจริญงอกงามคล้ายดวงจันทร์ที่กำลังจะเต็มดวง การคบหาและยึดมั่นในกัลยาณมิตรผู้เจริญธรรมและปัญญา มากกว่ายึดมั่นในกายของตนเองคือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
7. What worldly god, himself also bound in the prison of cyclic existence, is able to
protect others? Therefore, when refuge is sought, taking refuge in the
undeceiving triple gem is the bodhisattvas’ practice.
7. แม้แต่เทพเทวดาก็ยังถูกจองจำอยู่ในคุกของเวียนว่ายตายเกิด แล้วพวกเขาจะมาปกป้องผู้อื่นได้อย่างไร ดังนั้นเมื่อหาที่พึ่ง จงพึ่งพระรัตนตรัยที่ไม่มีความหลอกลวง นี่คือกิจปฎิบัติของประโพธิสัตว์
8. The subduer said that all the unbearable suffering of the three lower realms is the
fruition of wrongdoing. Therefore, never committing negative deeds, even at
peril to one’s life, is the bodhisattvas’ practice.
8. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวไว้ว่า ความทุกข์อันไม่อาจทนทานได้ในอบายภูมิทั้งสามเป็นผลของการการทำชั่ว เพราะฉะนั้น การละเว้นการทำชั่วแม้จะเป็นภัยแก่ชีวิตของตนเอง คือกิจปฎิบัติของประโพธิสัตว์
9. The pleasure of the triple world, like a dewdrop on the tip of a blade of grass, is
imperiled in a single moment. Striving for the supreme state of never-changing
liberation is the bodhisattvas’ practice.
9. ความเพลิดเพลินสนุกสนานในกามาวจรภูมิทั้งสาม เปรียบดั่งน้ำค้างบนปลายใบไม้ จะหายไปในช่วงพริบตา การปฎิบัติให้บรรลุถึงสถานะที่มั่นคงถึงการหลุดพ้นอันไม่เปลี่ยนแปลง คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
10. When mothers who have been kind to one since beginningless time are suffering,
what’s the use of one’s own happiness? Therefore, generating the mind of
enlightenment in order to liberate limitless sentient beings is the bodhisattvas’
practice.
10. เมื่อแม่ทั้งหลายที่ได้เคยดูแลเราเป็นอย่างดี นับตั้งแต่ห้วงเวลาที่ไม่มีจุดกำเนิดกำลังทนทุกข์ทรมาน ความสุขของเราเองจะมีประโยชน์อันใดเล่า? เพราะฉะนั้น การมุ่งหมายเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง เพื่อช่วยให้ทุกชีวิตอันไม่มีประมาณได้หลุดพ้นคือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
11. All suffering without exception comes from wishing for one’s own happiness.
The perfect buddhas arise from the altruistic mind. Therefore, completely
exchanging one’s own happiness for the suffering of others is the bodhisattvas’
practice.
11. ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงไม่มีข้อยกเว้น เกิดขึ้นจากความต้องการความสุขเพื่อตัวเราเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเกิดขึ้นจากจิตที่เห็นแก่ความสุขของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง การแลกเปลี่ยนความสุขของเรากับความทุกข์ของผู้อื่น คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
12. Even if others, influenced by great desire, steal all one’s wealth or have it stolen,
dedicating to them one’s body, possessions and virtues accumulated in the three
times is the bodhisattvas’ practice.
12. แม้ว่าผู้อื่น ซึ่งถูกชักจูงด้วยความโลภจักได้ลักทรัพย์ทั้งหมดของเราไป หรือทำให้ทรัพย์ของเราถูกขโมยไป การอุทิศร่างกาย ทรัพย์สิน และบุญบารมีที่ได้สะสมตลอดกาลทั้งสามให้แก่คนเหล่านั้นคือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
13. Even if others are going to cut off one’s head when one is utterly blameless,
taking upon oneself all their negative deeds by the power of compassion is the
bodhisattvas’ practice.
13. แม้ว่าผู้อื่นจะมาตัดศรีษะของเรา ในขณะที่เราปราศจากความผิดแม้แต่น้อยนิด การน้อมรับการกระทำอันชั่วร้ายของเขาทั้งปวงมาไว้ที่ตัวเราด้วยพลังแห่งความกรุณา คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
14. Even if someone broadcasts throughout the billion worlds all sorts of offensive
remarks about one, speaking in turn of that person’s qualities with a loving mind
is the bodhisattvas’ practice.
14. แม้บางคนจะด่าว่าร้ายเราต่างๆนานาด้วยการป่าวประกาศไปทั่วทั้งหนึ่งพันล้านโลก การพูดถึงคุณงามความดีของผู้นั้นด้วยจิตที่เปี่ยมไปความรักความโอบอ้อมอารี คือกิจปฎิบัติของประโพธืสัตว์
15. Even if, in the midst of a public gathering, someone exposes faults and speaks ill
of one, humbly paying homage to that person, perceiving him as a spiritual friend,
is the bodhisattvas’ practice.
15. แม้จะมีผู้เปิดโปงความผิดทั้งหลายของเรา หรือพูดถึงเราในทางลบต่อหน้าสาธารณชน การแสดงความเคารพต่อคนผู้นั้น และมองเขาผู้นั้นเป็นกัลยาณมิตรผู้เป็นผู้ร่วมเดินทางสู่การหลุดพ้น คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
16. Even if someone for whom one has cared as lovingly as his own child regards one
as an enemy, to cherish that person as dearly as a mother does an ailing child is
the bodhisattvas’ practice.
16. แม้บางคนที่เราเคยดูแลเหมือนเป็นลูกของเราเองมามองว่าเราเป็นศัตรู การดูแลรักษาเขาด้วยความรักใคร่เปรียบเสมือนแม่ที่ดูแลลูกด้วยความรักเมื่อลูกป่วย คือกิจปฎิบัติของประโพธิสัตว์
17. Even if, influenced by pride, an equal or inferior person treats one with contempt,
respectfully placing him like a guru at the crown of one’s head is the
bodhisattvas’ practice.
17. แม้ว่ามีคนที่เท่ากันหรือด้อยกว่ามาดูถูกเราด้วยความหยิ่งยโส การยกเขาผู้นั้นไว้เหนือกระหม่อมด้วยความเคารพอย่างสูงดุจดังเคารพอาจารย์ของเรา คือกิจปฎิบัติของพระโพธิ์สัตย์
18. Though one may have an impoverished life, always be disparaged by others,
afflicted by dangerous illness and evil spirits, to be without discouragement and to
take upon oneself all the misdeeds and suffering of beings is the bodhisattvas’
practice.
18. แม้ชีวิตของเราจะยากจน ถูกนินทาว่าร้ายจากผู้อื่นอยู่เสมอ เป็นทุกข์จากการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง ทั้งเจ็บป่วยทางกาย และถูกภูตผีปีศาจทำร้าย การไม่มีความรู้สึกท้อแท้และน้อมรับเอาความชั่วร้ายและความเจ็บปวดของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงไว้ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
19. Though one may be famous and revered by many people or gain wealth like that
of Vaishravana, having realized that worldly fortune is without essence, to be
unconceited is the bodhisattvas’ practice.
19. แม้เราอาจจะมีชื่อเสียงและมีผู้อื่นมากมายมาเคารพยกย่อง และร่ำรวยดุจดั่งเทพแห่งทรัพย์ การประจักษ์ว่าโชคลาภทั้งหลายในโลก ไม่มีแก่นสาร การปราศจากความหยิ่งทะนงคือกิจปฎิบัติของประโพธิสัตว์
20. If outer foes are destroyed while not subduing the enemy of one’s own hatred,
enemies will only increase. Therefore, subduing one’s own mind with the army
of love and compassion is the bodhisattvas’ practice.
20. ในยามที่ไม่สามารถปราบความโกรธและความเกลียดชังภายในตัวเรา แม้ว่าจะสามารถปราบศัตรูภายนอกได้ ก็จะมีแต่ศัตรูเพิ่มมากขึ้น การเอาชนะจิตใจของเราให้สงบได้ด้วยกองทัพแห่งความเมตตาและความกรุณา คือกิจปฎบัติของพระโพธิสัตว์
21. Indulging sense pleasures is like drinking salt water – however much one
indulges, thirst and craving only increase. Immediately abandoning whatever
things give rise to clinging and attachment is the bodhisattvas’ practice.
21. ความสุขจากความรู้สึกภายนอกต่างๆเปรียบเสมือนน้ำเค็ม ที่ยิ่งดื่มมากก็ยิ่งเกิดความกระหายมาก การปลดปล่อยสิ่งที่ทำให้เกิดการยึดติดคือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
22. Appearances are one’s own mind. From the beginning, mind’s nature is free from
the extremes of elaboration. Knowing this, not to engage the mind in subject object
duality is the bodhisattvas’ practice.
22. ทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นเป็นเพียงจิตของตนเอง ตั้งแต่เริ่มแรกจิตปราศจากการปรุงแต่งใดๆ การเข้าใจเรื่องนี้และไม่ยึดติดกับการแยกแยะระหว่างผู้รู้กับสิ่งที่รู้ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
23. When encountering pleasing sense objects, though they appear beautiful like a
rainbow in summertime, not to regard them as real and to abandon clinging
attachment is the bodhisattvas’ practice.
23. เมื่อพบกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน แม้ว่าจะสวยงามดังสายรุ้งในฤดูร้อน พึงอย่าเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ การไม่มองสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นของจริง และการละทิ้งอุปาทานทั้งปวง คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
24. Diverse sufferings are like the death of a child in a dream. By apprehending
illusory appearances as real, one becomes weary. Therefore, when encountering
disagreeable circumstances, viewing them as illusory is the bodhisattvas’ practice.
24. ความทุกข์ต่างๆเปรียบเสมือนการตายของเด็กในความฝัน การหลงคิดไปว่าสิ่งลวงต่างๆเป็นจริงทำให้เราอ่อนล้า ดังนั้น เมื่อพบกับเหตุการ์ณที่ไม่พึงประสงค์ ให้มองว่าเป็นสิ่งลวง นี่คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
25. If it is necessary to give away even one’s body while aspiring to enlightenment,
what need is there to mention external objects? Therefore, practicing generosity
without hope of reciprocation or positive karmic results is the bodhisattvas’
practice.
25.เมื่อจำต้องสละแม้ร่างกายของเราเมื่อเรามุ่งตรงสู่พระนิพพาน แล้วจะมีเหตุอันใดที่ต้องกล่าวถึงวัตถุภายนอกเล่า เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญทานและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โดยไม่หวังผลตอบแทนหรือไม่หวังผลบุญ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
26. If, lacking ethical conduct, one fails to achieve one’s own purpose, the wish to
accomplish others’ purpose is laughable. Therefore, guarding ethics devoid of
aspirations for worldly existence is the bodhisattvas’ practice.
26. หากขาดเสียซึ่งศีลแล้ว ก็จะไม่สามารถแม้บรรลุจุดประสงค์ของตนเอง ดังนั้นความปรารถนาที่จะสนองความประสงค์ของผู้อื่นก็ยิ่งเป็นเรื่องตลก เพราะฉะนั้น การรักษาศีลโดยปราศจากความปรารถนาในทางโลก คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
27. To bodhisattvas who desire the pleasures of virtue, all those who do harm are like
a precious treasure. Therefore, cultivating patience devoid of hostility is the
bodhisattvas’ practice.
27. สำหรับพระโพธิสัตว์ที่ปรารถนาความสุขจากพระธรรมนั้น ทุกๆคนที่ก่อให้เกิดภัยอันตรายเป็นดั่งทรัพย์สมบัติอันมีค่า เพราะฉะนั้นการฝึกฝนขันติโดยปราศจากความมุ่งร้ายใดๆ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
28. Even hearers and solitary realizers, who accomplish only their own welfare, strive
as if putting out a fire on their heads. Seeing this, taking up diligent effort – the
source of good qualities – for the sake of all beings is the bodhisattvas’ practice.
28. แม้พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ซึ่งบรรลุถึงการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนเอง ก็ยังเพียงพยายามราวกับกำลังจะดับไฟที่กำลังไหม้อยู่บนศีรษะ เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว การปฏิบัติวิริยะ การขยันหมั่นเพียร อันเป็นบ่อเกิดของคุณลักษณอันดีงาม เพื่อยังประโยชน์แก่สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
29. Having understood that disturbing emotions are destroyed by insight possessed
with tranquil abiding, to cultivate meditative concentration which perfectly
transcends the four formless absorptions is the bodhisattvas’ practice.
