Tuesday, December 9, 2008

Tibetan Doctor in Thailand

Dr. Tsedor Nyarongsha of the Nyarongsha Medical Institute in Lhasa will be seeing patients in Thailand on December 15-16 at the Thousand Stars Foundation’s House on Ladprao Soi 11. Interested persons please email 1000tara@gmail.com for reservation and appointment. Around 15 patients are accepted each day. Consultation fee is 400 baht per person (not including medicine). The proceeds will cover the doctor’s airfare and the translator’s allowance; the remaining amount will be a contribution from patients in Thailand to support medical activities of the Nyarongsha Institute. There will be a translation from Chinese/Tibetan to Thai/English.

ข่าวดีสำหรับผู้ต้องการพบคุณหมอทิเบต นพ. เซดอร์ ญารงชาจากสถาบันการแพทย์ญารงชา ซึ่งเป็นสถาบันการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดสถาบันหนึ่งในกรุงลาซาจะเดินทางมา เมืองไทยและให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพและบำบัดรักษาระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม 2551 ณ บ้านมูลนิธิ ลาดพร้าว ซอย 11 ผู้สนใจจองเวลากรุณาติดต่อ 1000tara@gmail.com จะรับคนไข้เพียงวันละไม่เกิน 15 ท่าน ค่าตรวจรักษาท่านละ 400 บาท (ไม่รวมค่ายา) รายได้จากการรักษาส่วนหนึ่งเป็นค่าตั๋วเครื่องบินของคุณหมอและค่าตอบแทนล่าม ส่วนที่เหลือจะมอบให้เป็นทุนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการแพทย์ของสถาบันญารงชา

Sunday, November 30, 2008

Prostrations and Dedication of Merit to the King

The Thousand Stars Foundation invites everyone to join us in prostrating to make merit for His Majesty the King on the auspicious occasion of his birthday anniversary, this Friday December 5, 2008 at the Buddha relics mandala, convention hall 2, Impact, Muangthong Thani, from 2 pm onwards. We hope to prostrate 108 times each (for some, the number can be 3, 7, 21 or more). The prostration is led by Dr. Krisadawan Hongladarom.

His Majesty the King is the heart and soul of Thai people. He is “father” of the country, who provides us with an “umbrella” of protection, and brings forth the Dharma’s “victory banner”.

We will dedicate our merit to the King’s long life and happiness.

Casual but polite outfit (no shorts). White or cream is recommended.

เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2551 นี้ มูลนิธิพันดาราขอเรียนเชิญสมาชิกทุกท่าน พุทธศาสนิกชนและพสกนิกรทั้งหลายร่วมกราบอัษฎางคประดิษฐ์ถวายบุญบารมีแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เป็น “พ่อ” ของแผ่นดิน ผู้ประทาน “ฉัตร” แห่งความร่มเย็นแด่สรรพชีวิต และผู้ปัก “ธงชัย” ในพระพุทธศาสนา ณ มันดาลาพระบรมสารีริกธาตุ ในงานพุทธมหาอาณาจักรทิเบต ฮอลล์ 2 อิมแพค เมืองทอง ธานี ในวันที่ 5 ธันวาคม 2551 ตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป โดยมีรศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์เป็นผู้นำกราบ

การกราบอัษฎางคประดิษฐ์เป็นการแสดงความเคารพสูงสุดต่อพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์โดยให้ส่วนสำคัญของร่างกายแปดส่วน ได้แก่ มือทั้งสอง เข่าทั้งสอง เท้าทั้งสอง ลำตัว และหน้าผาก สัมผัสพื้นดิน ในระหว่างกราบ ผู้กราบตั้งนิมิต กำหนดจิตว่ามีบิดาอยู่ทางขวา มารดาอยู่ทางซ้าย เบื้องหน้าในอากาศมีพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระอรหันตเจ้า และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้มีิพระหทัยมิได้แบ่งแยกจากพระหทัยของ พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ด้านหน้าของผู้กราบมีศัตรูและเจ้ากรรมนายเวรที่ผู้กราบพร้อมอโหสิให้และ พร้อมที่จะแผ่เมตตาให้ด้วยความรักอย่าบริสุทธิ์ใจ รอบตัวผู้กราบมีครอบครัว เพื่อนฝูง และสัตว์โลกร่วมสังสารวัฏนับจำนวนไม่ถ้วน ร่วมกราบไปด้วย

ในระหว่างกราบ เราจะสวดยึดพระรัตนตรัย “ข้าพเจ้าขอกราบบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อันประเสริฐ และขอยึดพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนกว่าจะถึงการตรัสรู้”

การกราบนี้จึงเป็นการปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ: กาย กราบ วาจา สวดยึดพระรัตนตรัย และใจ กำหนดจิตถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสัตว์ทั้งหลายด้วยศรัทธาแน่วแน่และด้วยความเมตตากรุณา

เราจะกราบกันคนละ 108 ครั้ง (สำหรับบางท่าน จะกราบน้อยหรือมากกว่านี้ก็ได้ เช่น 3 ครั้ง 7 ครั้ง 21 ครั้ง เป็นต้น) บุญบารมีจากการปฏบัติธรรมที่ได้รับผู้กราบทั้งหลายจะขอน้อมถวายแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้ทรงมีพระชนมายุยืนยาว และมีพระเกษมสำราญตลอดชั่วกาลนาน

การกราบ ให้อานิสงส์เหนือคณานับ จะทำให้ผู้กราบประสบแต่สิ่งดีๆในชีวิต มีความสุข มีสุขภาพดี เป็นที่รักของผู้พบเห็น และเป็นการฝึกจิตให้มีความกตัญญู มีความอ่อนน้อมถ่อมตนและมีความเมตตากรุณาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

*สำหรับผู้ไม่สามารถมาร่วมกราบที่งาน อาจกราบที่ห้องพระในบ้าน หรือบริเวณที่เหมาะสม แล้วกำหนดจิตและสวดยึดพระรัตนตรัยดังกล่าว

*แต่งกายตามสบายด้วยสีสุภาพและดูสะอาดตา เช่น สีขาว สีครีม

Friday, November 28, 2008

Buddha Relics from Tibet

There will be a display of Buddha relics from Tibet and ancient statues including Green Tara and White Tara at Impact, Muang Thong Thani, Hall 2 on 28 November -7 December 2008. The event is organized by Export Department, Yannawa Temple, and Ajarn Worathanut, a fangshui master. The Thousand Stars Foundation is invited to help with the Tibetan procession, which will be broadcast on Channels 5 & 11 on Saturday November 29 from 8.30 am. Two mantra stupas of about 2 meter high are specially created for this event.

All interested public are welcome. There are no registration fees. The event is timely when our country is facing challenges, conflicts and political turmoil.

Tuesday, November 11, 2008

Bhutan Film Postponed

The date for Bhutan event needs to be postponed one more time. The final date is Saturday November 22, 2008, 1-4 pm at the Chalerm Prommas conference hall, Chulalongkorn Hospital. Contact 1000tara@gmail.com for detail. **There’s no registration fee.

ภาพยนตร์เรื่องภูฏาน ทางสายกลางแห่งความสุขและงานภูฏานต้องเลื่อนอีกครั้งหนึี่ง เป็นวันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา 13.00-16.00 น. ห้องประชุมเฉลิม พรหมมาศ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ติดต่อ 1000tara@gmail.com สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม **ไม่เสียค่าใช้จ่าย

Wednesday, November 5, 2008

Khadiravana Center

Please click the following link for the beautiful poster of the Khadiravana Center in Hua Hin.

Monday, October 27, 2008

โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง


คัมภีร์ มูลมธฺยมกการิกา หรือแปลเป็นไทยว่า "โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง" เป็นงานที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของพระพุทธศาสนา รจนาโดยพระอาจารย์นาคารชุน ซึ่งเชื่อกันว่าท่านมีชีวิตอยู่ในประเทศอินเดียตอนใต้ เมื่อราวศตวรรษที่สองหลังคริสตกาล ท่านเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญาพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า "มาธยมิกะ" หรือ "สำนักทางสายกลาง" และงานชิ้นนี้ของท่านก็มีผู้ศึกษาเล่าเรียนและนำไปอ้างอิงกับบรรยายอธิบายความหมายในทุกๆวัฒนธรรม ที่พระพุทธศาสนาฝ่ายสันสกฤตได้แพร่กระจายไป ได้แก่ทิเบต จีน เกาหลี ญี่ปุ่นและมองโกเลีย นอกจากนี้ งานชิ้นนี้ยังมีความสำคัญตรงที่เป็นจุดตั้งต้นของการแพร่กระจายของการตีความอันหลากหลาย โดยที่นิกายย่อยสองนิกายภายในสำนักคิดมาธยมิกะ อันได้แก่สวตันตริกมาธยมิกะ และปราสังคิกมาธยมิกะ ก็มีจุดกำเนิดจากความแตกต่างในการตีความตัวบทในงานของท่านนาคารชุนนี้
เนื้อหาของ "โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง" เป็นการนำเสนอแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนา อันได้แก่เรื่องความว่างหรือ "ศูนยตา" (เขียนแบบบาลีได้ว่า "สุญญตา") โดยศูนยตานี้เป็นเนื้อหาของทางสายกลางที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ และท่านนาคารชุนได้นำมาขยายความอย่างละเอียดพิสดาร เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจประเด็นและแง่มุมต่างๆเกี่ยวกับศูนยตาและทางสายกลางอย่างละเอียด ทั้งนี้ก็อยู่ภายในขอบเขตของคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด มีนักวิชาการบางฝ่ายที่เสนอว่า ข้อเขียนของท่านนาคารชุนในงานชิ้นนี้ มีบางส่วนที่เป็นการนำเสนอเนื้อหาใหม่เพิ่มไปจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนเอาไว้ แต่หากพิจารณางานชิ้นนี้อย่างถี่ถ้วนแล้วจะพบว่า ไม่มีโศลกใดเลยที่จะเสนอคำสอนที่เกินเลยหรือไม่ตรงต่อจุดมุ่งหมายหลักของพระพุทธเจ้าในการสอนสรรพสัตว์เพื่อให้เข้าใจหนทางแห่งการพ้นทุกข์ จุดที่งานของท่านนาคารชุนเพิ่มเข้ามาก็คือ การอธิบายและการให้เหตุผลสนับสนุนคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเป็นระบบ จุดสำคัญอยู่ที่การอ้างเหตุผล อาจกล่าวได้ว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระสูตรนั้น เป็นคำสอนเบื้องต้นที่มิได้มุ่งอธิบายความเป็นมาเป็นไป หรือเหตุผลเบื้องหลังอย่างละเอียด แต่เมื่อพระพุทธศาสนามีการพัฒนามากขึ้นทางด้านความคิดและเหตุผล ก็จึงเกิดความพยายามที่จะทำคำสอนเหล่านี้ให้เป็นระบบ และมีเหตุผลรองรับเพื่อให้ผู้ที่ยังสงสัยอยู่ หรือขาดศรัทธาในคำสอนของพระพุทธศาสนา ได้เกิดศรัทธาจากการศึกษาทำความเข้าใจกระบวนการของเหตุผลต่างๆ ที่ท่านนาคารชุนได้นำเสนอในงานชิ้นนี้ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า "โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง" นี้เป็น "อรรถกถา" ที่อธิบายคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นนั่นเอง ใน "โศลกมูลฐาน" เราจะเห็นว่า ท่านนาคารชุนได้วิเคราะห์คำสำคัญๆในพระพุทธศาสนาไว้หมด เช่น อริยสัจสี่ ปฏิจจสมุปบาท อวิชชา เหตุ ปัจจัย และอื่นๆ อันจะทำให้เราเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

จากหนังสือ "โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง" ของท่านนาคารชุน สำนักพิมพ์มูลนิธิพันดาราจัดทำ เป็นเล่มที่สามของชุดหนังสือ "คำสอนจากมหาวิทยาลัยนาลันทา" มีวางจำหน่ายแล้วที่ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Message to Tree Planters

Thank you for your interest in planting Khadiras with Pandara. This is the first time that a number of Khadiras will be grown on the land making it a forest of Khadira, as its name (Khadiravana) suggests.
The Foundation will try our best to welcome you and make you feel at home in the natural atmosphere. Vegetarian and non-vegetarian food, fruits, hot & cold refreshments and snacks will be served. We are particularly delighted to hear that children also share this volunteer spirit and are enthusiastic about an opportunity to plant trees and be with nature.
To help you pack, here is a checklist of what to bring:
1. Gardening tools from home (if possible)
2. Towels, bathroom kit
3. Wet tissue
4. Sleeping bag (if possible)
5. Comfortable clothing
6. Warm clothes for late night and early morning - jacket, long sleeve t-shirt, or shawl are recommended.
7. Walking shoes
8. Non-toxic mosquito repellent, balm
9. Hat
10. Umbrella
11. Personal medicine
12. Notebook, favorite book
13. Snacks & toys for children
Our vans will leave the foundation house on Nov 1st, 2008 at 7.00 am.
Maps to the foundation house and to khadiravana are in the attached PDFs
Any question, please feel free to contact us at 1000tara@gmail.com, or at 086-9775867, 086-7228129
Thank you very much again &
We look forward to seeing you soon.