29. เมื่อเข้าใจแล้วว่ากิเลสต่างๆถูกทำลายได้ด้วยญาณอันเกิดจากสมถสมาธิ การฝึกฝนสมาธิอันพ้นไปจากอรูปฌานทั้งสี่อย่างสมบูรณ์ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
30. If one lacks wisdom, it is impossible to attain perfect enlightenment through the
other five perfections. Thus, cultivating skillful means with the wisdom that
doesn’t discriminate among the three spheres is the bodhisattvas’ practice.
30. หากขาดเสียซึ่งปัญญา การตรัสรู้ที่สมบูรณ์แบบโดยอาศัยบารมีทั้งห้าที่เหลือนั้นจะเป็นไปไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้ การฝึกฝนอุบายหรือเส้นทางด้วยปัญญาที่ไม่แบ่งแยกระหว่างโลกทั้งสาม คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
31. If, having merely the appearance of a practitioner, one does not investigate one’s
own mistakes, it is possible to act contrary to the Dharma. Therefore, constantly
examining one’s own errors and abandoning them is the bodhisattvas’ practice.
31. หากเรามีแต่เพียงรูปร่างท่าทางของผู้ปฏิบัติ แต่ไม่ตรวจสอบข้อบกพร่องของตนเอง จะเป็นไปได้ว่าเราอาจปฎิบัติในทางที่ตรงกันข้ามกับพระธรรม เพราะฉะนั้น การหมั่นตรวจสอบข้อบกร่องของตนเอง และการกำจัดข้อบกพร่องเหล่านั้น คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
32. If, influenced by disturbing emotions, one points out another bodhisattva’s faults,
oneself is diminished. Therefore, not speaking about the faults of those who have
entered the Great Vehicle is the bodhisattvas’ practice.
32. หากเราถูกกระทบจากกิเลสต่างๆ แล้วชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของพระโพธิสัตว์องค์อื่นๆ เราเองก็จะด้อยลงไป ดังนั้น การไม่พูดถึงข้อผิดพลาดของผู้ที่ได้เข้าสู่เส้นทางของมหายาน คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
33. Because the influence of gain and respect causes quarreling and the decline of the
activities of listening, pondering and meditation, to abandon attachment to the
households of friends, relations and benefactors is the bodhisattvas’ practice.
33. เนื่องจากลาภกับยศทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท และทำให้ความสามารถในการฟัง การไตร่ตรองกับการทำสมาธิลดถอยลง การไม่ยึดติดกับบ้านเรือนของเพื่อนๆ ญาติๆ หรือผู้ให้การอุปภัมภ์ทั้งหลาย คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
34. Because harsh words disturb others’ minds and cause the bodhisattvas’ conduct to
deteriorate, abandoning harsh speech which is unpleasant to others is the
bodhisattvas’ practice.
34. เนื่องด้วยการพูดหยาบคายและเพ้อเจ้อทำให้จิตผู้อื่นไม่สงบ และทำให้ความประพฤติของพระโพธิ์สัตว์เสื่อมถอยลง การไม่พูดพยาบคายและไม่พูดเพ้อเจ้อที่ทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
35. When disturbing emotions are habituated, it is difficult to overcome them with
antidotes. By arming oneself with the antidotal weapon of mindfulness, to
destroy disturbing emotions such as desire the moment they first arise is the
bodhisattvas’ practice.
35. เมื่อกิเลสได้ฝังลึกลงไปจนเป็นนิสัย การเอาชนะกิเลสก็ทำได้โดยยาก แต่ด้วยอาวุธอันได้แก่สติ การทำลายกิเลสต่างๆเช่นโลภะได้ในทันใดที่กิเลสนั้นเริ่มเกิดขึ้นมา คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
36. In brief, whatever conduct one engages in, one should ask, “What is the state of
my mind?” Accomplishing others’ purpose through constantly maintaining
mindfulness and awareness is the bodhisattvas’ practice.
36. โดยสรุปแล้ว ไม่ว่าเราจะทำอะไรอยู่ก็ตาม เราควรถามตัวเองว่า จิตของเรากำลังอยู่ในสภาวะใด การตอบสนองจุดมุ่งหมายของผู้อื่นด้วยการมีสติสัมปชัญญะพร้อมอยู่ตลอด คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
37. In order to clear away the suffering of limitless beings, through the wisdom
realizing the purity of the three spheres, to dedicate the virtue attained by making
such effort for enlightenment is the bodhisattvas’ practice.
37. เพื่อการขจัดปัดเป่าความทุกข์ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงที่ไม่มีจำนวนจำกัด ด้วยปัญญาที่เข้าใจความบริสุทธิ์ของโลกทั้งสาม การอุทิศผลบุญที่ได้มาจากการพยายามนี้ให้แก่การตรัสรู้ คือกิจปฎิบัติของพระโพธิสัตว์
Following the speech of the Sublime Ones on the meaning of the sutras, tantras
and their commentaries, I have written The Thirty-Seven Practices of Bodhisattvas
for those who wish to train on the bodhisattvas’ path.
Due to my inferior intellect and poor learning, this is not poetry that will please
scholars, yet as I have relied upon the sutras and the speech of the Sublime Ones,
I think the bodhisattva practices are not mistaken.
However, because it is difficult for one of inferior intellect like myself to fathom
the depth of the great deeds of bodhisattvas, I beseech the Sublime Ones to
forbear my errors such as contradictions and incoherent reasoning.
By the virtue arising from this may all migrators become, through excellent
conventional and ultimate bodhicitta, like the Protector Chenrezig who does not
abide in the extremes of existence or peace.
ข้าพเจ้าได้เขียน กิจปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ 37 ประการ ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเกี่ยวกับความหมายของพระสูตร พระตันตระและอรรถกถาต่างๆ ให้แก่ผู้ที่ต้องการฝึกฝนตนตามแนวทางของพระโพธิสัตว์
เนื่องจากสติปัญญาอันจำกัดและการศึกษาเล่าเรียนอันน้อยของข้าพเจ้า นี่ไม่ได้เป็นบทกลอนที่ไพเราะ ที่จะทำให้เหล่านักวิชาการพอใจ แต่ข้าพเจ้าก็ได้ยึดถือพระสูตรและพระพุทธพจน์ ข้าพเจ้าคิดว่ากิจปฏิบัติของพระโพธิสัตว์นี้ไม่มีข้อผิดพลาด
แต่เนื่องด้วยความด้อยสติปัญญาของข้าพเจ้าที่จะหยั่งลงถึงก้นบึ้งของการปฏิบัติอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอจึงวิงวอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายโปรดประทานอภัยแก่ข้อผิดพลาดต่างๆ เช่นการไม่เข้ากัน หรือข้อความที่ขัดแย้งกันในบทเหล่านี้
ด้วยอำนาจของผลบุญที่เกิดขึ้นจากการประพันธ์บทเหล่านี้ ขอให้สัตว์โลกทั้งหลายที่เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ จงกอปรไปด้วยโพธิจิตทั้งสองประการ อันได้แก่โพธิจิตสมมติและโพธิจิตปรมัตถ์ และเป็นดั่งพระอวโลกิเตศวรผู้ปกป้อง ผู้ทรงไม่ดำรงอยู่ในสุดโต่งทั้งสอง อันได้แก่สังสาระและนิพพาน
This was written for the benefit of himself and others by the monk Thogme, an
exponent of scripture and reasoning, in a cave in Ngülchu Rinchen.
At the request of Garchen Triptrül Rinpoche, this translation was completed in 1999 by the disciple Ari-ma. Additional revisions were made by her in the spring of 2002. English translation copyright Ari Kiev 2002. This text is for free reproduction and distribution. It’s copyright is solely for the purpose of authentication.
บทประพันธ์นี้เขียนขึ้นมาโดย พระภิกษุท็อกเม ผู้อธิบายพระคัมภีร์และเหตุผลต่างในการปฏิบัติจำศีล ในถ้ำใน งุลจู รินเจ็น เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านเองและผู้อื่น
จากคำขอของพระอาจารย์การ์เช็น ตริปตรุล รินโปเช บทประพันธ์นี้ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษสำเร็จเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2542 โดยลูกศิษย์อริมา โดยเธอได้แก้ไขเพิ่มเติมในฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2545
บทแปลภาษาอังกฤษสงวนลิขสิทธิ์โดย อริมา บทประพันธ์นี้สามารถทำไปเผยแพร่แจกแจงได้ การสงวนลิขสิทธ์นั้นเพียงเพื่อการตรวจสอบความถ่องแท้
ราม นฤหล้า ผู้แปลเป็นภาษาไทย
References:
http://www.garchen.net/resources/37practices.pdf (Garchen Institute – Drikung Kagyu)
ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิ
Thursday, October 4, 2007
ทางไปบ้านมูลนิธิที่ลาดพร้าว
บ้านอยู่ในซอย 11 ถนนลาดพร้าว อยู่ใกล้ๆห้างคาร์ฟูร์ลาดพร้าว ประมาณหนึ่งกิโลเมตรจากปากทางลาดพร้าว หากมาด้วยรถส่วนตัวสามารถจอดที่ห้างคาร์ฟูร์แล้วเดินเข้ามาได้ ใช้เวลาประมาณห้านาที โดยเดินออกจากหน้าห้างแล้วเลี้ยวมาทางซ้าย จะพบซอย 9 แล้วก็ซอย 11 หรือถ้ามาทางรถใต้ดิน ให้ขึ้นที่สถานีลาดพร้าว มาที่ทางออกซอยลาดพร้าว 17 แล้วเดินย้อนมายังซอย 11 ใช้เวลาประมาณสิบนาที
ซอย 11 เป็นซอยสั้นประมาณ 100 เมตร บ้านอยู่สุดซอยทางขวามือ รั้วสีเหลือง มีประตูคั่นกลางซอย บ้านเลขที่ 695 โทร.ที่บ้าน 02 511 4112
ชุดการบรรยายพันดารา
ครั้งที่ 1 วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
“วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์” ของท่านศานติเทวะ บทที่ 1-5
ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
*ผู้ที่สนใจโปรดเตรียมหนังสือ วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ แปลโดย ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์มาในการบรรยายด้วย หนังสือหาซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ และร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป*
ครั้งที่ 2 วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
การปฏิบัติธรรมแบบทิเบต
ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
ครั้งที่ 3 การบรรยายพิเศษ วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
"การทำสมาธิกับการบำบัดความเครียดกับซึมเศร้า" (Meditation as an Antidote for Depression)
Ringu Tulku Rinpoche
ห้อง 302 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 19.00 - 21.00 น.
บรรยายภาษาอังกฤษ มีแปลเป็นไทย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Ringu Tulku Rinpoche จากเว็บ www.bodhicharya.org
และ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ี่
ครั้งที่ 4 การบรรยายพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
การจำศีลกับการฝึกจิต (Retreat and Mind Training)
Ringu Tulku Rinpoche
บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ มีแปลเป็นไทย เวลา 19.00 - 21.00 น. ที่บ้านของมูลนิธิ
โปรดจองที่นั่งล่วงหน้าที่คุณอารีรัตน์ ศิริคูณ โทร. 089-890-4015 Email areeratana@cpbequity.co.th หรือที่ อ. โสรัจจ์ โทร. 089-686-6331 Email s.hongladarom@gmail.com.
Thursday, September 20, 2007
Wednesday, September 19, 2007
His Holiness Phakchok Rinpoche to Teach at Chula
http://www.thousand-stars.org/HHPR/
Thursday, September 13, 2007
สานศิลป์สู่ศานติ: พุทธศิลป์และวัฒนธรรมทิเบตและหิมาลัย
มูลนิธิพันดารา ร่วมกับ ศูนย์จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอเชิญผู้สนใจร่วมเสวนาและแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสรรค์สร้างสันติภาพของโลก
สานศิลป์สู่ศานติ: พุทธศิลป์และวัฒนธรรมทิเบตและหิมาลัย
วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม 2550
เวลา 9.00-18.00 น.