Bhutan and Gross National Happiness

"The Himalayan Kingdom of Bhutan wakes each day to millions of prayer flags with messages of peace and happiness carried on the wind around the world. Thousands of Buddhist monks in mountain temples across the country pray for the end of sufferings. The devout Bhutanese people see the world and all living beings as sacred…Bhutan is a treasure house of rare and endangered species, protected by the Fourth King's development policy of "Gross National Happiness" for all living beings.."(From "Bhutan: Taking the Middle Path to Happiness)

The Thousand Stars Foundation, Serindia Publication, Pediatric Department, Faculty of Medical Science, Chulalongkorn University are pleased to invite interested persons to the talk and premiere of the film "Bhutan: Taking the Middle Path to Happiness"at the Chalerm Prommas conference hall, King Anandamahidol Building, Chulalongkorn Hospital, Saturday November 15, 2008, 1-3.15 pm.

Schedule:

13.00-13.05 Opening

13.05-14.00 "What do we learn from Bhutan?" by John Werhem and Thinley Chodon, the film's producer and coordinator

14.00-15.15 Premier of "Bhutan: Taking the Middle Path to Happiness" English soundtrack with Thai subtitle.

There will be a book sale on Bhutan by Serindia and a Himalayan fair by the Thousand Stars Foundation at the event. Proceeds of the fair support the building of Khadiravana Retreat Center and Khadiravana Thai Center for Himalayan Studies, Nongplub District, Hua-Hin, Prachuabkhikhan.

All are welcome. There is no registration fee. For more detail, contact: 1000tara@gmail.com, Mobiles: 085 058 1898; 086 977 5867.

มีดินแดนแห่งหนึ่งในโลกหิมาลัยที่เห็นคุณค่าของความสุขทางจิตใจมากกว่าความสุขทางวัตถุ ความสุขของผู้คนในดินแดนแห่งนี้กลายมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและในการบริหารประเทศ สำหรับพวกเขาแต่ละชีวิตมีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นต้นกำเนิดของความสุข พวกเขาไม่ได้วัดความเจริญของประเทศจากรายได้ของประชากรแต่จากสิ่งที่เรียกว่า "ความสุข"

มูลนิธิพันดารา สำนักพิมพ์เซรินเดีย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์และฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจทุกท่านชมภาพยนตร์และร่วมเสวนา เพื่อศึกษาปรัชญาในการดำรงชีวิต ทำความรู้จักวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของประเทศเพื่อนบ้าน

"ภูฏานและความสุขมวลรวมประชาชาติ"

*ฉายเป็นครั้งแรกในประเทศไทย*

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ณ ห้องประชุมเฉลิม พรมมาส ตึกอปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

กำหนดการ
13.00-13.05 น. พิธีเปิด
13.05-14.00 น. "แนะนำภาพยนตร์และการสนทนาในห้วข้อ "เราเรียนรู้อะไรจากภูฏาน" (What do we learn from Bhutan) โดยคุณจอห์น เวห์รเฮมและคุณทินเล เชอเตริน ผู้สร้างและผู้ประสานงานภาพยนตร์เรื่อง "ภูฏาน ทางสายกลางแห่งความสุข" สรุปความเป็นภาษาไทย
14.00-15.15 น. การฉายภาพยนตร์เรื่อง "ภูฏาน ทางสายกลางแห่งความสุข" (Bhutan: Taking the Middle Path to Happiness) เสียงภาษาอังกฤษ บรรยายภาษาไทย
ที่งานจะมีการจำหน่ายหนังสือเกี่ยวกับภูฏานโดยสำนักพิมพ์เซรินเดียและสินค้าทิเบตหิมาลัย (หิมาลัยแฟร์) โดยมูลนิิธิพันดารา รายได้จากหิมาลัยแฟร์นำไปสมทบทุนการก่อสร้างขทิรวันธรรมาศรมและศูนย์หิมาลัยศึกษาขทิรวันแห่งประเทศไทย มูลนิธิพันดารา ต. หนองพลับ อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธุ์


*ไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 1000tara@gmail.com, หรือโทร 085 058 1898; 086 977 5867*

Wednesday, October 22, 2008

Kathmandu Valley Style

Special Event at Siam Paragon Nov 7-13

Kathmandu Valley Style

& Khadiravana Thai Center for Himalayan Studies

Dear All Thousand Stars Member

Serindia is happy to invite you to celebrate the launch and sale of "Kathmandu Valley Style", a long-awaited book on the beautiful homes the Kathmandu Valley featuring their styles, interiors, and innovative adaptation of Nepal's centuries-old architecture. Most homes are photographed exclusively here for the first time. The book captures them at the right moment in the changing times of Nepal, celebrating the loving spirits of the owners, their histories, creativity, and perseverance. Some homes have now ceased to exist.

From Nepal we are grateful to have authors Lisa Choegyal and Gautam SJB Rana, who will be present at the event.

The launch is accompanied by an exhibition "Home Styles of the Kathmandu Valley", which runs from the launch evening until November 13.

Along with the event, the Thousand Stars Foundation presents "the Khadiravana Thai Center for Himalayan Studies," Hua-Hin, a new meditation retreat center and an institute for learning the cultures of Tibet and the Himalayas.

Launch Date/Time: November 7, 2008, 6:30pm.

Book will be for sale at the launch for the first time. Part of the proceeds at the event to benefit the Khadiravana Thai Center for Himalayan Studies, Hua-Hin.

Venue: Siam Paragon, 3rd floor, near True Café and Motorola store, toward the main Atrium.

* **** ** ** *** *** *** *** ***

เรียน สมาชิกพันดาราทุกท่าน

มูลนิธิพันดาราขอเชิญผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมงานเปิดตัวหนังสือใหม่ของสำนักพิมพ์เซรินเดีย "สไตล์หุบเขากาฏมัณฑุ" ซึ่ง นำเสนอภาพบ้าน สถาปัตยกรรมโบราณและสมัยใหม่ และการตกแต่งสวยๆจากกาฏมัณฑุ เนปาล พร้อมกับพบกับผู้แต่ง คุณลิซ่า เชอเกียและคุณโกตัม รานา จะมีนิทรรศการภาพถ่ายจากหนังสือเล่มนี้ซึ่งจะแสดงเป็นครั้งแรกที่งาน

งานเปิดตัวเริ่มวันที่ 7 พฤศจิกายน เวลา 18.30 น. นิทรรศการมีถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่ชั้น 3 ข้างร้านกาแฟทรู ห้างสรรพสินค้าสยาม พารากอน

พร้อมนี้ มูลนิธิพันดาราจะเปิดตัว "ศูนย์หิมาลัยศึกษาขทิรวันแห่งประเทศไทย" อ. หัวหิน จ. ประจวบฯ ซึ่งเป็นศูนย์สมาธิภาวนา (ขทิรวันธรรมาศรม) และแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมของทิเบตและหิมาลัย

Wednesday, October 15, 2008

Tree Planting and Dharma Practice

"Tree planting and dharma practice for inner peace and happiness".

with the Thousand Stars Foundation on Sat-Sun 1-2 November 2008

Forest is a symbol of abundance, It not only give us physical and mental peacefulness, but it symbolizes harmony, happiness,
interdependence and harmonious existence between man and animals.
Realizing the value of forest, mother of great nature which gives us coolness, food,and natural medicine,
the Thousand Stars Foundation is pleased to invite you to join our activity of planting 500 khadiras (Scientific name: Acacia catechu; Thai name: Sisead) and dharma practice for inner peace and happiness at Khadiravana retreat center, Nongplub sub-district, Hua-Hin, Prachuab Khirikhan on 1-2 Nov 2008

* More Details, schedule, map and Registration form are in the attached PDF
** Please register by October 24, 2008 and return the registration form to
1000tara@gmail.com, Fax. 02 938 7864/ 02 528 5308.
*** More information, please contact Miao:
1000tara@gmail.com
, or call 086 977 5867
เรียน สมาชิกพันดารา ทุกท่าน
มูลนิธิพันดาราขอเรียนเชิญทุกท่านเข่าร่วมกิจกรรม
"ปลูกป่าขทิระ และ ปฏิบัติธรรมเพื่อความสุข สงบ ภายใน"

ร่วมกับมูลนิธิพันดาราในวัน เสาร์-อาทิตย์ที่ 1 และ 2 พฤศจิกายน 2551

ป่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ป่าไม่เพียงแต่ให้ความสงบทางกายและทางใจ หากแต่
ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ ความสุข การพึ่งพากัน ที่อยู่รวมกันของมนุษย์และสัตว์

ด้วยตระหนักในคุณค่าของป่า มารดาแห่งธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่ให้ความร่มเย็น อาหาร และยาธรรมชาติ
มูลนิธิพันดารา จึงใคร่ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วม "ปลูกป่าขทิระ" หรือต้นสีเสียด (acacia cetechu) จำนวน 500 ต้น
พร้อม "ปฏิบัติธรรมเพื่อความสุข สงบภายใน" ร่วมกัน ที่ขทิรวันธรรมาศรม ต. หนองพลับ อ. หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 1 และ 2 พฤศจิกายน 2551 นี้

* รายละเอียดเพิ่มเติม กำหนดการ แผนที่ และใบลงทะเบียนอยู่ในเอกสารที่
แนบมาด้วย
* * สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่คุณเหมียว 1000tara@gmail.com, หรือโทร 086 977 5867
* * ท่านสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการปลูกป่าภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2551 โดยกรอกใบสมัครและส่งมาที่ 1000tara@gmail.com
โทรสาร 02 938 7864/ 02 528 5308

Wednesday, October 8, 2008

Tree Planting Program

Saturday November 1, 2008
7.00 Leave the Foundation House (695 Ladprao Soi 11, Chatuchak)
10.00 Arrive at Khadiravana Retreat Center, get to know each other, choose a zone to
grow trees, and enjoy welcome drinks
10.30 Prayers and group photo at the mantra stupa of clear light
11.00 Plant trees
12.30 Lunch
13.30 Plant trees
15.00 Snacks and refreshments
15.30 Plant trees and hang prayer flags for auspiciousness
17.00 Rest; dharma discussion at the mantra stupa
(Return to Bangkok safely for those who do not stay overnight)
19.00 Dinner
20.00-22.00 Dharma discussion, prayer and meditation

Sunday November 2, 2008
7.00 Get up with the sound of sacred music
7.45 Morning refreshments; prostration, meditation and prayer
8.45 Breakfast
9.30 Plant trees and receive souvenirs from the Thousand Stars Foundation
12.00 Lunch
13.00 Pack belongings
13.30 Return to Bangkok safely.