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวข้อการเสวนา:
ทิเบต: ชัมพาลาที่ค้นพบ
ประสบการณ์ของช่างศิลป์ไทยในการไปวาดภาพพระบฏกับช่างศิลป์ทิเบต
สัญลักษณ์พระพุทธศาสนาในศิลปะทิเบต
ความหมายของอุปกรณ์ในการประกอบพิธีกรรม
มนตรากับศานติ
วิทยากร:
มล. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ ปรัชวัลย์ เกตวัลห์ Vancelee Teng ชลทิศ ตามไท กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
Wednesday, September 5, 2007
Three Hundred Years of Buddhism in Russia
A Special Lecture in Commemoration of One Hundred and Ten Years of Thai-Russian Relation
Wednesday, 12 September 2007,
Room 302, Boromrajakumari Bldg., Faculty of Arts, Chulalongkorn University,
16.00 - 18.00 hours
The public is cordially invited to attend a public lecture by Dr. Andrey Terentyev, translator of His Holiness the Dalai Lama and editor of the Russian translation of the Lamrim Chemo (Graded Path to Enlightenment), a classic and foremost teaching in Tibetan Buddhism written by Tsongkhapa. The lecture will be accompanied by a number of illustrations.
Contact: Areerat Sirikhoon at areeratana@cpbequity.co.th or call 081-648-1195, or Soraj Hongladarom or call 089-686-6331.
ANNOUNCEMENT FILE
Tuesday, September 4, 2007
Tibet and Himalayan Seminar
และหิมาลัย" เลื่อนไปเป็นวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม 2550 ตั้งแต่เวลา 9.00 น.
นอกจากการเสวนา จะมีการแสดงนิทรรศการ การขายของที่ระลึก
และกิจกรรมที่น่าสนใจอื่นๆ
รายละเอียดจะได้แจ้งให้ทราบ สถานที่ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Seminar on Tibetan and Himalayan Buddhist Arts and Culture has been postponed to Saturday 13 October 2007 at Room 105 Mahachulalongkorn Building, Chulalongkorn University. More detial will be announced soon.
Thursday, August 30, 2007
New Look of the 1,000 Stars Web
Tuesday, August 28, 2007
สานศิลป์สู่ศานติ พุทธศิลป์และวัฒนธรรมทิเบตเพื่อสันติภาพ
ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ชื่นชมวัฒนธรรมและศิลปะทิเบต ร่วมอภิปรายการนำพุทธศิลป์ทิเบตเพื่อสรรค์สร้างสันติภาพ พร้อมทั้งชมภาพยนตร์เรื่อง Himalaya ซึ่งนำเสนอมุมมองชีวิตชนเผ่าเร่ร่อนทิเบต และความงดงามของดินแดนหลังเืืทือกเขาหิมาลัย
ผู้จัด มูลนิธิพันดาราและศูนย์จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันเวลา วันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2550 เวลา 9.30-16.00 น.
สถานที่ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำรองที่นั่ง อารีรัตน์ ศิริคูณ โทร 081 648 1195 Email: areeratana@cpbequity.co.th ฐานิตา โทร 089 208 7611 หรืออีเมล์ ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ที่ hkesang@yahoo.com
Seminar on "Tibetan Buddhist Arts and Culture for World Peace" will be held on September 29, 2007 at Room 707, Boromrajakumari Building, Chulalongkorn University. The talks will be in Thai.They will be followed by the screening of the movie Himalaya. Contact Areerat Sirikhoon at 081 648 1195 Email: areeratana@cpbequity.co.th; or Krisadawan Hongladarom at hkesang@yahoo.com for more detail.
Thursday, August 23, 2007
Presentation file by Dr. Sorrayut
Tuesday, August 21, 2007
A. Vichit's Presentation File
"Why Good Things Happen to Good People?"
The Happiness Conference
Friday, August 17, 2007
TARA GREAT STUPA FOR PEACE AND HARMONY
Press Release
TARA GREAT STUPA FOR PEACE AND HARMONY
The Thousand Stars Foundation, a non-profit organization founded in Thailand to promote peace and harmony through mutual dialogs among the various Buddhist traditions of the world, is building the “Tara Great Stupa for Peace and Harmony” on a 68-rai plot of land in Hua Hin, Prachuab Khiri Khan.
To be born as a human being is a very rare event. Thus it is fitting that humans should use their bodies in the way most beneficial to oneself and others. A stupa houses objects that remind everyone of the Buddha and his teachings, and since it lasts for lifetimes, building a stupa thus incur a vast amount of merit since it functions as a focus point of energies and activities related to the teachings of the Buddha and will remain so for centuries.
The Buddha has shown various benefits of building a stupa. These include happiness, prosperity, and joy. Seeing and worshiping the stupa and thus becoming faithful in the Triple Gems, the minds of the faithful will enter the stream of Dharma, eventually leading to Liberation from the cycle of birth and rebirth.
The construction of the Great Stupa comes at a very opportune time, as this year in one in which His Majesty the King, the Great Dharmajara, will turn 80 years old. It is thus fitting that Thai people join hands to build the Great Stupa, which will engender immense benefit both to the land and to the people and all sentience beings.
Those who are interested in donating for the construction of the Stupa, or to learn more about the project, please call Krisadawan Hongladarom at 08-1343-1586, or write her at hkesang@yahoo.com.
“Whoever sees, hears, remembers, or touches the Stupa will receive all the joys of the Buddhas and all the blessings.”
“May the unwholesome deeds of countless Maras be transformed! May evil in the world disappear! May peace happen in the world no matter where it is! May there be a seeing that all phenomena and all things are but vast nature of Emptiness! May the Dharma stay permanent and pervade everywhere in the universe! May the Three Paths flourish without fail!
May the two kinds of merit be of benefit to self and others!”
Monday, July 16, 2007
ความสุขในสังคมสมัยใหม่
“ความสุขในสังคมสมัยใหม่:
จิตวิญญาณ สังคมและวิทยาศาสตร์”
"Happiness and Contemporary Society: Spirituality, Society and Science"
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 18-19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เวลา 9.00 – 18.00 น.
จัดโดยกลุ่มสนทนาพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ มูลนิธิพันดารา
ร่วมกับศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Supported by a grant from the Local Societies Initiative, Metanexus Institute
หลักการและเหตุผล
ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่หลายคนกลับไม่รู้ว่าความสุขที่แท้จริงคืออะไร สังคมสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยบริโภคนิยม มักให้ความหมายว่า ความสุขคือสิ่งที่ซื้อได้ด้วยเงิน และเป็นสิ่งเดียวกันกับความพึงพอใจทางเนื้อหนัง หรือการได้บำรุงบำเรอประสาทสัมผัสต่างๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า ยิ่งเราใช้จ่ายบริโภคไปเท่าใด ก็ดูเหมือนว่าเรายิ่งห่างไกลจากความสุขไปเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เมื่อใช้จ่ายซื้อสิ่งที่ต้องการมา ก็กลับไม่พอใจกับสิ่งนั้น ก็เลยต้องแสวงหาต่อไปอีก และก็วนเวียนอยู่เช่นนี้ไม่จบสิ้น ความสุขในสังคมสมัยใหม่จึงเป็นอะไรที่ผู้คนพยายามไขว่คว้า แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับ ดูเหมือนว่าการพูด การคิด การกระทำทั้งหลายในสังคมสมัยใหม่จะมีแต่เพื่อให้เกิดความสุข แต่กลับไม่พบความสุขที่แท้จริง ผู้คนก็ยังเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ด้วยประการต่างๆ
กล่าวโดยรวมก็คือ ความสุขเป็นยอดปรารถนาของทุกคน แต่ในท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและการบริโภคเช่นที่เป็นอยู่นี้ ความสุขกลับกลายเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกล เราอาจเปรียบได้กับม้าที่วิ่งอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เพราะอยากกินแครอทที่แขวนอยู่ข้างหน้ากับหลักที่ติดอยู่กับอานม้า ไม่ว่าม้าจะวิ่งไปมากเท่าใดหรือเร็วเท่าใด ก็ไม่ได้กินแครอทเสียที ภาพนี้สามารถอธิบายสภาพของสังคมสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี การพูดเกี่ยวกับความสุขมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่ดูเหมือนว่าไม่มีใครมีความสุขเลย
นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสุขก็ยังเรียกได้ว่าเป็น “สิ่งต้องห้าม” สำหรับนักวิชาการ เนื่องจากความสุขเป็นยอดปรารถนาแต่ดูเหมือนว่าไม่มีใครได้ครอบครอง นักวิชาการจึงมักจะพยายามหลบเลี่ยงไม่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสุขโดยตรง เหตุผลหนึ่งก็คือมักจะมีการอ้างว่า การนิยามว่าความสุขคืออะไรเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ก็น่าประหลาดใจที่เป็นเช่นนี้ เพราะทุกคนพูดถึงความสุข อยากมีความสุข ดังนั้นการบอกว่าไม่มีใครรู้แน่ว่าความสุขคืออะไรจึงเป็นเรื่องแปลก เพราะหากไม่รู้ว่าความสุขคืออะไร หรือจะนิยามความสุขว่าอย่างไร จะปรารถนาความสุขได้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับนักวิชาการทั่วๆไปก็คือว่า นอกจากจะนิยามคำว่า “ความสุข” ได้ค่อนข้างลำบากแล้ว ก็ยังประสบปัญหาว่าจะวัดปริมาณของความสุขได้อย่างไร ประเทศภูฐานเป็นประเทศแรกที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ล้อเลียนแนวคิดเกี่ยวกับ “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” ในเศรษฐศาสตร์
ความแตกต่างกันก็คือว่า ผลผลิตมวลรวมประชาชาติเป็นจำนวนการผลิตสินค้าและบริการทั้งหมดของผู้คนในประเทศ ซึ่งถือกันว่าเป็นมาตรวัดระดับการพัฒนาของประเทศนั้นๆ ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา มีการกระพือกระแสแนวคิดที่ว่า ผลผลิตมวลรวมประชาชาติเป็นยอดปรารถนาของประเทศต่างๆ ซึ่งจะทำให้ประชาชนในประเทศนั้นมี “ความสุข” หรือมี “คุณภาพชีวิต” ที่ดียิ่งขึ้น แต่ปัญหานานับประการที่เกิดขึ้นจากแนวคิดนี้ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายประการ ที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงจากการพัฒนาผลผลิตมวลรวมเช่นนี้ ตัวอย่างเช่น อัตราการหย่าร้างเพิ่มมากขึ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การขยายตัวของธุรกิจข้ามชาติซึ่งคุกคามวิถีชีวิตดั้งเดิม และอีกหลายประการ แม้จะโหมโฆษณาว่า การเพิ่มผลผลิตมวลรวม หรือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะเป็นยอดปรารถนาของสังคม ซึ่งก็มีนัยยะว่าการเพิ่มผลผลิตดังกล่าวเป็นหนทางสู่ความสุข แต่ผลที่เกิดขึ้นก็คือว่า ความสุขนั้นแท้จริงแล้วดูจะไม่มีส่วนสัมพันธ์กับอัตราการเพิ่มผลผลิตมวลรวม หรืออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังที่เคยคิดกัน
ดังนั้น ประเทศภูฐานจึงประกาศว่า จะให้ความสุขมวลรวมประชาชาติเป็นดัชนีในการพัฒนา แทนที่จะเป็นผลผลิตมวลรวม ซึ่งแนวคิดนี้ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน นอกจากนี้ในปัจจุบัน แม้แต่วิทยาศาสตร์เองก็เริ่มให้ความสนใจกับความสุขมากยิ่งขึ้น โดยมีงานวิจัยใหม่ๆเกี่ยวกับสถานะของสมองเมื่อมีความสุข หรือบทบาทของการฝึกจิตแบบพระพุทธศาสนาต่อการทำงานทางสรีรวิทยาของสมอง เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นการแสดงการเชื่อมโยงกันโดยตรงของสรีรวิทยา และมิติที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรมเช่นเรื่องความสุขนี้
เมื่อสถานการณ์ของโลกสมัยใหม่กับความสุขเป็นเช่นนี้ จึงควรที่เราจะมาศึกษาวิจัย และทำความเข้าใจกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับบทบาทของความสุขในสังคมสมัยใหม่ ว่าทำอย่างไรจึงจะเกิดความสุขขึ้นมาได้ โดยที่ไม่ใช่ความสุขที่โฆษณาทางสื่อมวลชน ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งในสังคมไทยสมัยใหม่ก็คือว่า ผู้คนเริ่มโหยหาคำตอบทางจิตวิญญาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการบริโภคไม่สามารถให้ความสุขได้ ผู้คนเริ่มหันมามองหาทางเลือกอื่นๆ และมิติทางจิตวิญญาณหรือศาสนานี้เองที่จะเป็นคำตอบได้อย่างดี
อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องไม่ติดอยู่ในกับดักของบริโภคนิยม โดยต้องไม่หลงไปกับ “บริโภคนิยมทางจิตวิญญาณ” (spiritual consumerism) ซึ่งเกิดจากการทำมิติทางจิตวิญญาณให้กลายเป็นสินค้าที่มาบริโภคกัน ไม่ต่างจากสินค้าและบริการประเภทอื่น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย ดังนั้นเป้าหมายประการหนึ่งของการประชุมนี้ก็คือ การพยายามหาคำตอบว่า ความสุขนั้นจะหามาได้อย่างไร ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขท่ามกลางกระแสของสังคมสมัยใหม่ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยที่มุ่งศึกษาวิจัยความสุขในมิติต่างๆเป็นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้จะเป็นปัญหาที่การประชุมนี้มุ่งจะให้คำตอบ
วัตถุประสงค์
(1)เสนอทางออกให้แก่ผู้คนในสังคมสมัยใหม่ว่าความสุขที่แท้จริงและยั่งยืนนั้น จะได้มาได้อย่างไร
(2)เสนอแง่มุมใหม่ของการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความสุขจากมุมมองของวิชาการสาขาต่างๆ เช่นจิตวิทยา ประสาทวิทยา เศรษฐศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา พยาบาลศาสตร์ แพทยศาสตร์ และอื่นๆ
(3)กระตุ้นความสนใจที่จะค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับความสุขในแง่มุมต่างๆในสังคมไทย
การลงทะเบียน
ไม่เก็บค่าลงทะเบียน โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้า ที่คุณอารีรัตน์ ศิริคูณ Email: areeratana@cpbequity.co.th โทร. 081-648-1195 คุณธนิตา ประภาตะนันทน์ Email: thanita_ps@hotmail.com โทร. 089-208-7611 หรือคุณอรุณี มุศิริ a_musiri@yahoo.com โทร. 089-481-7754
กำหนดการ
เสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2550
8.30-9.00 ลงทะเบียน/รับเอกสาร
9.00-9.30 เปิดการประชุม
สุลักษณ์ ศิวรักษ์
9.30-10.15 ความสุข ภาวะสูงวัย และจิตวิญญาณ
ประสาน ต่างใจ
10.15-10.45 พักรับประทานน้ำชา
10.45-11.30 ความสุข วิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนา
วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
11.30-12.15 ความสุขในปรัชญาจีน
ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์
12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-13.45 ความสุขในฐานะคุณค่าของสังคม
วีระ สมบูรณ์
13.45-14.30 ความสุขของผู้ทำงานเพื่อสังคม
พิมใจ อินทะมูล
14.30-15.15 ความสุข จิตวิญญาณ และผู้ป่วยระยะสุดท้าย
สิวลี ศิริไล
15.15-15.30 พักรับประทานน้ำชา
15.30-16.15 “ความสุขของกะทิ”
งามพรรณ เวชชาชีวะ
16.15-17.00 ทำการสอบให้เป็นคำตอบของความสุข
สรยุทธ รัตนพจนารถ
17.00-17.45 เหตุใดสิ่งดีๆจึงมักจะเกิดกับคนดีๆ
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
อาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม
9.00-9.30 ลงทะเบียน/รับเอกสาร
9.30-10.15 สุขภาพ ความมั่งคั่ง ความสุข
วิจิตร บุณยะโหตระ
10.15-10.45 พักรับประทานน้ำชา
10.45-11.30 นักทำใจให้เป็นสุข
กำพล ทองบุญนุ่ม
11.30-12.15 ความสุขในปรัชญาอินเดีย
ประพจน์ อัศววิรุฬหการ
12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.15 ความสุขในพระพุทธศาสนา
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี)
14.15-15.00 ดัชนีวัดความสุขกับโลกาภิวัตน์
เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ
15.00-15.15 พักรับประทานน้ำชา
15.15-15.45 ภาพยนตร์เรื่อง "เรื่องจริงบนแดนหลังคาโลก"
15.45-17.45 เสวนาพิเศษเรื่อง "ความสุขหลังเลนส์ ความสุขบริสุทธิ์ และความสุขแบบทิเบต"
อกนิษฐ์ มาโนษยวงศ์
ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์
ปรัชวัณ เกตวัลย์
กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
Tibetan Medicine and the Human Side of Cancer
Sunday, July 22, 2007, 8:30 to 16:30 hours
Room 105, Maha Chulalongkorn Bldg., Chulalongkorn University
Tibet has had a long and continuous for more than two millennia. Apart from its role as the only culture that preserves the latest form of Buddhism that is lost elsewhere, Tibet also boasts a highly developed medical culture that is beginning to be appreciated by the world. In contrast to modern medicine, Tibetan medicine emphasizes different constitutions of the body and the need to prescribe therapies and medicines accordingly. It promotes an integration between the physical body, the mind and the environment, believing that they all are essentially interconnected, and the practice of medicine needs to pay attention to the integration. Moreover, it strongly emphasizes the spiritual aspect of the integration. The goal of medicine is not only to cure the body or the mind through mechanical or chemical means, but also through the integration informed by spirituality. It is believed that the body or the mind cannot be fully healed if the spirituality dimension is ignored. By doing good things, one has a good body and mind too.
The Thousand Stars Foundation is fortunate that Dr. Tsedor Nyerongsha, Director of the Nyerongsha Medical Institute, Lhasa, Tibetan Autonomous Region, China, will come to visit Bangkok as the guest of the Foundation, and to present a lecture on the basic principles of Tibetan medicine and his experiences as a doctor in the conference, which will be held on Sunday, July 22, 2007 at Room 105, Maha Chulalongkorn Building, Chulalongkorn University. Dr. Nyerongsha is part of a long line of perhaps the foremost medical family in Tibet. His ancestors were the personal doctors of many Dalai Lamas in the past, and he belongs to the seventh generation of this illustrious family. He learned medicine from his mother and maternal grandfather, and is now practicing tirelessly to help his patients in Lhasa. He used to come to Thailand before in January this year, with his sister, who is also a medical doctor living and practicing now in the United States and her husband, who is also a Tibetan doctor and a modern neuroscientist. Dr. Nyerongsha was deeply impressed by Thailand and the Thai people and, after having seen a number of Thai patients both in Bangkok and in Lhasa, decided to come to Thailand once more so that Thai people could learn more about Tibetan medicine.
Apart from Dr. Nyerongsha’s lecture, the conference will also feature a talk by Dr. Noppadol Sopharatanapaisarn, an oncologist from one of the best hospitals in Thailand who has been working on how the treatment of cancer could be more ‘humanized.’ Instead of looking at cancer as an enemy, something that needs to be defeated or totally eliminated from the earth, the new approach takes a more holistic look at the situation. Perhaps one can find meaning in life through cancer, and put the disease on a grander scheme of things. Dr. Noppadol will talk about a new book, The Human Side of Cancer, in which the authors talk about the changing role of medical doctors in the treatment of the disease and the need to put more human aspect to the task.
The conference is free of charge, but please register by Friday, July 20 at Khun Areerat Sirikhoon, areeratana@cpbequity.co.th, mobile phone: 081-648-1195, or Khun Arunee Musiri, a_musiri@yahoo.com, mobile phone: 089-481-7754. The conference language is Thai.
The conference is organized by the Thousand Stars Foundation Buddhism and Science Group, in collaboration with the Center for Ethics of Science and Technology, Chulalongkorn University.
Program
8.30-9.00: Registration
9.00-10.30: Lecture on “Tibetan Medicine: Experiences of a Seventh Generation Member of a Medical Family” Speaker, Dr. Tsedor Nyerongsha (Nyerongsha Medical Institute, Lhasa)
10.30-10.45: Break (Tea/coffee/refreshments)
10.45-12.15: Screening of Documentary Film “The New Medicine”
12.15-13.00: Lunch
13.00-14.30: Panel Discussion “Modern Medicine and Alternative Medicine: Solutions for Thailand” Panelists: Dr. Noppadol Sopharatanapaisarn and Dr. Soraj Hongladarom
14.30-15.00: Break (Tea/coffee/refreshments)
15.00-15.30: Talk about the book The Human Side of Cancer, led by Dr. Noppadol Sopharatanapaisarn
15.30-16.30: Questions and Answers -- General Discussion.
Wednesday, July 11, 2007
การแพทย์ทิเบตกับการบำบัดโรคมะเร็ง: ศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์
ร่วมกับศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอเชิญผู้สนใจเข้าฟัง
การบรรยายและการอบรมเรื่อง
"การรักษาโรคแบบทิเบต การบำบัดโรคมะเร็ง และศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์"
(รายละเอียดโปรดคลิกที่นี่)
วิทยากร: Dr. Tsedor Nyerongsha นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล
วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2550 เวลา 9.00-16.30 น.
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำหนดการการประชุม
8.30-9.00 ลงทะเบียน/รับเอกสาร
9.00-10.30 การบรรยายเรื่อง "การรักษาโรคแบบทิเบต: ประสบการณ์ของหมอในตระกูลแพทย์ 7 รุ่นอายุ"
Dr. Tsedor Nyerongsha (Nyerongsha Medical Institute, Lhasa)
10.30-10.45 พักรับประทานน้ำชา/กาแฟ
10.45-12.15 ภาพยนตร์เรื่อง The New Medicine
12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 การอภิปรายเรื่อง "การแพทย์สมัยใหม่กับการแพทย์ทางเลือก: ทางออกสำหรับสังคมไทย"
นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ (ผู้ร่วมอภิปรายและดำเนินรายการ)
14.30-15.00 พักน้ำชา/กาแฟ
15.00-16.30 การบำบัดโรคมะเร็ง: มุมมองจากศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์ (Human science of cancer)
นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล
*ไม่เก็บค่าลงทะเบียน โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้า*
ติดต่อ: คุณอารีรัตน์ ศิริคูณ โทร. 081-648-1195 Email: areeratana@cpbequity.co.th หรือ
คุณอรุณี มุศิริ โทร. 089-481-7754 Email: a_musiri@yahoo.com
Sunday, July 1, 2007
บทสวดเจ็ดแขนง
ข้าฯขอกราบพระพุทธเจ้าศากยมุนี
ด้วยศรัทธาอันเต็มเปี่ยม
กับเหล่าพระชินเจ้าทั้งหลายและบุตรธิดาของพระองค์
ผู้สถิตอยู่ทั่วทั้งสิบทิศและในสามกาล
ข้าฯถวายดอกไม้ ธูปเทียน
เครื่องหอม อาหาร ดนตรี กับอีกหลายสิ่ง
ทั้งที่เป็นของจริงและที่จินตนาการขึ้น
ข้าฯขอให้เหล่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายโปรดรับไว้ด้วย
ข้าฯขอสารภาพความผิดบาปทั้งปวงที่ข้าฯเคยทำมา
อันเนื่องมาจากกิเลสต่างๆ
จากกาลเวลาอันหาจุดกำเนิดมิได้จวบจนปัจจุบัน
รวมถึงอนันตริยกรรมห้าประการ
อกุศลกรรมบทสิบประการและอื่นๆอีกมาก
ข้าฯปลื้มปิติยินดีในบุญกุศลใดๆที่
เหล่าพระสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า
พระโพธิสัตว์ และบุคคลธรรมดา
ได้กระทำมาตลอดทั่วทั้งกาลทั้งสาม
ข้าฯสวดอ้อนวอนให้กงล้อแห่งธรรมได้หมุนไป
ขอให้คำสอนของมหายานและเถรวาท
ได้แพร่กระจายออกไปในวิถีที่เหมาะแก่จริต
และจุดมุ่งหมายอันแตกต่างกันของบุคคล
ข้าฯขอวิงวอนให้เหล่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
อย่าทรงเสด็จเข้าสู่พระนิพพาน
แต่ขอให้ทรงยับยั้งอยู่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
เพื่อดูแลสรรพสัตว์ทั้งปวง ผู้เวียนว่ายอยู่ในทะเลแห่งความทุกข์
จนกว่าสังสารวัฏจะหมดเกลี้ยงจากสรรพสัตว์เหล่านี้
ขอให้บุญกุศลใดๆที่ข้าฯได้เคยประกอบมา
จงเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งการตรัสรู้ของสรรพสัตว์
ขอให้ข้าฯได้เป็นผู้นำทางอันประเสริฐ
ให้แก่สัตว์ทั้งหลายโดยไม่ชักช้าด้วยเถิด!
Sunday, May 27, 2007
ขอเชิญชวนสวดมนตร์ใหญ่ร่วมกันในวันวิสาขบูชา
ที่ภัทรกัลป์ตาราขทิรวัณ ต. หนองพลับ อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์
วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ในพฤหัสบดีที่ 31พฤษภาคม 2550ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา มูลนิธิพันดาราขอเชิญชวนสมาชิกมูลนิธิและพุทธศาสนิกชนทุกท่าน มาร่วมสวดมนตร์และสวดคาถาหัวใจของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (คาถามณี: โอม มณี ปัทเม หูม) ที่ภัทรกัลป์ตาราขทิรวัณ พร้อมกับน้อมจิตถวายสถูปประภัสสร (องค์บูรณะใหม่) ที่ขทิรวัณ
ผู้สนใจจะร่วมไปสวดมนตร์ในครั้งนี้ กรุณาติดต่อ คุณอารีรัตน์ ศิริคูณ ที่ areeratana@cpbequity.co.th โทร 086-046-6625
กำหนดการสวดมนตร์ (โดยประมาณ)
วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2550
16.00-17.00 น. รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน
17.00-17.30น. เดินประทักษิณรอบสถูปประภัสสร ตั้งจิตถวายพระสถูปเป็นเครื่องบูชาแด่พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์
17.30– 19.30น. สวดมนตร์พื้นฐานในสายเถรวาท มหายาน และวัชรยานเพื่อรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ พระพุทธเจ้า เพื่อสรรเสริญพระรัตนตรัย และเพื่อตั้งปณิธานที่จะทำงานเยี่ยงพระโพธิสัตว์ ได้แก่
1. การสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ โอวาทปาฏิโมกข์ ชัยมงคลคาถา (พาหุง)
2. การสวดบทสวดเจ็ดแขนง และปรัชญาปารมิตาสูตร
3. การสวดบูชาครูและการสวดยึดพระรัตนตรัยตามประเพณีของทิเบต การแผ่โพธิจิต และการสลายบาปกรรม
4. การสวดสรรเสริญพระคุรุปัทมสมภพ ผู้เผยแพร่คำสอนวัชรยานและคำสอนซกเช็นเพื่อการเข้าถึงจิตประภัสสร
5. การสวดสรรเสริญพระขทิรวณีตาราและพระแม่ตารา 21 องค์ พระโพธิสัตว์ ผู้เป็นองค์ ประธานของภัทรกัลป์ตาราขทิรวัณ
19.30น. พักรับประทานเครื่องดื่ม
19.45 น. สวดเผาอาหารให้สัมภเวสีและสวด "เจอด" (body offering) ในระหว่างนี้ผู้สวดมนตร์ ตั้งจิตถึงพระอวโลกิเตศวรและสวดคาถา "โอม มณี ปัทเม หูม" พร้อมกับแผ่ความเมตตากรุณาให้แก่สัมภเวสีและสัตว์โลกทั้งหกภพภูมิ
20.30 น. นั่งสมาธิถึงพระอวโลกิเตศวร
21.00 น. สวดคาถามณี 100,000 จบ ตลอดคืน
วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2550
7.00 น. รับประทานเครื่องดื่มและขนม
7.30 น. สวดมนตร์เพื่อสันติภาพของโลก
8.00 น. นั่งสมาธิเพื่อพิจารณาศูนยตา
8.15 น. อุทิศส่วนกุศล
8.30 น. เสร็จพิธี รับประทานอาหารเช้า อาบน้ำล้างหน้าที่ไร่รักธรรมะ-ชาติ
คาถาหัวใจ (สำเนียงทิเบตและเทียบเคียงกับสันสกฤต)
พระโพธิสัตว์ตารา " โอม ตาเร ตุตตาเร ตูเร โซฮา " ( โอม ตาเร ตุตตาเร ตูเร สวาหา)
พระอวโลกิเตศวร " โอม มณี เปเม ฮุง) " (โอม มณี ปัทเม หูม)
พระคุรุปัทมสมภพ " โอม อา ฮุง บันซา กูรู เปมา สิทธิ ฮุง " ( โอม อา หูม วัชระ คุรุ ปัทม สิทธิ หูม)
หมายเหตุ
1.การไปสวดมนตร์ครั้งนี้ เราจะกินอยู่อย่างง่ายๆ เหมือนการอยู่จำศีล ทางมูลนิธิจะเตรียมอาหารมังสวิรัติไว้ให้ก่อนการเดินประทักษิณ และในระหว่างสวดมนตร์ จะมีเครื่องดื่มกับขนมบริการ
2.โปรดนำหมอน ผ้าห่มบาง ๆ เบาะรองนั่ง และเสื้อแจ๊คเก็ตมาด้วย อากาศจะเย็นเล็กน้อยในตอนกลางคืน และตอนเช้าตรู่
3.ในการสวดคาถา ขอให้สวดเท่าที่ทำได้โดยตั้งจิตเป็นสมาธิ ผู้มาร่วมอาจสวดคนละ 10,000 จบ เราจะนำจำนวนที่แต่ละคนสวดได้มารวมกันให้ได้ 100,000 จบ
4.ที่ขทิรวัณในช่วงหน้าฝน อาจมียุง ขอให้นำโลชั่นทากันยุงไปด้วย
5.อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ควรนำติดตัวมาด้วย ได้แก่ ไฟฉาย รองเท้าใส่สบาย กระดาษหรือผ้าเย็น อุปกรณ์ล้างหน้าแปรงฟัน รวมทั้งน้ำดื่ม 1-2 ขวด
6.ที่ขทิรวัณมีห้องส้วมอยู่ใกล้ที่สวดมนตร์
7.ผู้มาสวดมนตร์แต่งกายสุภาพ หากจะใส่เสื้อสีขาวได้ก็จะดีเนื่องจากสีขาวเป็นสีของพระอวโลกิเตศวร
8.มูลนิธิพันดาราจะจัดเตรียมบทสวดมนตร์ให้แก่ผู้มาสวดมนตร์ทุกท่าน โปรดติดต่อคุณอารีรัตน์เพื่อสำรองที่นั่งภายในวันพุธที่ 30 พฤษภาคมนี้
Sunday, May 6, 2007
บทสวดพระมหาปณิธานอันประเสริฐ
บทสวดพระมหาปณิธานอันประเสริฐ
ในภาษาอินเดีย:
อารฺยภทฺรจรฺยปฺรณิธานราชา
ในภาษาทิเบต:
พักปะ ซังโบ เจอเบ เมินลัม จิ เจียโป
(แปลเป็นภาษาไทย):
ราชาแห่งบทสวดพระมหาปณิธาน
ปณิธานถึงการบำเพ็ญตนอันดีงามและประเสริฐ
* * *
ข้าฯขอกราบนมัสการพระมัญชุศรีผู้ประเสริฐ!
เหล่าผู้ที่สถิตอยู่ในโลก ณ ทิศทั้งสิบ ไม่ว่าจะมีประมาณเท่าใด
เหล่าสิงห์ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางหมู่มนุษย์ที่ปรากฏอยู่ในกาลทั้งสาม--
ท่านเหล่านี้ไม่มีข้อยกเว้น
ข้าฯขอกราบนมัสการท่านทั้งหลายนี้ด้วยกาย วาจา ใจอันเปี่ยมไปด้วยความเคารพ
พลังแห่งบทสวดพระมหาปณิธานเพื่อการบำเพ็ญตนอันดีงาม
ได้นำพาเหล่าพระผู้มีชัยทั้งปวงมาในจิตใจ
ข้าฯกราบนอบน้อมด้วยกายอันมีจำนวนมากเท่ากับปรมาณูในดินแดนทั้งหลาย
ข้าฯขอกราบนมัสการเหล่าพระผู้มีชัยทั้งปวง
ในหนึ่งปรมาณูมีพระพุทธเจ้าเป็นจำนวนมากเท่ากับปรมาณูทั้งปวง
ต่างองค์ก็ทรงสถิตอยู่ท่ามกลางโอรสและธิดาของพระองค์
เช่นเดียวกันนั้น ข้าฯก็จินตนาการว่าธรรมธาตุทั้งมวล
เต็มเปี่ยมไปด้วยเหล่าพระผู้มีชัยทั้งปวง
เหล่ามหาสาครอันเต็มล้นไปด้วยคุณสมบัติอันควรแก่การยกย่องที่ไม่จบสิ้น
กอปรไปด้วยเสียงอันประกอบด้วยมหาสาครแห่งท่วงทำนองของวาจาอันไพเราะ
ข้าฯเอ่ยแสดงคุณสมบัติต่างๆของเหล่าพระผู้มีชัย
ข้าฯยกย่องเหล่าพระสุคตเจ้าทั้งมวล
มวลดอกไม้อันงามวิจิตร พวงมาลัยอันงามเลิศ
ดนตรี เครื่องประทิ่น ฉัตรแก้ว
ประทีป และธูปอันหอมระรื่น
ข้าฯขอถวายแด่พระผู้มีชัย
ผืนผ้าอันประณีต เครื่องหอม
แป้งกระแจะปริมาณมากเท่ากับขุนเขาพระสุเมรุ
ต่างก็วางเรียงอยู่อย่างงดงามเป็นเลิศ
ข้าฯขอถวายแด่พระผู้มีชัย
เครื่องบูชาอันมีปริมาณมากอันมิอาจมีอะไรยิ่งไปกว่า
ข้าฯขอบูชาเหล่าพระผู้ชัยทั้งหลายด้วยเครื่องบูชาเหล่านี้
ด้วยอำนาจแห่งศรัทธาในภัทรจรรยา
ข้าฯกราบกรานและถวายเครื่องบูชาเหล่านี้
ไม่ว่าอกุศลกรรมใดๆที่ข้าฯได้เคยกระทำมา
ด้วยกาย วาจา และก็ใจ
อันทำไปด้วยอำนาจของโลภะ โทสะ กับโมหะ
ข้าฯสารภาพความผิดเหล่านั้นทุกๆประการ
ข้าฯยินดีอนุโมทนาในบุญกุศลของทุกๆคน--
เหล่าพระผู้มีชัยในทั่วทิศทั้งสิบ พระโพธิสัตว์
พระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านที่ยังฝึกฝนอยู่
ท่านที่พ้นจากการฝึกฝนแล้ว และสัตว์โลกทั้งปวง
ข้าฯขออาราธนาให้พระผู้ปกป้อง
ผู้ทรงเป็นประทีปแก่โลกในทิศทั้งสิบ
ผู้ซึ่งได้ทรงผ่านตลอดแล้วซึ่งขั้นตอนต่างๆแห่งการหลุดพ้น
และได้ทรงบรรลุถึงพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ขอทรงหมุนกงล้อแห่งธรรมอันมิมีสิ่งใดจะยิ่งไปกว่า
ข้าฯขอวิงวอนด้วยสองมือประนม
แก่ท่านที่มุ่งจะยังพระนิพพานให้แจ้ง
ขอท่านจงทรงยับยั้งอยู่เป็นเวลานับกัปกัลป์อันมีปริมาณเท่ากับปรมาณูในดินแดนทั้งหลาย
เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของเหล่าสัตว์โลกทั้งมวลด้วยเถิด
ข้าฯขออุทิศบุญกุศลใดๆอันเกิดจากการสั่งสม
ด้วยการกราบ การถวายเครื่องบูชา การสารภาพบาป
การยินดีอนุโมทนา การอาราธนา และการวิงวอน
ให้แก่การตรัสรู้
ข้าฯถวายเครื่องบูชาแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล
กับทั้งท่านที่ทรงดำรงอยู่ในโลกทั้งหลายทั่วสิบทิศ
ขอให้ท่านที่ยังมิได้ปรากฏพระองค์
จงบรรลุถึงพระปณิธานของท่านโดยเร็ว
และขอให้ท่านจงผ่านขั้นตอนของการหลุดพ้น เพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขอให้เขตแดนทั่วทั้งสิบทิศ ไม่ว่าจะมีมากเพียงใด
จงใสสะอาดและกว้างใหญ่
ขอให้ดินแดนนี้เต็มไปด้วยพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์