Costs
1. Traveling between Bangkok and Hua-Hin 400 baht
2. Contribution to activities such as food, plants, materials and allowances to local workers
Saturday’s activity 300 baht
Saturday’s and Sunday’s activities 400 baht

*No charges for children under 15*

Tree Planting Registration

Registration form for “Tree planting with the Thousand Stars Foundation”

Name……………………………………………………………………………………………………..
Tel. No..………………………………………Email………………………………………………………
O Foundation member O Non-member
If you are interested to become the Foundation’s member, please provide your mailing address.
Address…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………
O Participate in the event on November 1 only
O Participate in the events on November 1 and 2
Registration for…………….persons Total amount…………………………baht

Transfer registration fees to “The Thousand Stars Foundation”
O Saving account no. 052-0-02254-8 Krungthai Bank, Siam Square branch
O Saving account no. 038-431667-8 Siam Commercial Bank, Siam Square Branch

Please register by October 24, 2008 and return the registration form to 1000tara@gmail.com, Fax. 02 938 7864/ 02 528 5308.
More information, please contact 1000tara@gmail.com, or call 086 977 5867.

Planting Khadiras, Growing Forest of Joy


"ปลูกป่าขทิระ ปลูกสวนป่าแห่งความรื่นรมย์"
ร่วมกับมูลนิธิพันดาราในวัน เสาร์-อาทิตย์ที่ 1 และ 2 พฤศจิกายน 2551



ป่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ป่าไม่เพียงแต่ให้ความสงบทางกายและทางใจ หากแต่
ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ ความสุข การพึ่งพากัน ที่อยู่รวมกันของมนุษย์และสัตว์
ด้วยตระหนักในคุณค่าของป่า มารดาแห่งธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่ให้ความร่มเเย็น อาหาร และยา
ธรรมชาติ มูลนิธิพันดาราจึงใคร่ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมปลูกป่าขทิระ หรือต้นสีเสียด (acacia cetechu)
จำนวน 500 ต้น ร่วมกันที่ขทิรวันธรรมาศรม ต. หนองพลับ อ. หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 1 และ 2 พฤศจิกายน 2551 นี้

* รายละเอียดเพิ่มเติม กำหนดการ แผนที่ และใบลงทะเบียนอยู่ในเอกสารที่แนบมาด้วย
* * สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่คุณจิ๊ก jickryan@yahoo.com, คุณเหมียว 1000tara@gmail.com, หรือโทร 086 977 5867
* * ท่านสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการปลูกป่าภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2551 โดยกรอกใบสมัครและส่งมาที่ 1000tara@gmail.com
โทรสาร 02 938 7864/ 02 528 5308


"Planting Khadiras, Growing Forest of Joy"
with the Thousand Stars Foundation on Sat-Sun 1-2 November 2008

Forest is a symbol of abundance, It not only give us physical and mental peacefulness, but it symbolizes harmony, happiness,
interdependence and harmonious existence between man and animals.
Realizing the value of forest, mother of great nature which gives us coolness, food,and natural medicine,
the Thousand Stars Foundation is pleased to invite you to join our activity of planting 500 khadiras (Scientific name: Acacia catechu; Thai name: Sisead)
at Khadiravana retreat center, Nongplub sub-district, Hua-Hin, Prachuab Khirikhan on 1-2 Nov 2008

* More Details, schedule, map and Registration form are in the attached PDF
** Please register by October 24, 2008 and return the registration form to 1000tara@gmail.com, Fax. 02 938 7864/ 02 528 5308.
*** More information, please contact Jick: jickryan@yahoo.com, Miao: 1000tara@gmail.com, or call 086 977 5867.

Monday, September 29, 2008

New Podcast Site

The Foundation has established a new podcast site, with the cooperation of the Center for Ethics of Science and Technology. This is due to the difficulty in uploading large audio files and due to security reasons.


Enjoy!

Friday, September 26, 2008

Online Dharma Classics

Those who are interested in Tibetan Buddhism are invited to have a look at this new website, Online Dharma Classics. There you can find a lot of videos of teachings by many revered teachers such as His Holiness the Dalai Lama, Ringu Tulku Rinpoche, and others.

Monday, September 15, 2008

Activities of the Foundation - October and November 2008

The Thousand Stars Foundation is pleased to invite the Foundation’s members and interested persons to join our activities in September-November 2008:

September 27-October 5

Sewing Tibetan prayer flags at the Foundation House. Weekend starts at 10 am; weekdays start at 1 pm.

October 11-19

Building a mantra stupa at Khadiravana Retreat Center, Hua-Hin.

October 18

Class on “Drawing as a meditation and relaxation” at the Foundation House, 9 am-4 pm.

November 1

Growing Khadira trees and celebrating the mantra stupa at Khadiravana Retreat Center.

November 7-13

Exhibition on the Shanti Tara Maha Stupa as part of the launching of Serindia’s new book “Kathmandu Valley Styles” at Siam Paragon, 3rd floor (next to True Cafe). The event is organized by Serindia Publications and the Thousand Stars Foundation. November 7 is the launch date.

November 15

Screening of the documentary film “Bhutan, Middle Path to Happiness” (English soundtrack with Thai subtitle) and a seminar on happiness at King Anandamahidol Building, Chulalongkorn Hospital. The event is organized by the Thousand Stars Foundation and Serindia Publications, in cooperation with the Student Affairs, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University and the producer group of Bhutan, Middle Path to Happiness.

November 29

A talk on Newar thangka art by Siddhartha Shar and a demonstration of thangka painting by Supachok Chumsai Na Ayudhya. Detail and venue will be announced. The event is organized by Serindia Publications and the Thousand Stars Foundation.

For detail, registration and maps, please contact Miao at 1000tara@gmail.com, or Nuch at Tel. 086 977 5867.

มูลนิธิพันดาราขอเรียนเชิญสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมในเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ดังนี้

25 กันยายน ถึง 5 ตุลาคม

สัปดาห์แห่งการเย็บธงมนตร์ที่บ้านมูลนิธิ ลาดพร้าว การเย็บและเตรียมธงมนตร์เป็นการทำบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ก่อนที่เราจะนำธงมนตร์ไปผูกเพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย เสาร์อาทิตย์เริ่มเย็บเวลา 10.00 น. วันธรรมดา เวลา 13.00 น.

11-19 ตุลาคม

สัปดาห์แห่งการสร้างสถูปมนตร์ประภัสสรที่ขทิรวันธรรมาศรม

18 ตุลาคม

การอบรมการวาดภาพเพื่อสมาธิและผ่อนคลายที่บ้านมูลนิธิ

1-2 พฤศจิกายน

ปลูกป่าขทิระและฉลองสถูปมนตร์องค์ใหม่ที่ขทิรวันธรรมาศรม เราวางแผนจะปลูกต้นขทิระ 500 ต้น ขอเชิญเพื่อนๆมาช่วยกันปลูกป่าแห่งจิตวิญญาณและทำให้โลกของเราเป็นสีเขียว

8-13 พฤศจิกายน

นิทรรศการพระศานติตารามหาสถูปและการเปิดตัวหนังสือเรื่อง “Kathmandu Valley Styles” ที่ห้างสรรพสินค้าสยาม พารากอน ชั้น 3 บริเวณหน้าร้านหนังสือคิโนคุนิยะ สำนักพิมพ์เซรินเดียและมูลนิธิพันดาราร่วมกันจัดงานนี้

15 พฤศจิกายน

การฉายภาพยนตร์เรื่อง “ภูฏาน ทางสายกลางแห่งความสุข” (Bhutan, Middle Path to Happiness) ซาวด์แทรกค์ภาษาอังกฤษ บรรยายไทย และการเสวนาเรื่อง “ความสุข” ที่ตึกอปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่งานมีนิทรรศการเรื่อง ภูฏาน ดินแดนแห่งความสุข และขายของการกุศล จัดโดยมูลนิธิพันดาราและสำนักพิมพ์เซรินเดีย ร่วมกับฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะผู้สร้างภาพยนตร์

29 พฤศจิกายน

การเสวนาเกี่ยวกับศิลปะการวาดภาพทังกาตามแนวเนวาร์โดยสิทธารถะ ชาร์ และการสาธิตการวาดภาพทังกาโดยศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา สถานที่และรายละเอียดจะได้แจ้งให้ทราบ จัดโดยสำนักพิมพ์เซรินเดียและมูลนิธิพันดารา

รายละเอียดและการลงทะเบียน โปรดติดต่อเหมียว 1000tara@gmail.com หรือนุช 086 977 5867

Monday, September 8, 2008

การวาดภาพเพื่อสมาธิอย่างผ่อนคลาย

มูลนิธิพันดาราขอเชิญผู้สนใจพุทธศิลป์

การวาดภาพทังกาแบบทิเบต

เข้าอบรมเรื่อง

"การวาดภาพเพื่อสมาธิอย่างผ่อนคลาย"

โดย ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา

วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวลา 9.00 ถึง 16.00 น. ณ บ้านมูลนิธิฯ 695 ซอย 11 ถนนลาดพร้าว

รายละเอียด

Sunday, August 17, 2008

About the Foundation

Please click the following file for all the information about the Thousand Stars Foundation.

Friday, August 15, 2008

Joining the Sangha of Pandara Volunteers

Another Way of Contribution and How to Put Dharma into Everyday Living

The Thousand Stars (Pandara) Foundation is growing with many new activities and projects. We realize how important it is to have friends work with us to achieve our goals of preserving eastern and Tibetan ancient wisdom, bringing happiness to sentient beings and contributing to world peace.

Volunteering is an opportunity to share your knowledge, skills, resources with others. More importantly, it is a way to transform yourself on this Bodhisattva path. With Dharma in your heart, difficult work does not bring frustration or despair. Instead, it is a chance for contemplation, reflection, a reminder to be more mindful, more aware and more compassionate, a way to deal with personal obstacles, and an exercise to put Dharma practice into everyday living.

Upcoming projects that need volunteers:

1. Conference on “Mind and Life” and Exhibitions on Shanti Tara Maha Stupa and Tibetan Medicine, August 29-30, 2008.

2. Exhibitions on Thousand Stars Foundation and Tibetan Medicine at Chulalongkorn Hospital, September 1-2, 2008.

3. Project of Growing 10,000 Khadira Trees at Tara Khadiravana Retreat Center. We’ll dedicate our merit to His Majesty the King for his selfless work on forest preservation. Expected dates: September or October.

4. Newsletter Project: Sarn Pandara#8

5. Ambassadors of Peace Project

Volunteer qualifications:

- Want to give and want to learn from others

- Interested in the Foundation’s activities and appreciate it’s goals and objectives

-Committed to the works assigned

A volunteer needs not know anything about Tibet, does not have to be a practitioner of Tibetan Buddhism. Pandara Sangha is a group that goes beyond sectarianism, ethnicity and any discriminatory label.

Interested persons, kindly contact Worawanna at 1000tara@gmail.com.

Thursday, August 14, 2008

สายใยแห่งดวงดาว

สายใยแห่งดวงดาว

เรื่องราวและข่าวคราว (เป็นครั้งคราว) ของมูลนิธิพันดารา

www.thousand-stars.org, www.taragreatstupa.org

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม 2551

ข่าวกิจกรรม

การประชุม “จิตกับชีวิต” และนิทรรศการพระศานติตารามหาสถูปและการแพทย์ทิเบต
มูลนิธิพันดาราขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมประชุมวิชาการเรื่อง “จิตกับชีวิต: มุมมองของศาสนากับวิทยาศาสตร์” และชมนิทรรศการพิเศษ วันที่ 29-30 สิงหาคม 2551 ณ ห้อง 210 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีอาหารว่างบริการ ไม่เสียค่าลงทะเบียน สมัครด่วนภายใน 22 สิงหาคมนี้ ที่งานจะมีสินค้าทิเบตหิมาลัยจำหน่ายด้วยราคาพิเศษประจำปี (ลด 20% ทุกชิ้น) รายได้สนับสนุนกิจกรรมมูลนิธิพันดารา

ศาลา “วสุตารา” เพื่อการปฏิบัติธรรมและเรียนรู้ภูมิปัญญาโบราณ

ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา มูลนิธิพันดาราได้สร้างศาลาวสุตาราที่ภัทรกัลป์ตาราขทิรวัน หัวหิน มุลนิธิขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ทำบุญสร้างศาลาหลังนี้และขอขอบคุณกลุ่มสถาปนิก ของมูลนิธิ ที่ได้ออกแบบศาลาอันงดงามที่มีลักษณะเหมือนสถูปประภัสสร คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในเดือน กันยายน ศกนี้ หลังจากนั้น เราจะจัดการอบรมและสวดมนตร์ภาวนาซึ่งทางมูลนิธิจะเรียน ให้สมาชิกและเพื่อนๆได้ทราบต่อไป

ร่วมทำบุญและแบ่งปันกับมูลนิธิพันดารา

เพื่อส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสร้างศาลาวสุตารา การสร้างพระศานติตารามหาสถูป การทำสารพันดารา การเป็นเจ้าภาพจัดประชุม การให้ความช่วยเหลือเด็ก สามเณรี พระจำศีลในทิเบต และกิจกรรมอื่นๆอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยโอนเงิน

*บัญชี (ออมทรัพย์) ธนาคารกรุงไทย สาขาสยามสแควร์ บัญชื่อ: มูลนิธิพันดารา เลขที่ 052-0-02254-8
*บัญชี (ออมทรัพย์) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสยามสแควร์ บัญชื่อ: มูลนิธิพันดารา เลขที่ 038-431667-8

หรือทำบุญได้ด้วยตนเองที่บ้านมูลนิธิ ซอยลาดพร้าว 11 ถนนลาดพร้าว จตุจักร กรุงเทพฯ

ขอทราบรายละเอียด นัดพบอาจารย์กฤษดาวรรณ ได้ที่
คุณวรวรรณา เพ็ชรกิจ Email: 1000tara@gmail.com มือถือ 086 722 8129 โทรสาร 02 938 7864

Tuesday, August 5, 2008

Tibetan Calligraphy

"Tibetan Calligraphy Course"

A Unique Tibetan Art Comes to Thailand

Organized by the Thousand Stars Foundation
The Thousand Stars Foundation is pleased to announce a rare opportunity for interested persons

to have a glimpse of this special art using Tibetan script. This is the first time that the training of Tibetan

calligraphy is offered in Thailand. Practicing calligraphy enhances concentration, effort, patience,

and most importantly peace of mind.
Artist & Instructor: Mr. Meu Yontan Tongrol

Date: Sunday August 10, 2008 (9 am - 4 pm)

Venue: Thousand Stars Foundation House, Ladprao 11
Registration :
  • Both Thais and non-Thais are welcome
  • No prior knowledge of Tibetan is required.
  • To register contact Ms. Worawanna at 1000tara@gmail.com.
  • Fees: 700 baht for a one-day workshop.
  • The fees include the instructor's honorarium, writing materials (pens, ink and paper), lunch and snack.
  • Registration closes August 8, 2008.

Nagarjuna

มุลนิธิพันดาราจะจัดอบรมหลักสูตรเรื่อง "โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง" ของท่านนาคารชุน ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ ๙ และ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ" ๒๕๕๑ ที่บ้านมูลนิธิ บ้านเลขที่ ๖๙๕ ซอย ๑๑ ถนนลาดพร้าว ใกล้ๆห้างคารูฟูร์ลาดพร้าว

ท่านนาคารชุนเป็นปราชญ์คนสำคัญคนหนึ่งใน พระพุทธศาสนา งานเขียนของท่านเป็นที่รู้จักแพร่หลาย โดยเฉพาะในจีน ญี่ปุ่น ทิเบต เกาหลี เวียตนาม ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทก็รู้จักชื่อท่านเป็นอย่างดีเช่นกัน เพียงแต่เราไม่ค่อยมีโอกาสจะศึกษางานของท่านอย่างจริงจังมากนัก

" โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง" แปลมาจากงานเรื่อง "มูลมัธยมกการิกา" จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ โดยเทียบกันหลายฉบับ นับเป็นงานแปลงานอันสำคัญยิ่งชิ้นนี้เป็นครั้งแรกเป็นภาษาไทย ในหลักสูตรอบรมนี้เราก็จะอ่านงานแปลฉบับภาษาไทยกันอย่างละเอียด เพื่อทำความเข้าใจคำสอนอันสำคัญนี้ อันจะเป็นประโยชน์ยิ่งแก่การปฏิบัติธรรม นอกจากนี้ก็ยังได้ประโยชน์ทางอ้อมในการใช้ชีวิต รวมทั้งการเข้าใจเรื่องราวต่างๆในวิชาการสมัยใหม่อีกด้วย

เนื้อหา หลักของ "โศลกมูลฐาน" ได้แก่คำสอนเรื่อง "ทางสายกลาง" อันได้แก่ "ศูนยตา" หรือ "ความว่าง" ความว่างนี้เป็นทางสายกลายระหว่างความมีกับความไม่มี ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอย่างใด ก็เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในพระสูตร และท่านนาคารชุนก็ได้นำคำสอนนี้ไปอธิบายและขยายความอย่างละเอียดพิสดาร เพื่อตอบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในแง่มุมต่างๆ

การอบรมนี้ใช้เวลาทั้งหมด ๑๒ ชั่วโมง (วันละ ๖ ชั่วโมง) ค่าลงทะเบียน ๑,๘๐๐ บาท รายละเอียดโปรดติดต่อที่คุณวรวรรณา เพ็ชรกิจ ที่ 1000tara@gmail.com การอบรมจะเป็นภาษาไทย

ผู้นำการอบรมและเสวนาได้แก่ รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์์ โปรดดูรายละเอียดได้ในบล็อกของ อ. โสรัจจ์

Sunday, July 20, 2008

Presentation File of Kris's Talk at Mahidol

The presentation file that Krisdawan gave at Mahidol University on July 12, 2008, on "Religion and Politics of Tibet" can be downloaded here (PDF file, 5 MB).

Thursday, July 3, 2008

Himalayan Fair and Special Exhibition

Himalayan Fair and Special Exhibition of The Shanti Tara Maha Stupa


Saturday, 12 July, 2008, 4:00-6:00pm

The Thousand Stars Foundation cordially invites you to attend a special viewing of the architectural model of the Shanti Tara Maha Stupa, the first Tibetan-style great stupa to be built in Hua-Hin. A short film on the project will also be introduced.

The accompanying Himalayan Fair features beautiful things from the Himalayas offered at reasonable prices. All proceeds from the Fair go to the Maha Stupa Project.

The Exhibition and Fair will be held at the publication office of Serindia Publications, 9/5 Soi Ari Samphan 5, Phaholyothin Road, Bangkok.
Our Foundation is a non-profit organization that conducts research on Tibet and the Himalayas, nurtures art and architecture, spiritual practice, and environmental care. We run charity programs in eastern Tibet and in Thailand. Our goals are to foster world peace on the basis of compassion, and preserve the sacred cultural heritage of Asia.
More information: 1000tara@gmail.com; Mobile 0867228129. Http://www.thousand-stars.org; www.taragreatstupa.org.


วันพิเศษกับงาน “พระศานติตารามหาสถูป” และหิมาลัยแฟร์


วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม 2551 เวลา 16.00-18.00 น.

มูลนิธิพันดารามีความยินดีขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมชมแบบสถาปัตยกรรม จำลองและนิทรรศการ “พระศานติตารามหาสถูป” พระมหาสถูปแบบทิเบตองค์แรกของประเทศไทยซึ่งกำลังจะก่อสร้างที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์ และชมฉายภาพยนตร์สั้นๆเกี่ยวกับมูลนิธิและโครงการพระสถูปที่งานด้วย

ที่งานจะมีการจำหน่ายสินค้าหิมาลัยในราคาย่อมเยา รายได้จากการจำหน่ายสินค้าทั้งหมดมอบให้แก่โครงการก่อสร้างพระมหาสถูป

นิทรรศการและการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวจะจัดที่สำนักงานของสำนักพิมพ์เซ รินเดีย บ้านเลขที่ 9/5 ซอยอารีย์สัมพันธ์ 5 ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ

มูลนิธิพันดาราเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทิเบตและหิมาลัย ส่งเสริมศิลปะและสถาปัตยกรรม การปฏิบัติธรรม และการดูแลสิ่งแวดล้อม มูลนิธิดำเนินโครงการการกุศลในทิเบตตะวันออกและในประเทศไทย เป้าหมายหลักของมูลนิธิคือการส่งเสริมให้เกิดสันติภาพในโลกบนพื้นฐานของความ เมตตากรุณา และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ของเอเซีย

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: 1000tara@gmail.com; โทรศัพท์มือถือ 0867228129
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิพันดาราและพระสถูป โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่อไปนี้ www.thousand-stars.org; www.taragreatstupa.org.

Sunday, June 22, 2008

Mind and Life

โครงการจัดการประชุมวิชาการ
“จิตกับชีวิต: มุมมองจากพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์”
(Mind and Life: Perspectives from Buddhism and Science)


ห้อง 210 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 29-30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

หลักการและเหตุผล

การประชุมนี้เป็นการประชุมต่อเนื่องของ “กลุ่มสนทนาพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์พันดารา”
(The Thousand Stars Buddhism and Science Group) ซึ่งเป็นกลุ่มของนักวิชาการทั้งทาง
ด้านวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของมูลนิธิพันดาราและ
ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มสนทนานี้สนใจแง่มุมต่างๆที่พระพุทธศาสนาสามารถแลกเปลี่ยนกันได้กับวิทยาศาสตร์
ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจระหว่างกันอันจะนำไปสู่การที่สังคมจะเข้าใจทั้งพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์
ในแง่มุมที่หลากหลายกว้างขวางและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น และจะนำไปสู่แนวทางของการทำวิจัยใหม่ๆ
ทั้งทางด้านการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา
ก็จะได้ความรู้ใหม่ที่มาจากวิทยาศาสตร์ อันเป็นผลจากการแลกเปลี่ยนดังกล่าวนี้

การประชุมครั้งก่อนๆของกลุ่มสนทนาฯ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ กำเนิดของ
จักรวาล และโครงสร้างทางฟิสิกส์และเคมีของสสาร แต่ในครั้งนี้ หัวข้อจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับจิต การรู้สำนึก และสมอง

นอกจากนี้ การศึกษาค้นคว้าเรื่องจิตกับสมอง ก็มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับปัญหาเรื่องการมีชีวิต
อยู่กับการตาย ปัญหาสำคัญก็คือปัญหาว่า เกิดอะไรขึ้นแก่จิตเมื่อร่างกายตายไปแล้ว ซึ่งปัญหานี้มีพูดถึง
ในพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆอย่างละเอียด แต่วิทยาศาสตร์กลับไม่พูดถึงเลย

การสนทนานี้ก็จะเป็นการเปิดประเด็นอภิปรายในหัวข้ออันน่าสนใจยิ่งนี้ ผลพวงประการหนึ่งของการ
อภิปรายนี้ก็คือว่า เราควรจะเตรียมตัวตายอย่างไร ผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับความตายควรจะปฏิบัติตัว
อย่างไร และบุคลากรสาธารณสุขที่ต้องดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ควรมีหลักการในการปฏิบัติอย่างไรบ้าง
ด้วยเหตุนี้ การประชุมเรื่อง “จิตกับชีวิต: มุมมองจากพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์” จึงเป็นการเปิด
ประเด็นการสนทนาแลกเปลี่ยนทรรศนะระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาและ
ผู้ปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา

คำถามสำคัญที่จะมาอภิปรายแลกเปลี่ยนกันก็มีเช่น “จิตกับสมองสัมพันธ์กันอย่างไร” “กระบวนการ
ทางประสาทสรีรวิทยามีอิทธิพลอย่างไรต่อจิตและวิญญาณ (การรับรู้)” “คำสอนของพระพุทธ
ศาสนามีที่ตรงกันหรือต่างจากผลการวิจัยของวิทยาศาสตร์ประการใดบ้าง” “เกิดอะไรขึ้นแก่จิตและ
การรับรู้เมื่อร่างกายตายไป” “การปฏิบัติตัวเพื่อเตรียมตัวตายควรจะทำอย่างไร” “กายกับจิต
สัมพันธ์กันอย่างไร” “จิตกับภาษาสัมพันธ์กันอย่างไร” และคำถามอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักต่อความสำคัญของจิตและมิติของจิตกับการรู้สำนึกในด้านต่างๆ
2.เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและผลการวิจัยเกี่ยวกับจิต สมองและวิญญาณ ระหว่างนักวิทยา
ศาสตร์ แพทย์ และนักวิชาการพระพุทธศาสนากับผู้ปฏิบัติธรรม
3.เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และการประสานพุทธธรรมกับโลกสมัย
ใหม่
4.พัฒนาแนวทางการวิจัย ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และพระพุทธศาสนา อันเป็นผลจากการประสาน
แนวคิดเข้าด้วยกัน

บรรยายพิเศษ

1.ศ. นพ. จรัส สุวรรณเวลา (คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
2.ศ. นพ. ประสาน ต่างใจ (โครงการจิตวิวัฒน์)
3.ผศ. ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
4.คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย (สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี)
5.อาจารย์เศรษฐพงษ์ จงสงวน (นักวิชาการอิสระ)
6.รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ (มูลนิธิพันดารา)
7.อาจารย์มิว เยินเต็น (มูลนิธิพันดารา)

การบรรยายพิเศษ “The Japanese Mind as Reflected in the Use of Honorifics”
Prof. Sachiko Ide (President, International Pragmatic Association; Professor
Emeritus, Japan Women’s University, Tokyo)

การสนทนา “จิต กายกับตัวตนในวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนา”
1.ศ. ดร. สมภาร พรมทา (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
2.ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ (สถาบันสหสวรรษ)
3.ศ. นพ. อนันต์ ศรีเกียรติขจร (คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
4.รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ – ผู้ดำเนินการอภิปราย (ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมูลนิธิพันดารา)

กิจกรรมพิเศษโดย ธนพล วิรุฬหกุล (Open Space Group)

แสดงความประสงค์เข้าร่วมงานที่ 1000tara@gmail.com; s.hongladarom@gmail.com;
areeratana@cpbequity.co.th
Fax: 02 528 5308 โทร. 02 218 4756, 02 528 5308
ไม่เก็บค่าลงทะเบียน

กำหนดการ

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2551
8.15-8.45 ลงทะเบียน
8.45-10.00 ปาฐกถาพิเศษ “ขันธ์กับ cognitive sciences”
ศ. นพ. จรัส สุวรรณเวลา
10.00-10.30 พักรับประทานน้ำชา
10.30-10.45 กิจกรรมของมูลนิธิพันดารา
10.45-12.00 “จิตกับชีวิตและจักรวาล”
ศ. นพ. ประสาน ต่างใจ
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-15.00 การเสวนาเรื่อง “จิต กาย กับตัวตนในวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนา”
ผู้ดำเนินรายการ: รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
ผู้เสวนา: ศ. นพ. อนันต์ ศรีเกียรติขจร, ศ. ดร. สมภาร พรมทา, ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
15.00-15.30 พักรับประทานน้ำชา
15.30-16.30 การสนทนาเรื่องจิตในวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา (ต่อ)

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551
9.00-10.15 “จิต วิญญาณ และพระพุทธศาสนา”
คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย
10.15-10.45 พักรับประทานน้ำชา
10.45-11.45 “จิตในปรัชญาอินเดีย”
ผศ. ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ
11.45-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 การบรรยายพิเศษ “The Japanese Mind as Reflected in the Use of
Honorifics” (จิตแบบญี่ปุ่นที่สะท้อนจากการใช้คำสุภาพ)
Prof. Sachiko Ide
14.30-15.00 พักรับประทานน้ำชา
15.00-16.00 “จิตกับชีวิตในพุทธศาสนาแบบจีน”
อ. เศรษฐพงษ์ จงสงวน
16.00-17.00 “จิต ชีวิต ความตาย: ทัศนะจากทิเบต”
รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์และคุณมิว เยินเต็น
17.00-17.30 การร่ายรำเพื่อการตื่นรู้และเบิกบานภายใน
คุณธนพล วิรุฬหกุล

18.00-20.00 งานเลี้ยงรับรองเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ซาชิโกะ อิเดะ

ใบลงทะเบียน
“จิตกับชีวิต: มุมมองจากพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์”
29 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ห้อง 210 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชื่อ-นามสกุล ………………………………………………………………………………….

สถานที่ทำงาน ………………………………………………………………………………………………………..

…………………………………………………………………………………………………………………..

…………………………………………………………………………………………………………………..

โทร. ………………………………….. Email …………………………………………………………………..

«ข้าพเจ้าขอแสดงความจำนงเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้

กรุณาส่งใบลงทะเบียนดังกล่าวมาที่ รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรสาร 02 218 4755
ภายในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เปลี่ยนแปลงวันบรรยายเรื่องนาคารชุน

การบรรยายเรื่อง "โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง" ของท่านนาคารชุน เลื่อนไปเป็นวันที่ ๙ กับ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ นี้ ที่บ้านมูลนิธิ รายละเอียดโปรดดูที่นี่

Thursday, June 5, 2008

Phakchok Rinpoche's Teaching Series in Thailand, June 2008


Dear Dharma Friends,
HH Phakchok Rinpoche has been so kind to give teachings on various subjects during 16-21 June, 2008. There are no registration fees.


Teachings by His Holiness Phakchok Rinpoche

Mon 16 June: The Great “I”
Place: Grand Ballroom, 11th Floor
Tawana Hotel
(In the Rear Building of the Hotel)
Surawongse Road, Bangkok.
Get off at the Saladaeng BTS Station.
Walk through Patpong Road and turn left on Surawongse Road.
Time: 5:30 p.m. to 9:00 p.m.


Tue 17 June: Healing in Buddhism
Place: Mongkolnavin Conference Room, Chulalongkorn Memorial Hospital
10th Floor, Queen Sirikit Building
Rajadamri Road, Bangkok.
(Near the King’s Building / Por.Bor.Ror. Building).
Get off at the BTS Saladaeng Station, or at the MTR Silom Station (Lumpini Exit).
Time: Registration starts at 11:45 a.m. Lecture 12:15 to 13:45, including Q&A.


Thu 19 June: Vajrasattava Empowerment and Teaching on "Accumulation of Merit"
Place: Boudhagaya Hall
DMG Co. Ltd.
22nd Floor
Amarin Building, formerly known as the Amarin SOGO Building
Ploenchit Road, Bangkok..
(Above MacDonald’s.
Take the elevator at the right side entrance of the building, facing the hotel.)
Get off at the Chidlom BTS Station.
Time: 5:30 p.m. to 9:00 p.m. (Registration starts at 5:00 p.m.)


Sat-Sun 21-22 June: Teaching on Gampopa's Jewel Ornament of Liberation
Place: The Forum Park Hotel
Soi Vati, Chand Road, Yannawa District
Bangkok.
Lane opposite Baan Nondzee Condominium on Chand Road.
(Near the intersection of Narathiwat Rachanakarin Road and Chand Road.
Round the corner from Makro.)
Time: 2:00 p.m. to 5:00 p.m., and 7:00 p.m. to 10:00 p.m.
Two sessions per day for two days.
(A total of 12 hours spread over 4 sessions of 3 hrs. each.)


For more information please go to

http://1000starsweb.googlepages.com/PhakchokRinpochesVisit2008.pdf

Tuesday, May 27, 2008

Talk on "Practice of Tara"

WBU Sunday Forum
Topic: “Practice of Tara in the Relative and Absolute”
Date & Time: June 1, B.E. 2551 (2008) 12:00-13:30 p.m.
Speaker: Associate Professor Krisadawan Hongladarom, Ph.D
(Expert of Tibet and Tibetan Linguistics and Meditation
Teacher)
The Thousand Stars Foundation

Moderator Dr.Chris A. Stanford
Rapporteur Mrs. Sutthinee Yawaprapas

Synopsis of the topic:
The female Buddhist deity of compassion Tara has been an object of devotion and a living practice among practitioners of Tibetan Buddhism in Tibet and beyond.
Her ten-syllable mantra is always on the lips of her devotees, no matter whether they are male or female, educated or uneducated. Her energy is evoked, particularly in this age when human beings are experiencing warfare, illnesses, natural disasters, conflicts and mental disturbances. The practice has grown so much that there are now a large number of Retreat centers around the world devoted to her.
Who is Tara? Is she an external reality or an abstract projection of our own mind? How can we understand Tara from the relative and absolute points of view? How can her practice clear away fears and negative emotions, prepare the practitioner’s mind for death, and lead towards ultimate realization? The talk will be devoted to providing answers to these questions from the perspective of a lay female practitioner of Vajrayana Buddhism within the Theravada context.

Place: Meeting Room, the World Buddhist University, 3rd floor,
WFB Headquarters Bldg., in Benjasiri Park, Sukhumvit 24,
Bangkok, and 10110 Thailand. (5 Minutes from Prompong
BTS Station)
All are welcome to join the programme free of charge. For more information, please call 02-258-0369-73

Fax.02-258-0372. www.wb-university.org

Wednesday, May 7, 2008

หลักสูตรนาคารชุน



มุลนิธิพันดาราจะจัดอบรมหลักสูตรเรื่อง "โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง" ของท่านนาคารชุน ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ ๒ และ ๓ สิงหาคม พ.ศง ๒๕๕๑ ที่บ้านมูลนิธิ บ้านเลขที่ ๖๙๕ ซอย ๑๑ ถนนลาดพร้าว ใกล้ๆห้างคารูฟูร์ลาดพร้าว

ท่านนาคารชุนเป็นปราชญ์คนสำคัญคนหนึ่งในพระพุทธศาสนา งานเขียนของท่านเป็นที่รู้จักแพร่หลาย โดยเฉพาะในจีน ญี่ปุ่น ทิเบต เกาหลี เวียตนาม ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทก็รู้จักชื่อท่านเป็นอย่างดีเช่นกัน เพียงแต่เราไม่ค่อยมีโอกาสจะศึกษางานของท่านอย่างจริงจังมากนัก

"โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง" แปลมาจากงานเรื่อง "มูลมัธยมกการิกา" จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ โดยเทียบกันหลายฉบับ นับเป็นงานแปลงานอันสำคัญยิ่งชิ้นนี้เป็นครั้งแรกเป็นภาษาไทย ในหลักสูตรอบรมนี้เราก็จะอ่านงานแปลฉบับภาษาไทยกันอย่างละเอียด เพื่อทำความเข้าใจคำสอนอันสำคัญนี้ อันจะเป็นประโยชน์ยิ่งแก่การปฏิบัติธรรม นอกจากนี้ก็ยังได้ประโยชน์ทางอ้อมในการใช้ชีวิต รวมทั้งการเข้าใจเรื่องราวต่างๆในวิชาการสมัยใหม่อีกด้วย

เนื้อหาหลักของ "โศลกมูลฐาน" ได้แก่คำสอนเรื่อง "ทางสายกลาง" อันได้แก่ "ศูนยตา" หรือ "ความว่าง" ความว่างนี้เป็นทางสายกลายระหว่างความมีกับความไม่มี ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอย่างใด ก็เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในพระสูตร และท่านนาคารชุนก็ได้นำคำสอนนี้ไปอธิบายและขยายความอย่างละเอียดพิสดาร เพื่อตอบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในแง่มุมต่างๆ