ผู้ซึ่งได้เคยไปนั่งอยู่ ณ โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์อันทรงพลัง
ขอให้เหล่าสัตว์ทั้งปวงทั่วทั้งสิบทิศ ไม่ว่าจะมีมากเพียงใด
จงมีความสุข ปลอดจากโรคภัย
ขอให้เหล่าสัตว์ประพฤติตนอยู่ในทำนองคลองธรรม
และบรรลุถึงซึ่งความปรารถนาทั้งมวล
ขอให้ข้าฯได้บำเพ็ญตนเพื่อการตรัสรู้
และระลึกชาติก่อนๆของข้าฯได้
และในชาติต่อๆไปในอนาคต ตั้งแต่เกิดจนตาย
ขอให้ข้าฯได้เป็นผู้สละละทิ้งทางโลก
ด้วยการเดินตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอให้ข้าฯได้ฝึกฝนตนเอง
เพื่อบำเพ็ญจรรยาวัตรอันดีงามจนสู่จุดสูงสุด
ขอให้ข้าฯได้ดำรงอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์สะอาด
และไม่มีขาดหรือด่างพร้อย
ขอให้ข้าฯได้สอนพระสัทธรรม
ในภาษาของเหล่าเทพ ภาษาของนาคกับยักษ์
ในภาษาของกุมภัณฑ์และมนุษย์--
และในภาษาของสัตว์โลกไม่ว่าจะมีจำนวนมากเท่าใดก็ตาม
ด้วยความอ่อนน้อม ขอให้ข้าฯได้บำเพ็ญบารมีทั้งหลาย
ขอให้ข้าฯอย่าได้ลืมโพธิจิต
ขอให้อกุศลกรรมทั้งปวงและเครื่องปิดกั้นเศร้าหมอง
จงถูกชำระให้สะอาดหมดจด
ขอให้ข้าฯหลุดพ้นออกจากกรรม กิเลส และอำนาจของมาร
และขอให้ข้าฯบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่เหล่าสัตว์ในโลก
เช่นเดียวกับดอกบัวซึ่งน้ำไม่อาจเกาะอยู่ได้
เช่นเดียวกับพระอาทิตย์กับพระจันทร์ที่ลอยอยู่ไร้สิ่งบดบังอยู่บนท้องฟ้า
ทั่วทิศทั้งสิบและทั่วขอบเขตของดินแดนทั้งหลาย
ขอให้ความทุกข์ของเหล่าสัตว์ในอบายภูมิจงสงบลง
ขอให้เหล่าสัตว์ทั้งปวงจงตั้งอยู่ในความสุข
ขอให้เหล่าสัตว์ทั้งปวงจงได้รับประโยชน์
ขอให้ข้าฯนำการบำเพ็ญตนเป็นผู้ตื่นสู่จุดสูงสุด
ขอให้ข้าฯได้ทำการที่สอดคล้องกับสัตว์ทั้งปวง
ขอให้ข้าฯได้สอนการบำเพ็ญตนอันประเสริฐ
และทำเช่นนี้ตลอดไปทั่วทั้งกัปทั้งสามในอนาคต
ขอให้ข้าฯได้อยู่กับผู้ที่
การกระทำของเขาสอดคล้องกับของข้าไปตลอด
ขอให้ความประพฤติของเราและปณิธานของเรา
ทางกาย วาจา ใจ เสมอเหมือนกัน
ขอให้ข้าฯได้พบกับกัลยาณมิตร
ผู้ปรารถนาจะยังประโยชน์ให้แก่ข้าฯเสมอ
พบกับผู้ที่สั่งสอนการบำเพ็ญอันยิ่ง
และขอให้ข้าฯอย่าได้ทำให้ท่านไม่พอใจเลย
ขอให้ข้าฯได้มองเห็นพระพุทธเจ้าผู้มีชัยโดยตรง
ผู้ทรงเป็นผู้ปกป้อง แวดล้อมด้วยหมู่คณะของพระโพธิสัตว์
ในกัปต่างๆในอนาคต ขอให้ข้าฯได้บูชา
ท่านทั้งหลายนี้โดยไม่เหน็ดเหนื่อย
ขอให้ข้่าฯรักษาไว้ซึ่งพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าผู้มีชัยทั้งหลาย
และยังให้การบำเพ็ญอันประเสริฐได้บังเกิดขึ้น
ด้วยการฝึกฝนบำเพ็ญอันประเสริฐนี้
ขอให้ข้าฯประพฤติตนในหนทางนี้ตลอดทั่วทั้งกัปทั้งมวลในอนาคต
ตราบเท่าที่ข้าฯยังว่ายวนอยู่ในสังสาระ
ขอให้ข้าฯได้พัฒนาสั่งสมบุญกับปัญญา
และได้เป็นขุมทรัพย์อันประมาณมิได้
ของวิถี ปัญญา สมาธิ การหลุดพ้นและคุณธรรม
ในปรมาณูหนึ่ง มีดินแดนจำนวนมหาศาลเท่ากับปรมาณูทั้งหมด
ในดินแดนเหล่านั้นมีพระพุทธเจ้าเป็นจำนวนอนันต์ทรงสถิตอยู่
ผู้ทรงแวดล้อมด้วยพระโพธิสัตว์
เมื่อข้าฯมองเห็นท่านทั้งหลายเช่นนี้ ขอให้ข้าฯได้ปฏิบัติตามการบำเพ็ญอันประเสริฐ
เช่นเดียวกัน ในทิศทั้งปวง
บนความกว้างของเส้นผมเพียงหนึ่งเส้น
มีมหาสาครของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จำนวนมากเท่ากับที่เคยมีมาในสามกาล
และในดินแดนอันกว้างใหญ่ดุจมหาสมุทร--
ขอให้ข้าฯได้บำเพ็ญตนและได้ปฏิบัติบูชาพระทั้งหลายเหล่านี้
ตลอดทั่วทั้งกัปทั้งหลายอันมีจำนวนมากดุจมหาสมุทร
เพียงขณะหนึ่งของคำตรัสของพระพุทธเจ้า ก็เป็น
พระสุรเสียงอันเปี่ยมไปด้วยมหาสาครของคุณธรรม
มีคุณสมบัติอันใสสะอาดของท่วงทำนองของเหล่าพระผู้มีชัย
และเป็นพระสุรเสียงอันเป็นท่วงทำนองที่สอดคล้องต้องกัน
กับความโน้มเอียงของเหล่าสัตว์ทั้งปวง--
ขอให้ข้าฯได้ยินพระสุรเสียงของพระพุทธเจ้าด้วยเถิด
ขอให้ข้าฯได้ยินได้ฟังพระสุรเสียงของพระพทุธเจ้า
ด้วยอำนาจของจิตของข้าฯ
พระสุรเสียงของเหล่าพระผู้มีชัยผู้ทรงปรากฏพระองค์ในทั้งสามกาล
ผู้ทรงปั่นกงล้อธรรมให้หมุนเคลื่อนไป
เมื่อกัปทั้งปวงในอนาคตมีผู้เดินทางเข้าไป
ก็ขอให้ข้าฯได้เดินทางเข้าไปในกัปเหล่านั้นโดยทันที
ขอให้ข้าฯได้เข้าไปและได้ติดต่อแม้ในเพียงเสี้ยวหนึ่งของช่วงขณะ
ซึ่งกัปทั้งหลายอันมีจำนวนมากเท่าที่มีอยู่ในสามกาล
ขอให้ข้าฯได้เห็นโดยทันที
ซึ่งสิงห์ท่ามกลางหมู่มนุษย์ซึ่งได้ปรากฏขึ้นในกาลทั้งสาม
ขอให้ข้าฯได้มีบทบาทอยู่ในขอบเขตของประสบการณ์ของท่านเหล่านี้
ด้วยอำนาจของการหลุดพ้นอันดูเหมือนกับภาพมายา
ขอให้ข้าฯได้ผลิตขึ้นแม้ในหนึ่งปรมาณู
ซึ่งดินแดนทั้งมวลเท่าที่มีอยู่ในสามกาล
ขอให้ข้าฯได้ติดต่อกับดินแดนพุทธเกษตร
ในทุกทิศทุกทางอยู่ตลอดเวลา
ประทีปทั้งหลายของโลก ผู้ซึ่งยังมิได้ปรากฏกายขึ้น
จะค่อยๆตื่นขึ้นมาและหมุนกงล้อแห่งธรรม
กับทั้งยังพระนิพพานให้แจ้ง อันเป็นความสุขสงบขั้นสุดท้าย--
ขอให้ข้าฯได้เข้าไปเฝ้าพระผู้ปกป้องเหล่านี้
ด้วยอำนาจของสิ่งต่อไปนี้
อันได้แก่อำนาจของยานอันเป็นประตู
อำนาจของการบำเพ็ญอันกอปรไปด้วยคุณธรรม
อำนาจของเมตตาอันแผ่ไพศาล
อำนาจของบุญบารมี
อำนาจของปัญญาอันปราศจากอุปาทาน
และอำนาจของความรู้ มรรควิถีและสมาธิ
ขอให้ข้าฯได้บรรลุถึงอำนาจของการตรัสรู้อย่างสมบูรณ์ด้วยเถิด
ขอให้ข้าฯทำให้พลังของกิเลสกลายเป็นสิ่งสะอาดบริสุทธิ์
เอาชนะพลังของพญามาร
และทำให้พลังของการบำเพ็ญอันประเสริฐนี้บริบูรณ์
ขอให้ข้าฯทำให้มหาสมุทรแห่งดินแดนทั้งปวงสะอาดบริสุทธิ์
ปลดปล่อยมหาสุมทรแห่งสัตว์โลก
มองเห็นมหาสมุทรแห่งพระธรรม
บรรลุมหาสมุทรแห่งปัญญา
ยังมหาสมุทรแห่งความประพฤติให้สะอาดบริสุทธิ์
ยังมหาสมุทรแห่งบทสวดมหาปณิธานให้บริบูรณ์
ถวายเครื่องบูชาแก่มหาสมุทรของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
และบำเพ็ญตนโดยไม่เหน็ดเหนื่อยตลอดชั่วทั้งมหาสมุทรแห่งกัปกัลป์
เหล่าพระผู้มีชัยทั้งหลายผู้ทรงปรากฏขึ้นในกาลทั้งสาม
ได้ทรงตื่นขึ้นมาสู่การตรัสรู้ด้วยการบำเพ็ญเพียรอันประเสริฐ
อันปรากฏในการสวดพระมหาปณิธานอันประเสริฐ--
ชอให้ข้าฯได้ทำให้สิ่งเหล่านี้บริบูรณ์ขึ้นด้วยเถิด
โอรสองค์ใหญ่ของเหล่าพระผู้มีชัย
ทรงพระนามว่าพระสมันตภัทร
ข้าฯขออุทิศบุญกุศลทั้งมวล
เพื่อให้ข้าฯได้ทำการด้วยทักษะที่คล้ายคลึงกับของพระองค์
ขอให้ข้าฯได้เท่าเทียมกับพระองค์
ในด้านทักษะในการอันประเสริฐอันได้แก่ อุทิศพระองค์
เพื่อให้ได้มาซึ่งกาย วาจา ใจอันใสบริสุทธ์สะอาด
การประพฤติอันบริสุทธิ์ และแดนพุทธเกษตรอันผ่องใส
ขอให้ข้าฯบำเพ็ญตนตามบทสวดพระมหาปณิธานของพระมัญชุศรี
เพื่อประกอบคุณธรรมอันดียิ่ง
ขอให้ข้าฯได้ทำกิจกรรมเหล่านี้ให้สมบูรณ์
โดยไม่มีเหน็ดเหนื่อยตลอดกัปต่างๆในอนาคต
ขอให้ความประพฤติของข้าฯปราศจากขีดจำกัด
ขอให้คุณธรรมของข้าฯไม่อาจประมาณได้
เมื่อข้าฯอยู่กับความประพฤติที่ปราศขีดจำกัด
ก็ขอให้ข้าฯได้ส่งนิรมาณกายออกไป
สัตว์โลกทั้งหลายต่างก็ขยายไป
จนเท่ากับขอบเขตของอากาศธาตุ
ขอให้บทสวดมหาปณิธานของข้าฯขยายออกไป
จนเท่ากับขอบเขตของกรรมและกิเลสของสัตว์โลกเหล่านี้
แม้มีใครที่ประดับไปด้วยแก้วมณีอันเลอค่า
กับดินแดนสิบทิศอันขยายออกไปไม่มีที่สิ้นสุด และได้ถวายสิ่งเหล่านี้
ให้แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
หรือถวายความสุขอันประมาณมิได้ของเทพและมนุษย์
เป็นเวลานับเป็นกัปกัลป์มีจำนวนเท่ากับปรมาณูในดินแดนทั้งหลายก็ตาม
บุญกุศลที่แท้จริงของผู้ที่
ได้ยินบทสวดพระมหาปณิธานนี้
ผู้ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจที่จะบำเพ็ญตนเพื่อให้ถึงซึ่งการตรัสรู้
และยังศรัทธาให้บังเกิดขึ้นก็ยิ่งไปกว่านั้น
ใครก็ตามที่สวดบทสวดพระมหาปณิธานเพื่อภัทรจรรยาอันประเสริฐนี้
จะปลอดภัยจากอบายภูมิทั้งสาม
และปลอดจากคนใกล้ชิดที่ชักนำไปในทางที่ผิด
เขาจะมองเห็นพระอมิตาภพุทธเจ้าในเวลาไม่นาน
จะได้มาซึ่งบุญบารมีทั้งมวล รวมทั้งดำรงอยู่ในความสุข--