การอบรมนี้ใช้เวลาทั้งหมด ๑๒ ชั่วโมง (วันละ ๖ ชั่วโมง) ค่าลงทะเบียน ๑,๘๐๐ บาท รายละเอียดโปรดติดต่อที่คุณวรวรรณา เพ็ชรกิจ ที่ 1000tara@gmail.com การอบรมจะเป็นภาษาไทย

ผู้นำการอบรมและเสวนาได้แก่ รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์์ โปรดดูรายละเอียดได้ในบล็อกของ อ. โสรัจจ์

Monday, May 5, 2008

"โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง"

มุลนิธิพันดาราจะจัดอบรมหลักสูตรเรื่อง "โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง" ของท่านนาคารชุน ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ ๒ และ ๓ สิงหาคม พ.ศง ๒๕๕๑ ที่บ้านมูลนิธิ บ้านเลขที่ ๖๙๕ ซอย ๑๑ ถนนลาดพร้าว ใกล้ๆห้างคารูฟูร์ลาดพร้าว

ท่านนาคารชุนเป็นปราชญ์คนสำคัญคนหนึ่งในพระพุทธศาสนา งานเขียนของท่านเป็นที่รู้จักแพร่หลาย โดยเฉพาะในจีน ญี่ปุ่น ทิเบต เกาหลี เวียตนาม ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทก็รู้จักชื่อท่านเป็นอย่างดีเช่นกัน เพียงแต่เราไม่ค่อยมีโอกาสจะศึกษางานของท่านอย่างจริงจังมากนัก

"โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง" แปลมาจากงานเรื่อง "มูลมัธยมกการิกา" จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ โดยเทียบกันหลายฉบับ นับเป็นงานแปลงานอันสำคัญยิ่งชิ้นนี้เป็นครั้งแรกเป็นภาษาไทย ในหลักสูตรอบรมนี้เราก็จะอ่านงานแปลฉบับภาษาไทยกันอย่างละเอียด เพื่อทำความเข้าใจคำสอนอันสำคัญนี้ อันจะเป็นประโยชน์ยิ่งแก่การปฏิบัติธรรม

เนื้อหาหลักของ "โศลกมูลฐาน" ได้แก่คำสอนเรื่อง "ทางสายกลาง" อันได้แก่ "ศูนยตา" หรือ "ความว่าง" ความว่างนี้เป็นทางสายกลายระหว่างความมีกับความไม่มี ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอย่างใด ก็เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในพระสูตร และท่านนาคารชุนก็ได้นำคำสอนนี้ไปอธิบายและขยายความอย่างละเอียดพิสดาร เพื่อตอบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในแง่มุมต่างๆ

การอบรมนี้ใช้เวลาทั้งหมด ๑๒ ชั่วโมง (วันละ ๖ ชั่วโมง) ค่าลงทะเบียน ๑,๘๐๐ บาท รายละเอียดโปรดติดต่อที่คุณวรวรรณา เพ็ชรกิจ ที่ 1000tara@gmail.com การอบรมจะเป็นภาษาไทย

รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรนี้ และหลักสูตรอื่นๆที่มูลนิธิพันดาราจัด โปรดดูที่

http://krisadawan.blogspot.com/2008/05/various-courses-on-tibetan-and-buddhism.html

Friday, May 2, 2008

Experiencing the Sacred: Buddhist Art in Bhutan

The Thousand Stars Foundation, in cooperation with the Serindia Publications, is organizing a talk on: "Experiencing the Sacred: Buddhist Art in Bhutan" by John Johnston, co-author of the "Dragon's Gift: Sacred Arts of Bhutan" (Serindia Publications, 2008), next Sunday 11 May 2008, 1.30-4.00 pm. at the Foundation House, Ladprao 11 Road.


About the Talk:

This lecture explores how Buddhist art and images are experienced in Bhutan from the perspective of the Buddhist faithful. From the ornate temples of the great fortresses (dzongs) to modest home altars, Buddhist images play an important role in the daily life of this Buddhist community. The spiritual connection between the practitioner and sacred images will be explored using specific examples drawn from the speaker's observations in Bhutan.

About the Speaker:
John Johnston is assistant curator for the exhibition "The Dragon's Gift: The Sacred Arts of Bhutan" organized by the Honolulu Academy of Arts. Mr. Johnston was a key participant in locating and identifying works of sacred art for the exhibition and was based in Bhutan for three years working on the project. He also participated in original research, writing and editing efforts culminating in "The Dragon's Gifts: The Sacred Arts of Bhutan" (Serindia Publications, 2008). He is cofounder and coeditor of the Buddhist Art News and author of numerous articles on the subject. Mr. Johnston presently serves on the editorial board of the National Museum of Bhutan. He has conducted fieldwork at remote Buddhist sites throughout Asia, particularly in silk road and Himalayan areas.

Courses at the Foundation House

The Thousand Stars Foundation is offering various short courses on Tibetan, Mahayana Buddhism, and Asian Culture/Philosophy to the general public at the Foundation House, Ladprao 11.

28 May - 28 June 2008
Basic Tibetan I
Instructors: Aj. Yontan (Meu Yontan Tongdrol) and Dr. Krisadawan Hongladarom
Affiliation: The Thousand Stars Foundation
Media of instruction: Tibetan and Thai
30 hours, three times a week: Wednesdays, Fridays 18.30-20.30 hrs. Sundays 16.00-18.00 hrs.

This course emphasizes the relationship between language and culture and aims to equip the students with basic skills, namely speaking, listening, reading, writing including translating. We'll read a basic prayer in Tibetan as well.

For those who are interested only in reading and translating Buddhist texts, we hope to offer such a course in the near future.

6 July-31 August 2008
Basic Dance Workshop I: Sacred Newar Tantric Dance for Mindfulness and Inner Awakening
Instructor: Aj. Tam (Thanapol Virulhakul)
Affiliation: Open Space
Medium of instruction: Thai (but non-Thais may contact the instructor for a possibility of special instruction in English)
20 hours, weekly Sundays 16.00-18.30 hrs.

27 July 2008
Tibetan Calligraphy
Instructor: Aj. Yontan
Both Thais and non-Thais are welcome.
6 hours, Sunday 9.00-16.00 hrs.

2-3 August 2008
Nagajurna: Teaching on the Middle Way
Instructor: Assoc. Prof. Dr. Soraj Hongladarom
Affiliation: The Thousand Stars Foundation and Chulalongkorn University
Medium of instruction: Thai
12 hours: weekend 9.00-16.00 hrs.

More short courses on various topics of interest including Chinese Buddhism and Tibetan culture will be announced soon.

More information and registration, please contact 1000tara@gmail.com

Wednesday, April 30, 2008

บทความในมติชน

ขอเชิญอ่านบทความของคุณวิชาติ บูรณะประเสริฐสุขเกี่ยวกับงานที่มูลนิธิเพิ่งจัดไป เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน ได้ ที่นี่

Tuesday, April 29, 2008

Praying to Cool Oneself

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย (จากหนังสือ "วิถีแห่งจิต" หน้า ๑๐๓ ถึง ๑๐๖)

***
บทสวดมนต์ที่เราจะยึดเป็นหลัก วิธีปฏิบัติ ถ้าเรามีดอกไม้ ธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป ก็ให้กล่าวคำว่า

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูชามิ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง ปูชามิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง ปูชามิ


อันนี้เป็นคำบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

ถ้าโน้มน้าวจิตของเราให้มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อันดับต่อไปก็

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบทีหนึ่ง)

สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบทีหนึ่ง)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบทีหนึ่ง)

ทีนี้ ก็มาสำรวมจิตให้แน่วแน่ต่อคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ กล่าวนะโม ๓ จบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ต่อไปสำรวมจิต สวดบทอิติปิโส

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวามะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (กราบทีหนึ่ง)

แล้วสวดบทสวากขาโตต่อไป

สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ (กราบทีหนึ่ง)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบทีหนึ่ง)

ทีนี้ อันดับต่อไปก็ตั้งใจเจริญพรหมวิหาร

อะหัง สุขิโต โหมิ
อะหัง นิททุกโข โหมิ
อะเวโร โหมิ
อัพยาปัชโฌ โหมิ
อะนีโฆ โหมิ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ 


อันนี้บทเมตตาคน ต่อไปก็แผ่เมตตาสัตว์

สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ
สัพเพ สัตตา อัพยาปัชฌา โหนตุ
สัพเพ สัตตา อะนีฆา โหนตุ
สัพเพ สัตตา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ


นี่บทแผ่เมตตา ทีนี้ก็สวดบทกรุณาต่อไป

สัพเพ สัตตา สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ

สัพเพ สัตตา สัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ


อันนี้เป็นบทมุทิตา ทีนี้สวดบทอุเบกขาต่อไป

สัพเพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

อันนี้เป็นยอดแห่งบทสวดมนต์ ให้ทุกคนพยายามท่องจำให้ได้ แล้วพยายามสวดทุกวันๆ ทั้งเวลาเช้าเวลาเย็น ถ้ามายึดบทสวดตามที่กล่าวนี้อย่างมั่นคงแล้วก็ตั้งใจสวดอย่างต่อเนื่องทุกวันๆ ไม่ต้องไปสวดคาถาบทอื่นก็ได้ ให้สวดเฉพาะเท่าที่กล่าวมานี้ ทำจิตให้มั่นคงต่อบทสวดนี้อย่างแน่วแน่ ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก คาถาชินบัญชร หรือคาถาอื่นๆนี้ ไม่จำเป็นต้องสวดก็ได้

หลักสูตรนาฏยตันตระขั้นพื้นฐาน


มูลนิธิพันดาราจัดอบรมหลักสูตร "นาฏยตันตระขั้นพื้นฐาน - นาฏศิลป์ตามแนวพุทธวัชรยานเนวาร์เพื่อการตื่นรู้และเบิกบานภายใน" ระหว่างวันที่ 6 กรกฎาคม ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

นาฏยตันตระได้แก่การร่ายรำที่ได้รับแรงบันดาลใจและพื้นฐานมาจากจารยนฤฏยะ ศาสตร์การร่ายรำบนรากฐานของพุทธศาสนาวัชรยานแห่งเนวาร์ (Newar Vajrayana Buddhism) โดยประยุกต์ให้เข้ากับบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่แปรเปลี่ยนไป ทั้งนี้แก่นสำคัญของการร่ายรำคือการนำผู้คนให้ประจักษ์ในพุทธจิตภายใน การปลุกการรู้สึกตัวเท่าทันปัจจุบันขณะ การตื่นรู้ภายในจิต เมื่อจิตตื่นขึ้นจากมายาคติของความคิด ตัวตน สิ่งที่ตามมาคือความเบิกบานภายใน

ลักษณะของการอบรม -- บรรยายและปฏิบัติ

วันเวลาอบรม -- จำนวน 20 ชั่วโมง ทุกวันอาทิตย์ 16.00-18.30 น. ครั้งละ 2.5 ชั่วโมง

สถานที่อบรม -- บ้านมูลนิธิ 695 ลาดพร้าว ซอย 11 จตุจักร กรุงเทพฯ

ค่าอบรม -- 3,500 บาท รายได้จากการอบรมส่วนหนึ่งสมทบทุนกิจกรรมการกุศลของมูลนิธิพันดารา

ครูผู้สอน -- ครูตั๋ม (ธนพล วิรุฬหกุล)

กลุ่มเป้าหมาย
 - บุคคลทั่วไปที่สนใจการประสานระหว่างศิลปะกับจิตวิญญาณ ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐาน
ด้านศิลปะหรือการร่ายรำมาก่อน แต่ทั้งนี้จะต้องผ่านการสัมภาษณ์ก่อน

รับ 10 คน

ลงทะเบียน -- แสดงความจำนงภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2551 และจ่ายค่าอบรมตลอดหลักสูตรภายในวันที่
30 มิถุนายน 2551 ที่คุณวรวรรณา มือถือ 086 722 8129 หรือโทรศัพท์/โทรสาร 02 938 7864
Email: 1000tara@gmail.com การสัมภาษณ์จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง


Monday, April 14, 2008

หลักสูตรภาษาทิเบตพื้นฐาน รุ่นที่ 1

มูลนิธิพันดาราจะเปิดหลักสูตรสอนภาษาทิเบตแก่คนทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม ถึง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลาเรียนวันพุธ วันศุกร์ เวลา 18.30 ถึง 20.30 น. และวันอาทิตย์เวลา 16.00 ถึง 18.00 น. ที่บ้านมูลนิธิฯ ลาดพร้าว ซอย 11 รายละเอียดโปรดดูที่ ไฟล์ นี้

สนใจโปรดติดต่อคุณวรวรรณา เพ็ชรกิจ โทร. 086 722 8129. Email: 1000tara@gmail.com

Thursday, March 27, 2008

ตารา พระโพธิสัตว์ผู้เป็นที่รัก

พระแม่ตาราเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตากรุณา

ทรงเป็นที่รัก และปฏิบัติบูชาของชาวทิเบต มองโกเลีย และชาวพุทธทั่วโลก คนไทยเริ่มรู้จักพระองค์มากขึ้นเรื่อยๆ

ด้วยตระหนักเห็นความสำคัญของการปฏิบัติบูชาพระองค์และให้ความรู้เกี่ยวกับพระองค์ มูลนิธิพันดาราจึงจะจัดงานพิเศษ

"ตารา พระผู้เป็นที่รัก"

ที่บ้านมูลนิธิ วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2551 เวลา 1.30-5.30 น.

The film and the talks are in Thai.

The 1000 Stars Foundation is pleased to invite everyone to attend a special event on "Beloved Tara"

at the foundation house on Sunday April 20, 2008, 1.30-5.30 pm.

Schedule:

1.30-2.00 pm Film on Tara

2.00-3.00 pm "Who is Tara, How Tara Differs from Mundane Deities, and How to Worship and Meditate on Her?" by Dr. Krisadawan Hongladarom

3.00-3.30 pm "Songs to Tara by Indian and Tibetan Devotees" by Dr. Soraj Hongladarom

3.30-4.00 pm Discussion and tea break

4.00-5.00 pm Group practice: Making Offerings, Prayer and Meditation

5.00-5.30 pm Tantra Dance

There is no registration fee. Please bring vegetarian snacks to share with one another. A copy of Tara prayer book in Tibetan and Thai will be distributed at the event. Contributions to the Tara Great projects at the Tara Khadiravana Retreat Center in Hua-Hin, namely the Tara Great Stupa for Peace and Harmony and Vasutara Dharma pavillion (meditation hall) are welcome.

Please email Worawanna (worawora@gmail.com) for reservation.

Thursday, March 20, 2008

Story of the Foundation in the Nation

Today the Nation has published a beautiful story of the Foundation and its activities. This could be a stepping stone for further activities in the future. We would like to pray for peace, both inside and outside, and may all living beings live together in harmony.

Wednesday, March 5, 2008

Sunday, March 2, 2008

Monday, February 25, 2008

Public Talk by Georges Dreyfus

The Department of Philosophy, the Center for Ethics of Science and Technology, Chulalongkorn University, and the Thousand Stars Foundation cordially invite the public to attend a lecture on

Learning to Philosophize the 'Tibetan' Way

by

Prof. Georges Dreyfus

Williams College, USA

March 10, 2008 at Room 708, Boromratchakumari Building, Faculty of Arts, Chulalongkorn University from 10 am to 12 noon.

Georges Dreyfus is a professor of religious studies at Williams College in Massachusetts, USA. He has a Ph.D. from Harvard and a Geshe Lharampa Degree, which is the highest monastic educational degree in Tibetan Buddhism. He is the author of many books such as "The Svatantrika-Prasangika Distinction," a book on Dharmakirti's philosophy and many others. The talk today will focus on how philosophy is done in a Tibetan monastery. This consists in the famous debates among the monks on finer points of the Buddhist teaching. The talk will focus on the anatomy of these debates and on how we could understand Buddhism better as a result.

Wednesday, January 30, 2008

Detail of Activities

The Thousand Stars Foundation

2008

3 February 2008
Talk on “Pilgrimage to Mt. Kailash” by Dr. Andy Lowe,
Foundation House, Ladprao

11-12 January 2008
Guru Rinpoche Retreat and Guru Rinpoche Empowerment by
His Eminence Lhasray Rinpoche, Tara Khadiravana
Retreat Center, Hua-Hin

10 January 2008
Stone Foundation Laying Ceremony of the Tara Great
Stupa for Peace and Harmony, Tara Khadiravana Retreat
Center, Hua-Hin

2007

13 December 2007
Twenty One Taras Empowerment by HH Phakchok Rinpoche,
Mahachulalongkorn Building, Chulalongkorn University

12-13 December 2007
Teaching on “Mind Training and How to Develop
Compassion in Everyday Living” by HH Phakchok
Rinpoche, Mahachulalongkorn Building, Chulalongkorn
University

29 November 2007
Talk on “Retreat and Mind Training: How Lay People
Could Integrate Them into Daily Living, by Ven.
Phakchok Rinpoche, Foundation House, Ladprao

28 November 2007
White Tara Empowerment by Ven. Ringu Tulku Rinpoche,
Tara Khadiravana Retreat Center, Hua-Hin

27 November 2007
Dharma Talk on “Meditation as an antidote for
depression,” by Ven. Ringu Tulku Rinpoche,
Boromrajakumari Building, Faculty of Arts,
Chulalongkorn University

25 November 2007
Talk on “Introduction to Tibetan Buddhism” by Dr.
Krisadawan Hongladarom, Foundation House, Ladprao

11 November 2007
Talk on “Shantideva’s Guide to the Bodhisattva’s Way
of Life” by Dr. Soraj Hongladarom, Foundation House,
Ladprao

3 November 2007
White Tara Retreat by Dr. Krisadawan Hongladarom, Tara
Khadiravana Retreat Center, Hua-Hin

13 October 2007
Seminar on “Weaving Art through Peace: Tibetan and
Himalayan Arts and Culture,” Mahachulalongkorn
Building, Chulalongkorn University

12 September 2007
Talk on “Three Hundred Years of Buddhism in Russia” A
Special Lecture in Commenmoration of One Hundred and
Ten Years of Thai-Russian Relations, by Professor
Andrey Terentyev, Boromrajakumari Building,
Chulalongkorn University.

19-20 August 2007
Conference on “Happiness in Modern Society: Dialogs
between Science and Spirituality,” Mahachulalongkorn
Building, Chulalongkorn University

11 August 2007
Talk on “Prostration Experience in Tibet of a Thai
Yogini,” by Dr. Krisadawan Hongladarom, Contemplative
Education Center, Mahidol University

22 July 2007
Seminar on "Tibetan Medicine and the Human Side of
Cancer,” by Dr. Tsedor Nyarongsha and Dr. Noppadol
Sopharatanaphaisarn, Mahachulalongkorn Building,
Chulalongkorn University

2 March 2007
Seminar on "Tibetan Medicine and Good Health" by Dr.
Lobsang Rabgay (UCLA), Dr. Dickey Nyarongsha
(Nyarongsha Institute for Medicine and Culture),
Mahachulalongkorn Building, Chulalongkorn University

28 January 2007
White Tara Empowerment by Ven. Kandroma Palden
Chotsho, Mahachulalongkorn Mahachulalongkorn Building,
Chulalongkorn University

27-28 January 2007
Conference and Training on Amitabha Buddha and Tibetan
Mindfulness of Death, Mahachulalongkorn Building,
Chulalongkorn University


2006

17 December 2006
Amitayus Empowerment by His Eminence Mongyal Lhasray
Rinpoche, Rai Rak Dharma-chart, Hua-Hin

10 December 2006
Chenrezig Empowerment by Ven. Kunga Sangbo Rinpoche,
Rai Rak Dharma-chart, Hua-Hin

7-9 December 2006
International Conference on "Body and Mind:
Perspectives from Science and Religion,”
Mahachulalongkorn Building, Chulalongkorn University

7 December 2006
Talk on "Bon and Dzogchen: Towards Enlightened Mind"
by Latri Geshe Nyima Dakpa Rinpoche, Mahachulalongkorn
Building, Chulalongkorn University

13 November 2006
Special Talk on "Dharmodynamics" by Dr. Vutthipong
Priebjariyawat, Boromrajakumari Building,
Chulalongkorn University

27 May 2006
Training on “Manjushri and How to Cultivate Wisdom”
and Manjushri Empowerment by Ven. Kunga Sangbo
Rinpoche, Arts 4 Building, Chulalongkorn University

21 January 2006
Conference on “Bodhisattva in the Contemporary World,”
Boromrajakumari Building, Chulalongkorn University

2005

24-25 December 2005
Training on “Bardo: Tibetan Mindfulness of Death” by
Sonam Topgyal Rinpoche, Chulalongkorn University
(organized with the Riwoche Dharma Institute)

19 December 2005
Talk on “Emptiness and Interdependence by Geshe
Damdul Namgyal (Central Institute of Higher Tibetan
Studies, India) (Organized with the International
Engaged Buddhism)

7 December 2005
Talk on "A Brief History of Tibet" by Professor
Thubten Phuntshok, Sasanives House, Chulalongkorn
University

21-23 August 2005
21 Taras Empowerment by Ven. Kunga Sangbo Rinpoche,
Tara Shrine Room, 1000 Stars Foundation House,
Nonthaburi

6-13 April 2005
Pilgrimage to Lhasa and Central Tibet

March 2005
Medicine Buddha Empowerment by Ven. Sonam Topgyal, Wat
Songthamkalayani, Nakorn Prathom

January 2005
White Tara Empowerment by Ven. Kandroma Palden
Chotsho, Wat Songthamkalayani, Nakorn Prathom


2004

19-20 August 2004
Conference on “Dream and Spirituality: Perspectives
from Religion and Science, Mahachulalongkorn Building,
Chulalongkorn University. Organized with the Metanexus
Institute, USA and the ASEAN-EU Lemlife, Faculty of
Arts, CU.

November 2004
Exhibition “On the Roof of the World,” Boromrajakumari
Building, Chulalongkorn University


2003

17-18 November 2003
Conference on “Death and Dying: Perspectives from
Religion and Science,” Mahachulalongkorn Building,
Chulalongkorn University. Organized with the Metanexus
Institute, USA and the ASEAN-EU Lemlife, Faculty of
Arts, CU.

Andy Lowe to talk about Mount Kailash

The next Thousand Stars Lecture Series will feature Dr. Andy Lowe who will speak to us about his recent trip to the Kailash Mountain in western Tibet. Mount Kailash, known in Tibetan as "Kang Rinpoche," or the Precious Snow Mountain, is one of the most spiritually potent places in the world, and is the source of three of Asia's greatest rivers--the Indus, the Ganges and the Brahmaputra. Andy will also talk with us about how to prepare for a trip to the mountain and how to manage the effects of trekking in high altitude.

The talk will take place on Sunday, 3 February 2008 from 13:30 to 15:30 hours at the Thousand Stars House, 695, Soi 11, Ladprao Road, near Carrefour Ladprao.

For more information please read Andy's own account on the trip.