ด้วยสิ่งทั้งหลายนี้ ชีวิตของเขาจะไปด้วยดี
ในเวลาไม่นานเขาก็จะเป็นเหมือนกับ
พระสมันตภัทระ
สิ่งใดก็ตามที่ได้ทำลงไปด้วยอำนาจแห่งอวิชชา
ความชั่วร้ายทั้งปวง แม้แต่ด้วยอนันตริยกรรมห้าประการ
สิ่งเหล่านั้นก็จะได้รับการชำระล้างให้หมดจดอย่างรวดเร็ว
โดยผู้ที่ท่องบทสวดพระมหาปณิธานเพื่อการบำเพ็ญตนอันประเสริฐนี้
เขาจะมีปัญญา ความงาม และสัญญาณต่างๆ
จะอยู่ชาติตระกูลสูง มีผิวพรรณงดงาม
เขาจะไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของมารหรือเหล่าเดียรถีย์
ทั้งสามโลกก็จะถวายเครื่องบูชาแก่เขา
เขาจะไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ในเวลาอีกไม่นาน
และเมื่อไปถึงที่นั้นแล้ว ก็จะนั่งลงเพื่อยังประโยชน์ให้แก่สัตว์ทั้งหลาย
จะตื่นขึ้นมาเป็นผู้ตรัสรู้ ผู้หมุนกงล้อแห่งธรรม
และกำราบพญามารทั้งหมดกับบริวารทั้งหลาย
การสุกงอมอันเต็มที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือสอน หรือท่อง
บทสวดพระมหาปณิธานภัทรจรรยาบทนี้
เป็นที่รู้ได้เฉพาะแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า นี่คือการตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
ข้าฯขออุทิศบุญกุศลนี้
อันเกิดจากการเดินตามและการทำตามอย่าง
พระผู้ทรงเป็นนักรบ อันได้แก่พระมัญชุศรี ผู้ทรงสัพพัญญู
เช่นเดียวกับพระสมันตภัทระ
ด้วยการอุทิศบุญกุศล ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งประเสริฐ
โดยพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ได้ทรงปรากฏขึ้นในสามกาล
ข้าฯขออุทิศกุศลและคุณธรรมอันเป็นรากทั้งหมดของข้าฯ
ให้แก่การบำเพ็ญตนอันประเสริฐ
เมื่อเวลาแห่งความตายมาถึงแก่ข้าฯ
ขอให้เครื่องเศร้าหมองทั้งหมดของข้าหายไป
เมื่อเห็นพระอมิตาภพุทธเจ้า
ก็ขอให้ข้าฯได้ไปยังแดนสุขาวดี อันเป็นพุทธเกษตรของพระองค์
เมื่อไปถึง ณ ที่นั้นแล้ว ก็ขอให้ข้าฯได้
ทำให้บทสวดพระมหาปณิธานต่างๆของข้าฯเป็นจริง
ขอให้ข้าฯได้บรรลุปณิธานเหล่านั้นทั้งหมด
และยังประโยชน์ให้แก่สัตว์โลกตราบเท่าที่โลกยังดำรงอยู่
ขอให้ข้าฯได้เกิดมาในดอกบัวอันงดงาม
ในพุทธเกษตรอันเป็นเลิศและเปี่ยมสุขของพระผู้มีชัย
และขอให้ข้าฯได้รับพุทธพยากรณ์
จากองค์พระอมิตาภพุทธเจ้าโดยตรง
เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว
ก็ขอให้ข้าฯได้ยังประโยชน์ให้แก่สัตว์โลกในทั้งสิบทิศ
ด้วยอำนาจแห่งจิตของเข้าฯ
พร้อมทั้งนิรมาณกายเป็นพันๆล้าน
ด้วยอำนาจแห่งบุญกุศลอันเล้กน้อยที่ข้าฯได้สั่งสมมา
ด้วยการสวดบทสวดพระมหาปณิธานเพื่อการบำเพ็ญตนอันประเสริฐนี้
ขอให้คุณธรรมของบทสวดพระมหาปณิธานของสัตว์โลกทั้งมวล
จงสำเร็จผลโดยพลัน
ด้วยอำนาจแห่งบุญบารมีอันแท้จริงและประมาณมิได้
ซึ่งได้มาด้วยการอุทิศบทสวดพระมหาปณิธานภัทรจรรยานี้
ขอให้สัตว์โลกที่ยังจมอยู่ในสายน้ำแห่งความทุกข์
จงถึงซึ่งฝั่งของพระอมิตาภพุทธเจ้า
ขอให้ราชาแห่งบทสวดพระมหาปณิธานนี้
จงยังเป้าหมายและประโยชน์อันสูงสุดให้เกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์อันหาประมาณมิได้
เมื่อได้เติมเต็มบทสวดอันมีพระสมันตภัทระทรงสถิตอยู่แล้ว
ก็ขอให้อบายภูมิทั้งหมดจงว่างเปล่าจากสัตว์ต่างๆด้วยเทอญ
* * *
บทสวดอารยภัทรจรรยาประณิธานราชา จบบริบูรณ์
แปลจากภาษาสันสกฤต พร้อมตรวจชำระและขัดเกลาโดยบัณฑิตชาวอินเดีย นามว่าชินมิตรและสุเรนทรโพธิ พร้อมกับนักแปลและบรรณาธิกรผู้ยิ่งใหญ่ชาวทิเบต บันเด เยชี เด และท่านอื่นๆ
แปลจากภาษาทิเบตเป็นภาษาอังกฤษ ภายใต้การดูแลของแคนโป ซุลทริม เกียโซ โดยเอลิซาเบธ แคลลาแฮน ในปี ค.ศ. 1994
แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยโสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550
Saturday, May 5, 2007
Sunday, April 15, 2007
คาถายี่สิบโศลกของท่านวสุพันธุ
สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://homepage.mac.com/soraj/Twenty-Verses.pdf
Tuesday, February 20, 2007
วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์
หนังสือ "วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์" แปลจาก โพธิจรรยาวตาร ของท่านศานติเทวะ มีวางจำหน่วยแล้วที่ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ราคาเล่มละ 119 บาท
ติดต่อสั่งซื่อ
จากปกหลัง
วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ เป็นบทประพันธ์อันมีชื่อเสียงของท่านศานติเทวะ ผู้เป็นพระอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทาเมื่อประมาณคริสตศตวรรษที่แปด เนื้อหาประกอบด้วยข้อเสนอแนะในการปฏิบัติธรรมของพระโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งตั้งปณิธานจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้อย่างเต็มที่ ในพระพุทธศาสนาแบบทิเบตทั้งหมดนั้น ไม่มีงานชิ้นใดเลยที่จะมีอิทธิพลหรือได้รับการยกย่องมากเท่ากับชิ้นนี้ และก็เป็นหนังสือหลักในการศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของทิเบตทุกแห่ง
ท่านศานติเทวะได้เสนอแนวทางการปฏิบัติเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์อย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากการกล่าวถึงอานิสงส์ของโพธิจิต อันเป็นจิตที่มุ่งมั่นต่อการตรัสรู้เพื่อบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็เสนอการปฏิบัติบารมีหกประการอันเป็นวิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ ได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา
การแปลครั้งนี้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษของอลันกับเวสนา วอลเลซ ซึ่งแปลจากฉบับภาษาสันสกฤตประกอบกับฉบับแปลภาษาทิเบตควบคู่กัน และเป็นอีกลำดับหนึ่งของหนังสือชุด "คำสอนจากมหาวิทยาลัยนาลันทา" ของมูลนิธิพันดารา
"เหล่าผู้ที่ไม่มีความสุขในโลกนี้ เป็นเช่นนั้นเนื่องจากความปรารถนาจะได้ความสุขใส่ตัวของเขาเอง เหล่าผู้ที่มีความสุขในโลกนี้ เป็นเช่นนั้นเนื่องจากความปรารถนาจะยังความสุขให้แก่ผู้อื่น"
ท่านศานติเทวะ
Saturday, February 10, 2007
แสงจันทร์เหนือยอดสน
แสงจันทร์เหนือยอดสน กับความทรงจำอันงดงาม
กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
สำนักพิมพ์มูลนิธิพันดารา, 2549
157 หน้า, ราคา 269 บาท
ติดต่อสั่งซื้อ
ในไออุ่นของดวงดาว (แห่งความหวัง)
หลังจากที่ได้รับ “แสงจันทร์เหนือยอดสน กับความทรงจำอันงดงาม” สดๆ ใหม่ๆ เพิ่งออกมาจากโรงพิมพ์ ก็ได้อ่านจบแรกบนรถเมล์ระหว่างเดินทางกลับบ้าน
นับเป็นการเดินทางกลับ “บ้าน” ทั้งภายนอกและภายใน
คลื่นวิทยุบนรถเมล์สายนั้นเปิดเพลงๆ หนึ่งซึ่งเคยโด่งดังมากเมื่อปีสองปีก่อน
“... เเต่พอมองดูคนที่เขามีใคร เเม้ว่าผู้คนจะรายล้อมอยู่ยังเผลอเหงาในใจ
เมื่อไหร่จะมีใครใครสักคนที่เป็นของเรา เมื่อไหร่จะมีใคร ใครสักคนนะที่รักเรา
เท่านี้..ที่ต้องการ ขอเกินไปตรงไหน เมื่อไหร่จะมีใคร ใครสักคนที่เคียงข้างเรา
เเค่อยากจะมี คนที่ทำให้ใจไม่ต้องเหงา.. ไม่รู้..ต้องเมื่อไหร่ เหมือนมันยังห่างไกล..”
(เพลงแอบเหงา)
เนื้อเพลงทั้งเพลงคร่ำครวญถึงความรู้สึกเหงา พูดถึงดวงใจเสาะแสวงหาของคนๆ หนึ่งซึ่งไขว่คว้าคนที่รักและรู้ใจสักคนหนึ่งมาอยู่ข้างกาย ทำลายความเหงาให้หมดไป
ความเหงาที่ถ่ายทอดออกมาจากบทเพลงๆ นี้ทำให้ต้องละสายตาจากบทกวีที่งดงามและเรียบง่ายในหนังสือ เพราะสิ่งที่กำลังซาบซึ้งดื่มด่ำนั้น ช่างแตกต่างเสียเหลือเกินกับความเหงาที่เขารำพัน
บนรถเมล์คันนั้น อาจมีใครหลายๆ คนที่กำลังเหงา แม้นั่งหรือยืนเบียดเสียดอยู่ท่ามกลางคนมากมาย
น่าแปลก ในขณะที่เรามีโทรศัพท์มือถือให้โทร. ฟรีหากันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง มีเกมมือถือให้เล่นฆ่าเวลา มีอินเทอร์เน็ตให้พูดคุยกันข้ามทวีป มีโทรทัศน์เปิดค้างอยู่เป็นเพื่อน...
แต่น้อยคนนักจะเป็นอิสระจากความเหงา
ความเหงากำลังเป็น “โรค” ที่ทำให้คนในโลกสมัยใหม่ ทุกเพศทุกวัยต้องทนทุกข์ทรมาน
หายใจออก...
มอบความสุขและสิ่งดีๆ จากตัวคุณให้ผู้อื่น
ไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่ครบถ้วน
คุณงามความดี ปัญญา บารมีต่างๆ
ดุจดังสวมอาภรณ์อันวิเศษให้แก่เขา
หายใจเข้า...
เอาความเจ็บปวดของผู้อื่นเข้าไปในตัวคุณ
โรคภัยไข้เจ็บ ความเศร้าหมอง
ความยากจน ความทุกข์ทนต่างๆ
ดุจดังมอบโอสถอันวิเศษให้แก่เขา
ทำเช่นนี้กับคนหนึ่งคน
แล้วเพิ่มเป็นสอง
แล้วเป็นสามไปเรื่อยๆ
จนรวมสัตว์โลกทั้งหลาย
(หน้า 58-59)
หลายๆ คนอาจจะคิดว่า วิถีพุทธธรรมวัชรยานเป็นเรื่องลี้ลับ มีอะไรมากมายเกินที่จะจดจำ ยากที่จะเข้าใจ ยากที่จะเข้าถึง
แต่แท้ที่จริง วัชรยานเป็นวิถีธรรมที่แสนเรียบง่าย ไม่มีสิ่งใดอื่นนอกจากความกรุณาและการคิดถึงผู้อื่นก่อนตนเสมอ ความกรุณานี้เองที่พาเราให้เป็นอิสระจากความทุกข์ และเข้าใจความจริงของ “ธรรมชาติ”
ครั้งหนึ่งฉันเห็นจิ้งจกถูกประตูหนีบ
หางหลุดขาลีบตัวห้อเลือด
ลำคอสั่นระริกหายใจระทวย
ตาฉันปริ่มใจสลดเหลือคณา
ด้วยจิ้งจกนั้นก็คือพ่อหรือแม่
มันเจ็บปวดก็เหมือนเห็นแม่เจ็บปวด
มันรักชีวิตมิยิ่งหย่อนกว่าเรารักชีวิต
มันกลัวเจ็บกลัวตายเช่นเรากลัว
(หน้า 47)
เมื่อเราคิดถึงผู้อื่นก่อนอยู่เสมอ หวั่นไหวแม้ความทุกข์และความตายของสัตว์เล็กๆ ฝึกฝนตนเองให้เป็น “ผู้ให้” อยู่เสมอในทุกลมหายใจ ใจดวงนั้นย่อมยิ่งใหญ่
แล้ว “ความเหงา” ก็กลายเป็นเพียงละอองฝุ่นธุลีเล็กๆ ที่ไร้ความหมาย
หลายๆ คนอาจจะคิดว่า ความเหงาที่ต้องเผชิญในชีวิตนี้ช่างหนักหนาสาหัสเหลือเกิน บางคนทนต่อความเหงาไม่ไหว ไม่รู้จะทำอย่างไร จนกระทั่งคิดทำลายชีวิตตนเอง เพราะหวังว่าความตายจะเป็นที่สุดของความทุกข์ เป็นจุดจบของความเหงา
แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า หลังจากที่เราตาย หมดลมหายใจไปแล้ว จะมีช่วงเวลาอีก 49 วันใน “บาร์โด” ที่เราจะต้องทนทุกข์อยู่ในความเหงาที่ยิ่งกว่าความเหงาใดๆ
ตายคือทุกข์ยิ่งทุกข์
หวาดกลัว หวาดหวั่น
...
อนิจจา...
เวทนาที่ขาดสังขาร
เร่ร่อนไร้จุดหมาย
ดังขนนกที่ปลิดปลิว
ตามแรงลมแห่งกรรม
...
เดินทางเดียวดาย
หิวโหย หนาวเหน็บ
(หน้า 94-95)
น่าเศร้าที่ยิ่งวิทยาการก้าวหน้า คนก็ยิ่งคิดถึงแต่ตัวเองมากขึ้น คิดถึงคนอื่นน้อยลงทุกทีๆ ต่างคนต่างสร้างเกราะขึ้นมารอบๆ ตัว สร้างโลกส่วนตัวและปิดตัวเองจากทุกสิ่งรอบข้าง เขาเห็นเพียงแต่สิ่งที่เขาต้องการเห็น ได้ยินเฉพาะสิ่งที่ตัวเองฟัง หัวใจอันเปราะบางบอบช้ำด้วยความเหงาที่กัดกร่อนอยู่ทุกเวลานาทีโดยไม่รู้ตัว
จึงยากเหลือเกินที่จะหวังว่า แต่ละคนจะพยายามเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
น่าเสียดาย คนที่ได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธกลับไม่เชื่อว่า เราต่างก็เวียนว่ายตายเกิดมาแล้วหลายชาติ สะเทินสุขสะเทินทุกข์มานับไม่ถ้วน ยังคงเบียดเบียนตัวเอง และเบียดเบียนกันและกันด้วยความโลภ โกรธ หลงอย่างบ้าคลั่ง
อีกหนึ่งนั้นเสียงร่ำไห้
เวทนาผู้ผูกพัน
รัก โลภ โกรธ หลงกัน
ด้วยยึดมั่นเพียงชาติเดียว
(หน้า 31)
ในสงครามอิรัก ชาวอิรักผู้บริสุทธิ์ ไม่เว้นแม้แต่เด็ก ผู้หญิง คนแก่ นับหมื่นนับแสนถูกฆ่าตายทุกวัน ทหารสหรัฐฯ ก็ตายไปนับพันตั้งแต่เริ่มสงคราม ครู เจ้าหน้าที่ และชาวบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกฆ่าตายไม่เว้นแต่ละวัน
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เขาเหล่านั้นต้องตาย และอาจกำลังทนทุกข์อยู่ในบาร์โดอันมืดมิด กำลังอยู่ในช่วงวิกฤต ไม่รู้ว่าภพใหม่ของเขาจะเป็นไปอย่างไร ไม่ต่างจากขนนกที่ลอยคว้างอยู่ในกระแสพายุแห่งกรรม
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เขาเหล่านั้นถูกฆ่าตายเพียงเพราะความกลัวของคนที่ฆ่า
และเป็นเรื่องน่าเศร้ากว่านั้น หากเราเพิกเฉยต่อความตายของพวกเขา
“โอม มณี เปเม ฮุง”
สวดไป สวดไป
ให้ได้เกิดใหม่
ให้ได้ยินพระธรรม
(หน้า 96)
โลกนี้คงน่าอยู่มากขึ้น หากเรามีความเข้าใจอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ชีวิตมิได้มีเพียงชาตินี้ชาติเดียว และชีวิตมิใช่เพียงร่างกาย องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญไปกว่าคือ จิต และจิตนี้เองเป็นตัวกำหนดสุขทุกข์
หากเรารู้แจ้งว่า สภาวะเดิมแท้ของจิตนั้น กระจ่าง ผ่องใส เป็นประภัสสร เป็นสุขเที่ยงแท้ เราคงไม่หลงวนว่ายอยู่ในมายา และเล่ห์กลกลับกลอก
และคงได้พบกับอิสรภาพ
ไม่ขังใจ
ปล่อยใจแต่ดูใจ
ทำใจให้ว่าง ใสชัด
ไม่ตามใจไป
ความคิดดีปล่อยไป
ความคิดไม่ดีปล่อยไป
ใจไม่สับสน มืดมน
(หน้า 29)
น่าทึ่งว่า วิถีพุทธธรรมวัชรยานนั้น ถ่ายทอดและสืบสานมาจนถึงพวกเราในโลกยุคไร้พรมแดน ด้วยหัวใจอันยิ่งใหญ่ของชาวทิเบต “อวิชชา” อาจย่ำยีบีฑาชาวทิเบตจนแทบจะย่อยยับในกาลก่อน และแม้ในปัจจุบัน วิถีชีวิตและพุทธศาสนาก็กำลังถูกท้าทายอยู่อย่างหนักหน่วง
ทิเบตใหม่
มาพร้อมกับสมบัติใหม่
ที่โลกในอดีต
ไม่เคยมี
เคยขี่ม้าลาจามรี
แต่วันนี้
ขี่มอเตอร์ไซค์
แสนสุขใจ
(หน้า 80-81)
ภาพๆ หนึ่งแทนคำพูดนับล้าน
อย่างน้อย ภาพความศรัทธาของชาวทิเบตในหนังสือก็ทำให้รู้ว่า “อวิชชา” ยังมิอาจหยุดยั้งความศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ของชาวทิเบต ทุกๆ วันยังมีคนกราบอัษฎางคประดิษฐ์ตั้งแต่บ้านเกิดจนถึงหน้าวัดโจคัง ที่ประดิษฐานพระโจโวริมโปเชในนครลาซา กงล้อมนตร์ยังคงหมุนไม่เคยหยุด ธงมนตร์ยังคงสะบัดพลิ้วตามสายลม เสียงแห่งมนตร์มณียังดังประสานไม่เคยขาดสาย
ขอนำพาบิดาทางขวา
ขอนำพามารดาทางซ้าย
เพื่อนพ้องพี่น้องด้านหลัง
ศัตรูผู้ชิงชังด้านหน้า
แวดล้อมด้วยสัตว์โลกทั่วนภากาศ
พนมกรพร้อมตั้งจิต
ต่อเบื้องพระพักตร์คุรุพุทธเจ้า
ด้วยโพธิจิตที่แผ่ซ่านไปทั้งสรรพางค์กาย
จะขอยึดพระมณฑลอันอุดมด้วยความกรุณา
ไปจนกว่าจะถึงการตรัสรู้
(หน้า 107)
พระพุทธเจ้าสอนว่า สิ่งทั้งหลายล้วนเป็นอนิจจัง
คงเป็นเรื่องน่าขัน และเป็นความทุกข์ใหญ่หลวง หากเราจะฝืนฉุดรั้งให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่อย่างเดิม หรือเป็นไปอย่างใจเราทั้งหมด
ความเหงา ความโลภ ความโกรธ ความหลง การประหัตประหารเข่นฆ่า การทำลายแม้แต่ชีวิตของตัวเอง เป็นวิถีของโลกที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง
ทุกอย่างล้วนเป็นไปตามกระแสแห่งกรรม และเหตุปัจจัยอันเป็นธรรมชาติ
แต่ในความมืดก็มีความสว่าง
เมื่อมี “โลก” ก็ต้องมี “เหนือโลก”
ความกรุณาอันไพศาลไร้ขอบเขต ปัญญารู้แจ้ง จิตกระจ่างประภัสสร ร่างรุ้ง เป็นวิถีธรรมที่เกิดขึ้นจริงบนโลกนี้
สิ่ง “เหนือโลก” เหล่านี้ ไม่ใช่ “สิ่งที่เป็นไปไม่ได้” แต่เป็น “ธรรมชาติ” ที่ชาวพุทธผู้มีศรัทธามิอาจมองข้ามหรือละเลย
เป็น “หน้าที่” ที่จะต้องเร่งทำให้เกิดขึ้นจริง
...
ตามตำนานเทพนิยายกรีก เมื่อแพนโดราเปิดหีบต้องห้ามด้วยความอยากรู้อยากเห็น ความชั่วร้ายต่างๆ ก็โบยบินออกมา และเข้าครอบงำจิตใจมนุษย์
สิ่งสุดท้ายที่เหลืออยู่คือ ความหวัง
ในความมืดมิด แม้แสงจันทร์แรมก็มีค่า แสงดาวก็มีความหมาย
ในความหนาวเหน็บ กองไฟเล็กๆ ก็มีคุณลึกล้ำ
ขอให้ “แสงจันทร์เหนือยอดสน กับความทรงจำอันงดงาม” เล่มเล็กๆ นี้เป็นประหนึ่งสายลมที่ทำให้เปลวไฟแห่งความหวังคุขึ้นและโชนแสงในใจของผู้อ่านทุกคน
ความดีย่อมไม่ดับสูญ มีแต่เพิ่มพูนทวี
จัมปา ญีมา
๑ ธันวาคม ๒๕๔๙