Thursday, January 24, 2008

คำถาม คำตอบเกี่ยวกับงานสร้างพระศานติตารามหาสถูป

1
ในขณะที่ชาวพุทธส่วนใหญ่ในเมืองไทยดำรงชีวิตนับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท
เหตุใดทางมูลนิธิจึงมีความคิดริเริ่มที่จะสร้างพระสถูปแบบมหายานหรือแบบทิเบตขึ้นมาในประเทศไทย

เพราะมูลนิธิพันดาราไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างนิกายเถรวาทกับนิกายมหายานหรือวัชรยานในพระพุทธศาสนา นิกายเหล่านี้ล้วนเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า การสร้างสถูปแบบทิเบตหรือเจดีย์แบบไทยจึงเป็นการธำรงธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ให้สิ้นสูญ เป็นการเสริมพรของพระพุทธเจ้าให้กับจักรวาลเพื่อการขจัดกิเลสทั้งหลายให้สิิ้นไปและเพื่อสันติสุขของสัตว์โลก และเนื่องจากมูลนิธิพันดาราประกอบด้วยบุคคลที่ผูกพันกับประเพณีพุทธศิลป์ของทิเบต และมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับพระอาจารย์หลายท่านของทิเบต การสร้างพระสถูปแบบทิเบตซึ่งมีความงดงาม และเป็นที่สร้างกันอยู่ทั่วโลกจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมยิ่งนักบนผืนแผ่นดินไทย อันเป็นดินแดนที่ได้รับพรจากพระพุทธเจ้ามาเป็นเวลาช้านาน

2
จุดประสงค์ของการมีพระสถูปแบบมหายานกับพระสถูปหรือเจดีย์แบบเถรวาทของไทย
มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

จุดประสงค์เหมือนกัน วิธีสร้างก็เหมือนกันคือใช้ธาตุทั้งห้า (ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศธาตุ) อันมีอยู่ในธรรมชาติในการสร้าง ทัศนคติในการสร้างของผู้สร้างก็เหมือนกันคือการสะสมบุญบารมีเพื่อประโยชน์ทั้งในชาติภพนี้และชาติภพหน้า ผลของการสร้างก็ยังเหมือนกันคือเพื่อประโยชน์ให้สัตว์ทั้งหลายได้เข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณกลายเป็นพระพุทธเจ้า สิ่งที่ต่างคือวิธีสร้างเนื่องจากวัฒนธรรมและประเพณีพุทธศิลป์ต่างกัน

3
เหตุใดจึงมีความจำเป็นที่เราควรช่วยกันมีส่วนร่วมสร้างศาติตารามหาสถูป ในขณะที่เราสามารถเลือกบริจาคเงินตามศรัทธาให้แก่วัดต่างๆในเมืองไทย

การหล่อพระ การพิมพ์คัมภีร์พระไตรปิฎก การสร้างเจดีย์ ตลอดจนการดูแลพระสงฆ์ในประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญ การให้ความช่วยเหลือฆราวาสในสังคมไม่ว่าพวกเขาจะเป็นชาวพุทธหรือไม่ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน แม้ว่าภัทรกัลป์ตาราขทิรวัณจะไม่ใช่วัดที่มีภิกษุหรือภิกษุณีจำพรรษาอยู่เป็นประจำ แต่ก็เป็นสถานปฏิบัติธรรมสำคัญที่ทำให้ผู้คนได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้า ได้ปฏิบัติจำศีลภาวนาเพื่อให้ได้เข้าถึงสันติสุขในใจ อันจะนำมาซึ่งสันติสุขในสังคม การบริจาคเงินเพื่อสร้างพระศานติตารามหาสถูปนอกจากจะเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการทำงานเพื่อสันติภาพและสันติสุขของสัตว์โลกอีกด้วย

4
เหตุใดทางมูลนิธิจึงเลือกที่จะใช้เงินจำนวนมากไปในการสร้างพระสถูปซึ่งเป็นนามธรรม
แทนการช่วยเหลือเด็กสามเณรีในทิเบตซึ่งดูเป็นรูปธรรมมากกว่า

มูลนิธิมีโครงการหลากหลาย แม้ว่าจะรับภาระหนักในการสร้างพระศานติตารามหาสถูป มูลนิธิก็ยังคงให้ความช่วยเหลือเด็กกับสามเณรีในทิเบตอยู่เช่นเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา มูลนิธิยังให้ความช่วยเหลือชาวทิเบตเพิ่มขึ้นโดยเพิ่มโครงการการให้ความช่วยเหลือพระภิกษุจำศึีล 3 ปี 3 เดือน 3 วันทั้งในทิเบตและอินเดีย นอกจากนี้ มูลนิธิยังคงจัดประชุมวิชาการและการอบรมในด้านต่างๆที่เกี่ยวโยงกับจิตวิญญาณและสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มูลนิธิเชื่อว่าการงานทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นการสร้างวัตถุมงคลและสถานศักดิ์สิทธิ์อันเป็นสิ่งแทนกาย วาจา ใจของพระพุทธเจ้า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเพื่อนมนุษย์ทั้งในไทยและทิเบต หรือการให้ความรู้เป็นวิทยาทานล้วน แต่เป็นการงานที่สำคัญที่จะทำให้มนุษย์ได้ใช้ศักยภาพของความเป็นมนุษย์อย่างคุ้มค่าเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น

5
ในการสร้างพระสถูปนั้นชาวพุทธในเมืองไทย และผู้ที่มีส่วนร่วมในการบริจาคเงินสร้างพระศานติตารามหาสถูปจะได้ประโยชน์หรืออานิสงส์ในด้านใดบ้าง

ผู้มีึความเชื่อในกฎแห่งกรรม ผู้มีจิตศรัทธาในการทำบุญ ผู้มีส่วนร่วมในการทำงานพระสถูป ผู้มีความปีติยินดีในการทำงานนี้ทัั้งหลายล้วนได้ประโยชน์จาการสร้างพระสถูปทั้งทางโลกและทางธรรม ในทางโลก ชึวิตของพวกเขามีความสุขขึ้น มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยลง บริเวณที่พวกเขาอยู่ประสบภัยพิบัติน้อยลง ในทางธรรม พวกเขาได้อานิสงส์อันน้อมนำให้ได้เกิดใหม่ในภพภูมิสูงและให้ได้ตรัสรู้ธรรมโดยเร็ว นอกจากนี้ การสร้างพระสถูปยังเป็นการเสริมพลังทางบวกและโชคลาภต่อสังคม ประเทศ และต่อโลก ดังที่เราได้เห็นตัวอย่างอันงดงามของผู้สร้างพระสถูปโพธนาถที่ประเทศเนปาล แม้ว่าพวกเขาจะเป็นเพียงครอบครัวคนเลี้ยงไก่ แต่ด้วยความเพียร ศรัทธามั่นในพระพุทธศาสนา และความเชื่ออย่างไม่สั่นคลอนถึงอานิสงส์ของพระสถูป พวกเขาก็สามารถสร้างพระสถูปจนสำเร็จ พระสถูปนี้ได้กลายเป็นปูชนียสถานสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่ชาวพุทธเดินประทักษิณาวรรต เพื่อน้อมนำใจให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ด้วยผลบุญจากการสร้างพระสถูป บุตรชาย 3 คนในครอบครัวชาวนาเมื่อตายไปได้ไปเกิดใหม่เป็นพระคุรุ ริมโปเช กษัติรย์ตรีซง เตเซ็น และพระศานติรักษิตะ ผู้เผยแผ่คำสอนวัชรยานในทิเบต

6
เนื่องจากขทิรวัณเป็นสถานปฎิบัติธรรมของฆราวาสไม่มีพระสงฆ์หรือลามะเหล่านี้ จะทำให้ความศักดิ์สิทธิ์หรือความสำคัญของพระศานติตารามหาสถูปลดน้อยลงหรือไม่เมื่อเทียบกับสถานที่อื่นๆ
หากเป็นเช่นนั้นแล้วใครจะเป็นพระอาจารย์ผู้ดูแลพระสถูปหรือประกอบพิธีต่าๆ

ความสำคัญไม่ลดน้อยลง เพราะศูนย์ปฏิบัติธรรมนี้ไม่ใช่ของผู้มีทัศนคติทางโลก แต่เป็นของมูลนิธิที่มีปณิธานที่จะดำเนินงานตามวิถีแห่งพระโพธิสัตว์เพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในการทำพิธีต่างๆ ตลอดจนการบรรยายธรรม มูลนิธิพันดาราจะเชิญพระอาจารย์ในสายต่างๆมาเมืองไทย นอกจากนี้ อาจารย์กฤษดาวรรณ ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับประเพณีของทิเบต และการปฏิบัติวัชรยานและเป็นผู้ดูแลศูนย์ปฏิบัติธรรมขทิรวัณยังทำหน้าที่เป็นครูทางธรรมอีกคนหนึ่งด้วย


7
นอกจากการได้เข้าไปกราบไหว้พระพุทธรูปและพระแม่ตาราแล้ว ผู้มาสักการะสามารถทำกิจกรรมทางศาสนาด้านใดได้อีกบ้างภายในพระสถูป

ผู้มาสักการะบูชาสามารถนั่งสมาธิภายในวิหาร เดินรอบพระสถูป หมุนกงล้อมนตร์ที่ฐานพระสถูป ร่วมถวายเครื่องบูชาพระสถูปประจำปี และตั้งจิตอธิษฐานให้เกิดสันติภาพบนโลก ให้สัตว์ทั้งหลายได้ยินพระธรรม และเข้าถึงการตรัสรู้โดยเร็ว

8
ในการสร้างศานติตารามหาสถูปนั้นใครจะเป็นผู้ดูแล
และทางมูลนิธิมีการวางแผนทางการ
ขอเงินทุนสร้างพระสถูปอย่างไรบ้างทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

มูลนิธิพันดาราเป็นผู้ประสานงาน ผู้สร้างคือบุคคลและหน่ายงานต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ผู้สร้างเหล่านี้มีปณิธานที่จะจรรโลงสันติภาพของโลก เป็นผู้ทำงานเพื่อสันติสุขของสัตว์โลกทั้งหกภพภูมิ ผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่ มีปณิธานในการสร้างสถูปเพื่อความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม ผู้ได้ประโยชน์จากการสร้างพระสถูปคือสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าเขาจะได้เห็น ได้ยิน ได้ระลึกถึงพระสถูป หรือได้มาสักการะบูชาพระสถูปด้วยตัวเอง หัวใจหลักคือพระสถูปไม่ใช่ของลามะท่านใดท่านหนึ่ง ไม่ใช่ของมูลนิธิพันดารา ไม่ใช่ของผู้บริจาคเงินคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของสัตว์โลกทั้งหลาย การหาเงินมีทัั้งการจัดกิจกรรมต่างๆที่มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ การเรี่ยไรทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธา และการขอทุนจากมูลนิธิและองค์กรต่างๆ กิจกรรมที่จะจัดนอกจากจะเป็นการหาทุนแล้วยังเป็นโอกาสที่มูลนิธิจะได้ทำสิ่งดีๆให้สังคมอีกด้วย

9
ทำไมทางมูลนิธิจึงระบุให้พระสถูปมีฐานกว้าง 30 เมตรและความสูง 60 เมตร
ซึ่งหากทำขนาดที่เล็กว่าน่าจะใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า

ทางมูลนิธิไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์สำหรับแต่ละคนหรือประโยชน์แต่เพียงประเทศไทย แต่มูลนิธิคำนึงถึงสันติภาพและสันติสุขของสัตว์โลก และมีปณิธานที่จะสร้างพระสถูปที่จะธำรงอยู่จนกว่าสังสารวัฏจะสิ้นสูญ จึงต้องการสร้างพระมหาสถูปที่ใหญ่ที่สุด งดงามที่สุด ผู้ใดก็ํตามที่เห็นแล้วเกิดแรงบันดาลใจในการปฏิบัติธรรมและการดำรงชีวิตที่จะกระทำแต่ความดี เกิดความประทับใจในพุทธศิลป์แบบทิเบตอันเป็นมรดกของโลก พระมหาสถูปที่จะสร้างจึงเป็นเช่นพระปฐมเจดีย์ หรือพระสถูปโพธนาถหรือสวายัมภูนาถในเนปาลที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านพ้นไปนานเพียงไรก็ยังสถิตย์อยู่ในใจของสาธุชนเสมอ นอกจากนี้พระมหาสถูปเช่นนี้ยังเป็นแรงดึงดูดให้ผู้คนมาเยี่ยมชมอันจะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวอีกด้วย